Publication:
ผลของสถานการณ์จำลองทางคลินิกต่อความมั่นใจของนักศึกษาพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย

dc.contributor.authorสุุมลชาติ ดวงบุุบผา
dc.contributor.authorสุุนทรี เจีียรวิทยกิจ
dc.contributor.authorพรศิิริ พิพัฒนพานิช
dc.contributor.authorธีีรวัฒน์ ช่างปัด
dc.contributor.authorSumolchat Duangbubpha
dc.contributor.authorSoontaree Jianvitayakij
dc.contributor.authorPornsiri Phipatanapanit
dc.contributor.authorTeerawat Changpad
dc.date.accessioned2024-06-24T05:48:41Z
dc.date.available2024-06-24T05:48:41Z
dc.date.created2567-06-24
dc.date.issued2565
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลองโดยใช้หลักการการดููแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับพยาบาล (Quality and Safety Education for Nurses—QSEN) มีวัตถุุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยของนักศึกษาพยาบาลขณะเข้าเรียนรู้ในสถานการณ์จำลองทางคลินิก 2) เปรียบเทียบคะแนนความมั่นใจของนักศึกษาพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย ระหว่างก่อนและหลังเข้าเรียนรู้ในสถานการณ์จำลองทางคลินิก และ 3) ศึกษาการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลจาก การสอนด้วยสถานการณ์จำลองทางคลินิก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุจำนวน 54 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือ สถานการณ์จำลองทางคลินิก 3 สถานการณ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาล แบบสอบถามความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย และ แบบสอบถามการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลองทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทีคู่ ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลในการดููแลผู้ป่วยทั้ง 3 สถานการณ์ ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 100 ในหัวข้อการทำงานเป็นทีมและความร่วมมือ และปฏิบัติได้ถูกต้องร้อยละ 50–66.67 ในหัวข้อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และการพัฒนาคุณภาพ 2) นักศึกษาพยาบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยในช่วงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยสถานการณ์จำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) การสอนด้วยสถานการณ์จำลองทางคลินิกส่งเสริมการเรียนรู้แก่นักศึกษาพยาบาลในระดับสููง รูปแบบการจัดสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่่มีคะแนนเฉลี่ยสููง 3 อันดับแรกคือ การสะท้อนคิด การเข้าร่วมในสถานการณ์จำลองและการเป็นผู้สังเกตการณ์ ผลการวิจัยนี้สะท้อนผลของการสอนด้วยสถานการณ์จำลองทางคลินิกต่อความมั่นใจของนักศึกษาพยาบาลในการปฏิบัติการดููแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย อาจารย์ผู้สอนสามารถใช้สถานการณ์จำลองทางคลินิกในการจัดการเรียนรู้ให้นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ ในการดูแลผู้ป่วยและส่งเสริมความตระหนักต่อการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยก่อนขึ้นฝึกในภาคปฏิบัติ
dc.description.abstractThis quasi-experimental study used one group pretest-posttest design. The Quality and Safety Education for Nurses—QSEN principles were used as a conceptual framework to study. The purposes were to 1) explore nursing students’ quality and safe nursing care practice while participating in clinical simulations, 2) compare nursing students' scores of self-confidence in quality and safe nursing care practice before and after participating in a clinical simulation, and 3) describe nursing students’ perceived learning promotion through clinical simulations. A purposive sample of 54 thirdyear nursing students who practiced in an adult and elderly nursing practicum course was recruited.Three simulation scenarios were set up. The instruments for collecting data included the Personal Data Questionnaire, the Nursing Practice Assessment Form, the Self-confidence in Practicing Quality and Safe Nursing Care, and the Learning Promotion by Clinical Simulations Assessment Form. Data were analyzed using descriptive statistics and paired t-test. The results are as follows. Firstly, nursing students practiced nursing care of patients in all three simulation scenarios correctly at 100 % on the topic of teamwork and cooperation; they practiced nursing care of patients correctly at 50-66.67 % on the evidence-based practice and quality improvement topic. Secondly, the mean self-confidence score for practicing quality and safe nursing care of the nursing students after the simulation period was significantly higher than that before the simulation period. Lastly, teaching with simulations promoted nursing students’ learning at a high level. The top three teaching activities that promoted learning with high average scores included reflection, participation in the simulation, and being an observer. In conclusion, this study reflects the effect of clinical simulation teaching on nursing students' confidence in performing quality and safe nursing care. Therefore, teachers could use clinical simulations-based learning to provide nursing students with patient care experiences and promote awareness of quality and safe patient care prior to clinical practice.
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 28, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2565), 415-432
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/98936
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectสถานการณ์จำลองทางคลินิก
dc.subjectความมั่นใจ
dc.subjectนักศึกษาพยาบาล
dc.subjectการดููแลผู้ป่วย
dc.subjectคุุณภาพความปลอดภัย
dc.subjectClinical simulation
dc.subjectSelf-confidence
dc.subjectNursing students
dc.subjectPatient Care
dc.subjectQuality
dc.subjectSafety
dc.titleผลของสถานการณ์จำลองทางคลินิกต่อความมั่นใจของนักศึกษาพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย
dc.title.alternativeThe Effect of Clinical Simulation on Nursing Students’ Self-confidence to Provide Quality and Safety of Patient Care
dc.typeResearch Article
dcterms.accessRightsopen access
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/258698/177652
oaire.citation.endPage432
oaire.citation.issue3
oaire.citation.startPage415
oaire.citation.titleรามาธิบดีพยาบาลสาร
oaire.citation.volume28
oaire.versionAccepted Manuscript
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
ra-ar-sumolcha-2565.pdf
Size:
646.47 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections