Publication: ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้แนวทางการสร้างสุข ทักษะการทํางาน ทักษะการใช้ชีวิต พฤติกรรมสุขภาพ กับความสุขของพนักงานในสถานประกอบการภาคเอกชน
Issued Date
2560
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 40, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2560), 22-35
Suggested Citation
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, จำเนียร ชุณหโสภาค, Kwanmuang Kaeodumkoeng, Jumnian Junhasobhaga ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้แนวทางการสร้างสุข ทักษะการทํางาน ทักษะการใช้ชีวิต พฤติกรรมสุขภาพ กับความสุขของพนักงานในสถานประกอบการภาคเอกชน. วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 40, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2560), 22-35. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/60298
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้แนวทางการสร้างสุข ทักษะการทํางาน ทักษะการใช้ชีวิต พฤติกรรมสุขภาพ กับความสุขของพนักงานในสถานประกอบการภาคเอกชน
Alternative Title(s)
The Relationship between Perceived Happiness Promotion, Work Skills, Life Skills, Health Behaviors, and Employee Happiness in Private Companies
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้แนวทางการสร้างสุข ทักษะการทำงาน ทักษะการใช้ชีวิต พฤติกรรมสุขภาพ กับความสุขของพนักงานในสถานประกอบการภาคเอกชน และศึกษาเปรียบเทียบระดับความสุขของพนักงานกับขนาดของสถานประกอบการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานในสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรของมูลนิธิพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ปี พ.ศ. 2559 สุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน ขั้นตอนแรก สุ่มเลือกสถานประกอบการ และขั้นตอนที่สอง สุ่มเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ ได้สถานประกอบการ จำนวน 9 แห่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 407 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามสำหรับตอบด้วยตนเอง และแบบวัดระดับความสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ยรายตัวแปรด้วยสถิติ one-way ANOVA
ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้แนวทางการสร้างสุข ทักษะการทำงาน ทักษะการใช้ชีวิต และพฤติกรรม สุขภาพ คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อายุ และรายได้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความสุขของ พนักงานกลุ่มตัวอย่างในสถานประกอบการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยรายคู่ตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า ระดับความสุขของพนักงานมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างสถานประกอบการขนาดกลางกับขนาดใหญ่มาก และขนาดใหญ่กับขนาดใหญ่มาก ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับตัวแปรเหล่านี้ในการออกแบบโปรแกรม การจัดกระบวนการ และการประเมินผล โครงการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร
This exploratory research aimed to analyze the relationship between perceived happiness promotion, work skills, life skills, health behaviors and employee happiness in private companies, and compared employee happiness among company sizes. The twostage random sampling was obtained from the company employees participating in the healthy organization promotion program of the Thai Garment Industry Development Foundation 2016. This was conducted at the first step in the sampling companies and the second using systematic random sampling. The total was nine companies, comprised of 407 employees. Data were collected using a self-administered questionnaire and a happinometer. Data were analyzed by descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, and one-way ANOVA. The results showed that characteristics of the subjects including age, income, perceived happiness promotion, work skills, life skills, and health behaviors were significantly and positively correlated with employee happiness. A multiple comparison found that the employees’ happiness levels significantly differed among company sizes such as medium size versus very large size and large size versus very large size (p <0.05). Thus, the application to the program, process, and evaluation design should also consider these factors.
This exploratory research aimed to analyze the relationship between perceived happiness promotion, work skills, life skills, health behaviors and employee happiness in private companies, and compared employee happiness among company sizes. The twostage random sampling was obtained from the company employees participating in the healthy organization promotion program of the Thai Garment Industry Development Foundation 2016. This was conducted at the first step in the sampling companies and the second using systematic random sampling. The total was nine companies, comprised of 407 employees. Data were collected using a self-administered questionnaire and a happinometer. Data were analyzed by descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, and one-way ANOVA. The results showed that characteristics of the subjects including age, income, perceived happiness promotion, work skills, life skills, and health behaviors were significantly and positively correlated with employee happiness. A multiple comparison found that the employees’ happiness levels significantly differed among company sizes such as medium size versus very large size and large size versus very large size (p <0.05). Thus, the application to the program, process, and evaluation design should also consider these factors.