Publication: วิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลในการให้บริการห้องประชุมของสถาบันทางการศึกษา กรณีศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2559
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. ปีที่ 3, (ส.ค. 2559), 24-33
Suggested Citation
สมปรารถนา นามขาน วิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลในการให้บริการห้องประชุมของสถาบันทางการศึกษา กรณีศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. ปีที่ 3, (ส.ค. 2559), 24-33. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2826
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
วิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลในการให้บริการห้องประชุมของสถาบันทางการศึกษา กรณีศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
Alternative Title(s)
Cost- effectiveness Analysis on Providing the Meeting Room Services in an Academic Institute The Case Study of Institute for Population and Social Research, Mahidol University
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การให้บริการห้องประชุมแก่บุคคลภายนอกของสถานศึกษา เป็นการบริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์
คุ้มค่าและสร้างรายได้ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับ
การควบคุมต้นทุนและรายรับให้อยู่ในภาวะสมดุล และไม่ก่อให้เกิดภาระทางการเงิน ดังนั้น การศึกษานี้จึงมี
เป้าหมายในการวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลในการให้บริการห้องประชุมของสถาบันการศึกษา กรณีศึกษาของ
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อนำไปสู่แนวทางการบริหารสินทรัพย์ และการพัฒนาการ
ให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยทฤษฎีการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล (Cost-effectiveness Analysis:
CEA) และข้อมูลปฐมภูมิด้านค่าใช้จ่าย และการดำเนินการให้บริการห้องประชุมรายวันในรอบปี พ.ศ.2557 ผล
การศึกษาพบว่า ต้นทุนผันแปรเพิ่มขึ้นตามขนาดของห้องประชุม โดยห้องประชุมขนาดใหญ่มีภาระรายจ่ายค่า
สาธารณูปโภค น้ำ และไฟฟ้าสูงกว่าห้องประชุมขนาดเล็ก ค่าเสื่อมครุภัณฑ์เป็นต้นทุนทางตรงที่ถือเป็นภาระรายจ่าย
ที่สำคัญที่สุดของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ตามด้วยค่าเสื่อมอาคาร อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาต้นทุนค่าเสีย
โอกาสของบุคลากรพบว่า ต้นทุนแท้จริงที่สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ต้องแบกรับสูงขึ้นประมาณ 1.8-4.2 เท่า
ของต้นทุนทางตรง ผลการเปรียบเทียบอัตราค่าบำรุงและต้นทุนในภาพรวมพบว่า สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
ดำเนินการให้บริการอยู่บนจุดคุ้มทุน มีอัตรากำไรใกล้เคียงกับศูนย์ในภาพรวม ซึ่งการลดค่าใช้จ่ายส่วนครุภัณฑ์
ควบคู่ไปกับการจัดสรรการใช้บุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้หน่วยงานลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วน
ต้นทุนได้อย่างชัดเจน
Meeting room services offered by educational institutions is considered property management resulting in income generation and maximum utilization, together with knowledge development. When managing, revenue and expenditure should be balanced in order to avoid financial burdens. This study is intended to analyze costs and effectiveness of meeting room services at the Institute for Population and Social Research, Mahidol University. The study’s objective is to develop methods to efficient property management and service. Cost-effectiveness Analysis (CEA) is the core of this study, with use of primary data of daily expenses and meeting room services in 2014. The CEA revealed that costs vary according to the meeting room size. Big meeting rooms have higher expenses such as electricity, water and utilities, than smaller rooms. The institute is burdened with depreciation for durable articles and building respectively, and all are direct costs. Indeed, the opportunity cost of staff does burden the institute, 1.8-4.2 times greater than such direct costs. When considering the maintenance and costs, the institute gains the break-even point with an overall profit close to zero. Therefore, if expenses for durable articles drop and efficient staff management is met, cost-related expenses can be lessened.
Meeting room services offered by educational institutions is considered property management resulting in income generation and maximum utilization, together with knowledge development. When managing, revenue and expenditure should be balanced in order to avoid financial burdens. This study is intended to analyze costs and effectiveness of meeting room services at the Institute for Population and Social Research, Mahidol University. The study’s objective is to develop methods to efficient property management and service. Cost-effectiveness Analysis (CEA) is the core of this study, with use of primary data of daily expenses and meeting room services in 2014. The CEA revealed that costs vary according to the meeting room size. Big meeting rooms have higher expenses such as electricity, water and utilities, than smaller rooms. The institute is burdened with depreciation for durable articles and building respectively, and all are direct costs. Indeed, the opportunity cost of staff does burden the institute, 1.8-4.2 times greater than such direct costs. When considering the maintenance and costs, the institute gains the break-even point with an overall profit close to zero. Therefore, if expenses for durable articles drop and efficient staff management is met, cost-related expenses can be lessened.