Publication: อิทธิพลของอาการเหนื่อยล้า ความแตกฉานด้านสุขภาพ ภาวะซึมเศร้า และการใช้ยาหลายขนานต่อพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
dc.contributor.author | วิกานดา ศรีภูมิพฤกษ์ | en_US |
dc.contributor.author | Wikanda Sriphumpruk | en_US |
dc.contributor.author | ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ | en_US |
dc.contributor.author | Doungrut Wattanakitkrilert | en_US |
dc.contributor.author | วิชชุดา เจริญกิจการ | en_US |
dc.contributor.author | Vishuda Charoenkitkarn | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-08-28T08:18:53Z | |
dc.date.available | 2018-08-28T08:18:53Z | |
dc.date.created | 2561-08-28 | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อการศึกษาอำนาจการทำนายของอาการเหนื่อยล้า ความแตกฉานด้านสุขภาพ ภาวะซึมเศร้า และการใช้ยาหลายขนาน ต่อพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว รูปแบบการวิจัย: การหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวจำนวน 86 ราย ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการใช้ยาของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แบบประเมินอาการเหนื่อยล้า แบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาใน ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: ผลลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.8 มีประสบการณ์มีอาการเหนื่อยล้า ปานกลาง ร้อยละ 37.2 มีความแตกฉานด้านสุขภาพเพียงพอ ร้อยละ 41.9 มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 51.20 ใช้ยา 3-6 ขนาน (Max = 13, Min = 3, M = 6.78, SD = 2.72) และร้อยละ 62.8 มีพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยา อาการเหนื่อยล้า ความแตกฉานด้านสุขภาพ ภาวะซึมเศร้า การใช้ยาหลายขนาน สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้ร้อยละ 15.3 (R2 = .153, F = 3.667, df = 4, p < .05) ภาวะซึมเศร้าเพียงปัจจัยเดียวสามารถพยากรณ์พฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู็ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .416, t = 3.769, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรให้ความสนใจในการประเมินภาวะซึมเศร้าและให้การพยาบาล เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว | en_US |
dc.description.abstract | Purpose: To study the influence of fatigue, health literacy, depression and polypharmacy on risk behaviors of drug-related problems in patients with heart failure. Design: A correlational predictive design. Methods: The sample consisted of 86 patients with heart failure at the out-patient department of Maharaj Nakorn Ratchasima Hospital. Data were collected using a demographic questionnaire; medications used record; Piper Fatigue Scale-12; Assessment of Functional Health Literacy for Patients with Heart Failure; Center for Epidemiologic Studies Depression Scale (CES-D); and Risk behaviors of drug-related problems. Data were analyzed using descriptive statistics, and multiple regressions. Main findings: The results revealed that 62.8% of sample experienced moderate fatigue symptoms, 37.2% had adequate health literacy, 41.9% had depression, 51.2% used 3-6 medications (Max = 13, Min = 3, M = 6.78, SD = 2.72), and 62.8% had risk behaviors of drug-related problems. Fatigue, health literacy, depression and polypharmacy accounted for 15.3% of variance of risk behaviors of drug-related problems (R2 = .153, F = 3.667, p < .05). However, only depression had statistical significance in predicting risk behaviors of drug-related problems (β = .416, p < .05). Conclusion and recommendations: Nurses should pay attention on assessing depression and provide nursing care to reduce risk behaviors of drug-related problems in patients with heart failure. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 34 (ฉ. เพิ่มเติม 1), ฉบับที่ 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2559), 83-93 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/25196 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | อาการเหนื่อยล้า | en_US |
dc.subject | ความแตกฉานด้านสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ภาวะซึมเศร้า | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยา | en_US |
dc.subject | Journal of Nursing Science | en_US |
dc.subject | วารสารพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.title | อิทธิพลของอาการเหนื่อยล้า ความแตกฉานด้านสุขภาพ ภาวะซึมเศร้า และการใช้ยาหลายขนานต่อพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว | en_US |
dc.title.alternative | The Influence of Fatigue, Health Literacy, Depression, and Polypharmacy on Risk Behaviors of Drug-Related Problems in Patients with Heart Failure | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/77305 |