Publication: ประชากรของประเทศไทยภายหลังการปฏิวัติขนาดครอบครัว
dc.contributor.author | บุญเลิศ เลียวประไพ | en_US |
dc.contributor.author | Boonlert Leoprapai | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-03-11T07:10:38Z | |
dc.date.accessioned | 2017-10-27T02:22:47Z | |
dc.date.available | 2015-03-11T07:10:38Z | |
dc.date.available | 2017-10-27T02:22:47Z | |
dc.date.created | 2558-03-11 | |
dc.date.issued | 2534-07 | |
dc.description.abstract | ประชากรของประเทศไทย เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งในบรรดาไม่มากกลุ่มในสมัยใหม่ ที่มีประสบการณ์ของการปฏิวัติขนาดครอบครัวหรือการปฏิวัติทางประชากร ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ของการลดลงอย่างรวดเร็วของระดับการเกิด ภายในระยะเวลาประมาณสองทศวรรษ การผ่านกระบวนการปฏิวัติครอบครัวในระยะเวลาสั้นนี้เองที่ทำให้โครงสร้างอายุของประชากรไม่มีเวลาจะปรับตัวเลยยังมีศักยภาพแห่งการเติบโตที่ยังคงมีอยู่ต่อไปอีกหลายทศวรรษ ดังจะเห็นได้ว่าในระยะเวลา 20 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2513-2533 ซึ่งถือกันว่าเป็นช่วงเวลาที่มีการปฏิวัติขนาดครอบครัวเกิดขึ้นนั้น จำนวนประชากรไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 20 ล้านคน จาก 35.745 ล้านคนเป็นประมาณ 55.702 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 55.8 ในอนาคต แม้ว่าประชากรไทยจะคงไว้ซึ่งการเกิดระดับทดแทนตัวเองตนเองไปเรื่อยๆ ในระยะเวลา 35 ปีหลัง พ.ศ. 2533 หรือใน พ.ศ. 2568 จำนวนประชากรไทยอาจมีถึง 80.91 ล้านคนหรือเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 25.209 ล้านคน ในด้านผลของการปฏิวัติขนาดครอบครัวที่มีต่อโครงสร้าง (องค์ประกอบของอายุ) ประชากร นั้นจะเป็นในแบบแผนที่สัดส่วนประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 ปี) จะลดลง ในขณะที่สัดส่วนและจำนวนประชากรในวัยทำงาน (15-59 ปี) และประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จะสูงขึ้น มีผลทำให้อัตราแบกรับภาระของประชากรวัยทำงานลดต่ำลง นอกจากนั้น ผลการปฏิวัติขนาดครอบครัวยังก่อให้เกิดผลบวกทั้งในด้านสังคมและเศษฐกิจอื่น เช่น รายได้ต่อหัวของประชากรสูงขึ้น จำนวนประชากรที่เป็นกำลังแรงงานมีมากขึ้น แต่จำนวนประชากรที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานครั้งแรกจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ในด้านจำนวนและสัดส่วนของประชากรวัยเรียน (อายุ 6-23 ปี) นั้น ภายหลัง พ.ศ. 2533 จะมีแนวโน้มลดต่ำลงไป ทำให้ภาระการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนไม่สุงขึ้น ผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้น แม้ว่าในช่วง 20 ปีแรกภายหลัง พ.ศ. 2533 จะมีไม่มากนักก็คือการเพิ่มขึ้นทั้งในจำนวนและสัดส่วนของประชากรสูงอายุ กล่าวคือใน พ.ศ. 2553 จะมีประชากรสูงอายุเพียงร้อยละ 9.4 ของประชากรทั้งหมด แต่ใน พ.ศ. 2568 จำนวนประชากรสูงอายุอาจมีมากถึง 12,559 ล้านคน หรือร้อยละ 15.5 ของประชากรทั้งหมด | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารประชากรและสังคม. ปีที่ 3, ฉบับที่ 1-2 (2534-2535), 21-53. | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2997 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การปฏิวัติ | en_US |
dc.subject | ประชากร | en_US |
dc.subject | ขนาดครอบครัว | en_US |
dc.subject | Open Access article | en_US |
dc.subject | Journal of Population and Social Studies | en_US |
dc.subject | วารสารประชากรและสังคม | en_US |
dc.title | ประชากรของประเทศไทยภายหลังการปฏิวัติขนาดครอบครัว | en_US |
dc.title.alternative | Population of Thailand after the reproductive revolution | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication |