Publication: คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี
Issued Date
2558
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-1678
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ฉบับพิเศษ (2558), 18-19
Suggested Citation
มุทิตา วรรณชาติ, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์, Sutham Nanthamongkolchai, Chokchai Munsawaengsub, Pimsurang Taechaboonsermsak คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ฉบับพิเศษ (2558), 18-19. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2578
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี
Alternative Title(s)
Quality of life among elderly people with chronic diseases in Ubon Ratchathani province
Corresponding Author(s)
Abstract
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของ
ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง และปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีโรคเรื้อรัง 270 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่ง
ชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์
ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบสถิติไคสแควร์ สถิติสัมประสิทธิ์สห
สัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุที่มี
โรคเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.2 ระดับดี ร้อยละ 45.9 และ
ระดับไม่ดี ร้อยละ 1.9 ปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
ได้แก่ อายุ ความสามารถในการดูแลตนเอง ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรัง สัมพันธภาพในครอบ
ครัว และรายได้ โดยสามารถร่วมทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังได้ร้อยละ 37.4 ดังนั้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี ควรส่งเสริมความสามารถ
ในการดูแลตนเอง การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว และ
สนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีรายได้ที่เพียงพอ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังให้ดียิ่งขึ้น
This cross-sectional survey aimed to
study the level of quality of life among
elderly people with chronic diseases in Ubon
Ratchathani province as well as the prediction
factors for their quality of life. The subjects
comprised 270 elderly selected by stratifi ed
random sampling. The data were collected
through interviews and quality of life question-
naires from February 1st - 28th, 2015. Data
was analyzed by Chi-square test, Pearson’s
correlation coeffi cient, and Stepwise-Multiple
Regression analysis. The results showed that
52.2% of elderly had a moderate level of
quality of life followed by 45.5% with a high
level and 1.9% with a low level. The factors
predicting quality of life with a level of
statistical signifi cance (p<0.05) included: age
self-care ability, complications of chronic
diseases, family relationship, and monthly
income. These fi ve factors worked together
to predict the quality of life among elderly
with chronic diseases as correctly as 37.4%.
Therefore, the recommendations from this
study indicated that health care agencies
working for elderly in Ubon Ratchathani
province should promote the development of
self-care ability and screening to prevent
complications; promote the family relationship;
and enhance the elderly to earn an adequate
income. These recommendations could lead
to an improved quality of life among elderly
with chronic diseases.