Publication: การศึกษาแนวทางการบรรเทาปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า: กรณีศึกษาตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
Issued Date
2008-12
Resource Type
Language
tha
ISSN
1686-6096
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
Environment and Natural Resources Journal. Vol.6, No.2 (Dec.2008), 113-122
Suggested Citation
นพพร อังศุโชติ, กุลวดี แก่นสันติสุขมงคล, มัทนา ศรีกระจ่าง การศึกษาแนวทางการบรรเทาปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า: กรณีศึกษาตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. Environment and Natural Resources Journal. Vol.6, No.2 (Dec.2008), 113-122. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48064
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การศึกษาแนวทางการบรรเทาปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า: กรณีศึกษาตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
Other Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของความขัดแย้ง และวิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างคนและช้างป่า ที่ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาในแนวทางการจัดการที่ยืดหยุ่นปรับตัว (Adaptive Management) ผลการศึกษาสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าพบว่า ในอดีตสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าเป็นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของรัฐ ทำให้เกิดการบุกรุกถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างป่า ในปัจจุบันเกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ การรุกล้ำพื้นที่รอบชายป่า และการบุกรุกเข้าไปในพื้นที่ป่า ปัจจัยผลักดันที่ทำให้ช้างป่าออกมานอกพื้นที่ป่า ประกอบด้วย การที่มนุษย์เข้าไปทำกิจกรรมในพื้นที่ป่า ปัจจัยดึงดูดให้ช้างป่าบุกรุกเข้ามาในพื้นที่การเกษตร ประกอบด้วยแหล่งน้ำในพื้นที่ชุมชนและแหล่งอาหารในพื้นที่เพาะปลูก ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการบุกรุกถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างป่า ประกอบด้วย 3 ปัจจัยที่สำคัญ คือ ปัจจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของรัฐ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับช้างป่า และปัจจัยด้านสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางสังคม และวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ในระยะแรกเป็นการป้องกันโดยเทคนิควิธีของท้องถิ่น ในระยะที่สองเป็นการนำเอาบทเรียนจากในอดีต การศึกษาดูงานในพื้นที่ที่ประสบปัญหามาพัฒนาวิธีป้องกันช้างป่าไม่ให้บุกรุกพื้นที่การเกษตร และในระยะที่สามเป็นการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีตประกอบกับผลการศึกษาของนักวิชาการมาใช้ในการกำหนดแนวทางการบรรเทาปัญหา ผลการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาพบว่า ชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องมีแนวทางการจัดการที่ยืดหยุ่นปรับตัว (Adaptive Management) ในการแก้ไขและบรรเทาปัญหาในชุมชนได้ แต่ยังขาดการวิเคราะห์ระบบและวิสัยทัศน์ร่วมกันกับทุกๆ ฝ่าย เพื่อการแก้ไขปัญหาในระยะยาวต่อไป .
The objective of this research is to study the development and cause of the conflict between human and wild elephants at Tumbon Wangdong, Amphoe Muang, Kanchanaburi, and analyze the potential of the community and relevant stockholders in solving the problem according to Adaptive Management. The result of the study shows that the socio-economic development in the past was the major factor inducing human settlement in the elephants’ habitat. Nevertheless, at present there are 2 reasons, human intrusion in and around the forest. The factor encouraging wild elephants to come out of the forest is human activities. The factors attracting the animals to agriculture areas are water supplies and food resources. Meanwhile three factors causing human intrusion into the animals’ habitat are 1) the socio-economic development of the community 2) the current management of wild elephants, and 3) social factor which is relevant to social structure and the way of living of the local people. The first period of solving the conflict between human and elephants is following folk wisdom. The second step is taken by using past experiences to develop the prevention in order not to let the animals invade agriculture areas. The third step is learning from their own experiences as well as academic research in order to set direction and solution to deal with the conflict problem. The result of stakeholders’ potential analysis shows that community and relevant organization follow adaptive management in solving human-elephant conflict in the area but still lack of vision in analyzing the whole system to solve the conflict in the long run together
The objective of this research is to study the development and cause of the conflict between human and wild elephants at Tumbon Wangdong, Amphoe Muang, Kanchanaburi, and analyze the potential of the community and relevant stockholders in solving the problem according to Adaptive Management. The result of the study shows that the socio-economic development in the past was the major factor inducing human settlement in the elephants’ habitat. Nevertheless, at present there are 2 reasons, human intrusion in and around the forest. The factor encouraging wild elephants to come out of the forest is human activities. The factors attracting the animals to agriculture areas are water supplies and food resources. Meanwhile three factors causing human intrusion into the animals’ habitat are 1) the socio-economic development of the community 2) the current management of wild elephants, and 3) social factor which is relevant to social structure and the way of living of the local people. The first period of solving the conflict between human and elephants is following folk wisdom. The second step is taken by using past experiences to develop the prevention in order not to let the animals invade agriculture areas. The third step is learning from their own experiences as well as academic research in order to set direction and solution to deal with the conflict problem. The result of stakeholders’ potential analysis shows that community and relevant organization follow adaptive management in solving human-elephant conflict in the area but still lack of vision in analyzing the whole system to solve the conflict in the long run together