Publication:
Abortion in Ramathibodi Hospital

dc.contributor.authorชุลีพร พรห์มen_US
dc.contributor.authorShuleeporn Prohmen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาen_US
dc.date.accessioned2022-10-11T07:13:06Z
dc.date.available2022-10-11T07:13:06Z
dc.date.created2022-10-11
dc.date.issued2009
dc.description.abstractการแท้งบุตรเป็นพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นบ่อยในการตั้งครรภ์ นอกจากการแท้งบุตรตามธรรมชาติ ปัจจุบันยังมีการยุติการตั้งครรภ์ก็หรือการทำแท้งเนื่องจากสุขภาพของมารดาและทารกการวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราของการแท้งและลักษณะของสตรีที่มารับบริการแท้งเองและทำแท้งในโรงพยาบาลรามาธิบดี รวมถึงเหตุผลการทำแท้ง วิธีการทำและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังจากข้อมูลในเวชระเบียน ซึ่งประกอบด้วยบันทึกทางการแพทย์และการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่มารับบริการเกี่ยวกับการแท้งบุตรในหอผู้ป่วยสูติกรรม 3 และห้องตรวจสูติกรรมพิเศษในช่วงระยะเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2549-2550) จำนวน 827 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลชิงพรรณนาโดยใช้สถิติบรรยายจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้เพียร์สันไคสแควร์ที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ ผลการวิจัยพบว่า ในระยะเวลาที่ศึกษามีสตรีที่แท้งบุตรเองคิดเป็นร้อยละ 43.05 และสตรีที่มารับบริการทำแท้งและดูแลหลังการทำแท้งจากที่อื่นร้อยละ 56.95 โดยพบว่า สตรีที่แท้งบุตรเองจะมีอายุของสตรีในทุกกลุ่มอายุและอายุครรภ์น้อยกว่าสตรีที่มารับบริการการทำแท้งและดูแลหลังการทำแท้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.044 และ P < 0.001) ตัวแปรด้านฤดูกาล ลำดับครรภ์ อาชีพ สถานภาพสมรส การนับถือศาสนาและการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับชนิดของการแท้ง สตรีที่แท้งบุตรเองส่วนมากมาด้วยการแท้งไม่ครบร้อยละ 90.17 และได้รับการขูดมดลูกเป็นส่วนมาก มีภาวะแทรกซ้อนเพียงร้อยละ 4 49 ส่วนมากจากการแท้งไม่ครบและการติดเชื้อ ส่วนสตรีที่มารับบริการทำแท้งส่วนมากมาด้วยภาวะทารกเสียชีวิตในครรภ์ร้อยละ 36.10 ภาวะไข่ฝ่อร้อยละ 25.90 มีโรคประจำตัวที่เป็นอันตรายร้อยละ 14.86 ทารกในครรภ์ผิดปติร้อยละ 14.01 การตั้งครรภ์ไม่ปรารถนาเป็นเหตุผลของการทำแท้งเพียงร้อยละ 9:13 การแท้งส่วนใหญ่ใช้ยาเป็นหลัก โดยมีภาวะแทรกช้อนร้อยละ 1.27 ส่วนใหญ่พบในการทำแท้งในไตรมาสที่ 2 และเป็นการตกเลือดร้อยละ 66.66 โดยสรุปในโรงพยาบาลรามาธิบดีมีบริการทำแท้งหรือดูแลหลังทำแท้งสูงกว่าการแท้งเองเล็กน้อย สตรีที่รับบริการทำแท้งมักจะมีอายุครรภ์สูงกว่าสตรีที่แท้งเอง ทั้งสองกรณีพบภาวะแทรกซ้อนน้อย ส่วนใหญ่เป็นการแท้งไม่ครบและตกเลือด การแท้งเองพบภาวะแทรกซ้อนมากกว่า มีการบันทึกการใช้เครื่องดูดสุญญากาศในการให้บริการน้อยมาก ซึ่งควรได้รับการปรับปรุงต่อไปen_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 32, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2552), 137-142en_US
dc.identifier.issn0125-3611 (Print)
dc.identifier.issn2651-0561 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79898
dc.language.isothaen_US
dc.rightsMahidol Universityen_US
dc.rights.holderDepartment of Obstetrics and Gynecology Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol Universityen_US
dc.subjectAbortionen_US
dc.titleAbortion in Ramathibodi Hospitalen_US
dc.typeOriginal Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/175392/125425en_US

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-shuleepo-2552.pdf
Size:
5.81 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections