Publication:
การศึกษาความเที่ยงตรงของแบบทดสอบ Mini-Cog ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมชาวไทย

dc.contributor.authorพิชญา กุศลารักษ์en_US
dc.contributor.authorดาวชมพู นาคะวิโรen_US
dc.contributor.authorPichaya Kusalaruken_US
dc.contributor.authorDaochompu Nakawiroen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาจิตเวชศาสตen_US
dc.date.accessioned2022-10-04T07:17:04Z
dc.date.available2022-10-04T07:17:04Z
dc.date.created2565-10-04
dc.date.issued2555
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเที่ยงตรงของแบบทดสอบ Mini-Cog เปรียบเทียบกับแบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้น (Mini-mental state examination, MMSE) ในการคัดกรองและวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมในผู้ที่มารับบริการที่คลิกความจำ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี วัสดุและวิธีการ: ผู้เข้าร่วมวิจัยคือผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการที่คลินิกความจำ ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 เก็บข้อมูลผลการทดสอบการจำของ 3 สิ่งและรูปวาดหน้าปัดนาฬิกาจากเวชระเบียน แล้วนำมาแปรผลตามรูปแบบของแบบทดสอบ Mini-Cog 2 รูปแบบ และเก็บข้อมูลแบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้น (MMSE-Thai 2002) วิเคราะห์ดูความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมเปรียบเทียบกับมาตรฐานการวินิจฉัย คือ ผลการวินิจฉัยจากที่ประชุมของจิตแพทย์และรังสีแพทย์โดยอาศัยข้อมูลทางคลินิก ผลการทดสอบ neuropsychological test และภาพเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในการศึกษามีจำนวน 81 คน กลุ่มควบคุมมีจำนวน 123 คน แบบทดสอบ Mini-Cog มีความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมเท่ากับร้อยละ 66.7 และร้อยละ 98.4 ตามลำดับ และแบบทดสอบ Mini-Cog ที่ผู้วิจัยได้ปรับรูปแบบการแปลผล มีความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมเท่ากับร้อยละ 72.8 และร้อยละ 97.6 ตามลำดับ ขณะที่แบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้น (MMSE-Thai 2002) ในกลุ่มผู้ที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษามีความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมเท่ากับร้อยละ 50 และร้อยละ 100 ตามลำดับ และในกลุ่มผู้ที่จบการศึกษาชั้นสูงกว่าประถมศึกษามีความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมเท่ากับร้อยละ 57.9 และร้อยละ 100 สรุป: แบบทดสอบ Mini-Cog เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมควบคู่ไปกับอาการและอาการแสดงทางคลินิกได้ โดยค่าความจำเพาะที่สูง และมีความไวที่ยอมรับได้ มีข้อดีคือใช้เวลาในการทดสอบน้อย ผลการทดสอบไม่ได้รับผลการกระทบจากระดับการศึกษาและความสามารถด้านภาษาของผู้ถูกทดสอบ และสามารถทำได้ง่ายโดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบen_US
dc.description.abstractObjectives: To study a validity of the Mini-Cog test by comparing to mini-mental state examination (MMSE) for screening and diagnosing dementia in memory clinic at Ramathibodi hospital. Method: The tests were conducted at memory clinic of Ramathibodi hospital between July 2005 and May 2010. They were carried out with 81 dementia patients and control group of 123 persons whose ages are 50 years old or greater. The data were collected through 3-item recall test and clock-drawing test form the medical charts whereas their interpretations were based on two Mini-Cog test algorithms and then compared with those of MMSE-Thai 2002 medical charts. Sensitivity and specificity for diagnosing dementia were also analyzed by comparing to gold standard, which is the diagnosing from consensus between psychiatrists Results: The first Mini-Cog test returned 66.7% of sensitivity and 98.4% of specificity. The other Mini-Cog test algorithm have sensitivity and specificity for diagnosing dementia 72.8% and 97.6%, respectively. The MMSE-Thai 2002 in elementary school groups have sensitivity and specificity for diagnosing dementia 50% and 100%, respectively and in higher-then elementary school groups have sensitivity and specificity for diagnosing dementia 57.9% and 100%, respectively. Conclusions: The Mini-Cog test is a useful tool for diagnosing dementia with high specificity and acceptable sensitivity. However, it should be used in correlation with clinical signs and symptoms. The advantages of this tool include its short time for administration, limited effects from level of education and verbal ability of examinees, simplicity to learn and apply.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 35, ฉบับที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2555), 264-271en_US
dc.identifier.issn0125-3611 (Print)
dc.identifier.issn2651-0561 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79796
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectแบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้นen_US
dc.subjectแบบทดสอบ Mini-Cogen_US
dc.subjectผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมชาวไทยen_US
dc.subjectMini-mental state examinationen_US
dc.subjectMMSE Mini-Cogen_US
dc.subjectThai dementia patientsen_US
dc.titleการศึกษาความเที่ยงตรงของแบบทดสอบ Mini-Cog ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมชาวไทยen_US
dc.title.alternativeA Validity Study of the Mini-Cog Test in Thai Dementia Patientsen_US
dc.typeOriginal Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/135415/101199

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-pichaya-2555.pdf
Size:
5.06 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections