Publication: ผลของอุณหภูมิของสารยึดติดเซลฟ์เอ็ทช์ชนิดขั้นตอนเดียวต่อค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนจุลภาคกับเนื้อฟัน
dc.contributor.author | สุธีดา ใช้ริ้วเจริญ | en_US |
dc.contributor.author | Sutheeda Chairewcharoen | en_US |
dc.contributor.author | ศุภศันส์ ทิศทวีรัตน์ | en_US |
dc.contributor.author | Suppason Thitthaweerat | en_US |
dc.contributor.author | ชลธชา ห้านิรัติศัย | en_US |
dc.contributor.author | Choltacha Harnirattisai | en_US |
dc.contributor.correspondence | ชลธชา ห้านิรัติศัย | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-01-18T07:51:58Z | |
dc.date.accessioned | 2016-12-13T07:02:55Z | |
dc.date.available | 2016-01-18T07:51:58Z | |
dc.date.available | 2016-12-13T07:02:55Z | |
dc.date.issued | 2558-07 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของอุณหภูมิขณะใช้งานของสารยึดติดเซลฟ์เอ็ทช์ ชนิดขั้นตอนเดียว 3 ชนิด (จีบอนด์, เคลียร์ฟิล ไตรเอสบอนด์และออปติบอนด์ ออล อินวัน) ต่อค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนจุลภาคกับเนื้อฟัน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา: นำฟันกรามน้อยมนุษย์ 30 ซี่มาตัดให้ถึงชั้นเนื้อฟัน ในแนวด้านแก้มและด้านเพดานขนานกับแนวแกนฟัน ขัดผิวเนื้อฟันให้เรียบด้วย กระดาษซิลิคอนคาร์ไบด์ความละเอียด 600 กริต แล้วนำไปทาด้วยสารยึดติดแต่ละ ชนิดที่แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มอุณหภูมิต่ำ สารยึดติดนำไปทาบนผิวเนื้อฟันทันทีที่นำ ออกจากตู้เย็น และกลุ่มอุณหภูมิห้องใช้สารยึดติดเมี่ออุณหภูมิของสารเท่ากับอุณหภูมิ ห้องทาสารยึดติดแต่ละชนิดตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต จากนั้นนำท่อพลาสติก ไทกอนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8 มิลลิเมตรวางลงบนผิวเนื้อฟันที่ทาสารยึดติดก่อน ทำการฉายแสง ทำการอุดในท่อด้วยเรซินคอมโพสิตฟิลเทคซี 250 แล้วฉายแสงก่อน นำไปแช่น้ำอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำชิ้นตัวอย่างไป ทดสอบความแข็งแรงพันธะเฉือนจุลภาคด้วยความเร็วของการดึง 1 มิลลิเมตรต่อ นาที นอกจากนี้ยังได้ทำการวัดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสารยึดติดตั้งแต่นำออก มาจากตู้ควบคุมอุณหภูมิต่ำ ข้อมูลความแข็งแรงพันธะเฉือนจุลภาคนำมาวิเคราะห์ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางและการเปรียบเทียบชิงซ้อนด้วยแอล เอสดีของฟิชเชอร์ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95ผลการศึกษา: สารยึดติดทั้ง 3 ชนิด ใช้เวลาการวางในอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 30 นาทีเพื่อให้อุณหภูมิของสารยึดติดเพิ่มเป็น 25 องศาเซลเซียส โดยกลุ่มอุณหภูมิห้อง มีค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนมากกว่ากลุ่มอุณหภูมิต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นจีบอนด์ในทั้งสองกลุ่มพบว่าจีบอนด์มีค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนจุลภาคมาก ที่สุดรองลงมาคือ ออปติบอนด์ ออลอินวันซึ่งไม่แตกต่างกับกลุ่มเคลียร์ฟิล ไตรเอสบ อนด์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บทสรุป: อุณหภูมิของสารยึดติดและชนิดของสารยึดติดเซลฟ์เอ็ทชนิดขั้นตอนเดียวมี ผลต่อค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนจุลภาค เพื่อให้สารยึดติดเกิดค่าความแข็งแรง พันธะสูงสุดจึงควรนำสารยึดติดมาวางไว้ที่อุณหภูมิห้องก่อนการใช้งานทางคลินิก อย่างน้อย 30 นาที | en_US |
dc.identifier.citation | สุธีดา ใช้ริ้วเจริญ, ศุภศันส์ ทิศทวีรัตน์, ชลธชา ห้านิรัติศัย. ผลของอุณหภูมิของสารยึดติดเซลฟ์เอ็ทช์ชนิดขั้นตอนเดียวต่อค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนจุลภาคกับเนื้อฟัน. ว ทันต มหิดล. 2558;35(2):189-200. | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5614 (printed) | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1021 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.source | วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล | |
dc.subject | การยึดเนื้อฟัน | en_US |
dc.subject | ความแข็งแรงพันธะเฉือนจุลภาค | en_US |
dc.subject | เนื้อฟันมนุษย์ | en_US |
dc.subject | สารยึดติดเซลฟ์เอ็ทช์ชนิดขั้นตอนเดียว | en_US |
dc.subject | อุณหภูมิห้อง | en_US |
dc.subject | อุณหภูมิสารยึดติด | en_US |
dc.subject | Open Access article | en_US |
dc.subject | วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล | |
dc.subject | Mahidol Dental Journal | |
dc.title | ผลของอุณหภูมิของสารยึดติดเซลฟ์เอ็ทช์ชนิดขั้นตอนเดียวต่อค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนจุลภาคกับเนื้อฟัน | en_US |
dc.title.alternative | Effect of temperature of all-in-one self-etch adhesives on micro-shear bond strength to dentin. | en_US |
dc.type | Original Article | en_US |
dcterms.dateAccepted | 2558-07-09 | |
dspace.entity.type | Publication |