Publication: ผลของการนวดปากสองวิธีต่อความสามารถในการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด
Issued Date
2566
Resource Type
Resource Version
Accepted Manuscript
Language
tha
ISSN
2822-1370 (Print)
2822-1389 (Online)
2822-1389 (Online)
Journal Title
วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล
Volume
29
Issue
2
Start Page
133
End Page
144
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. ปีที่ 29, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2566), 133-144
Suggested Citation
เจนจิรา แม้นประเสริฐ, จริยา วิทยะศุภร, ทิพวัลย์ ดารามาศ, Janjira Manprasert, Jariya Wittayasooporn, Tipawan Daramas ผลของการนวดปากสองวิธีต่อความสามารถในการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. ปีที่ 29, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2566), 133-144. 144. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/98943
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ผลของการนวดปากสองวิธีต่อความสามารถในการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด
Alternative Title(s)
Effects of the Two Oral Stimulations on Breast-Feeding Performance in Preterm Infants
Author's Affiliation
Abstract
การค้นหาระยะเวลาและจำนวนวันการนวดปากกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนดเป็นเรื่องที่น่าสนใจ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด ระหว่างกลุ่มที่ 1 ที่ได้รับการนวดปากตามวิธีที่พัฒนามาจากเทคนิคของฟูไซด์และคณะ และกลุ่มที่ 2 ตามวิธีของ เลสเซน ซึ่งใช้ระยะเวลาและจำนวนวันในการนวดปากแตกต่างกัน ความสามารถในการดูดนมมารดา ได้แก่ พฤติกรรมการดูดนมมารดา
ปริมาณน้ำนมที่ดูดได้ใน 5 นาทีแรก และจำนวนวันที่เปลี่ยนผ่านจากการได้รับนมทางสายยางไปเป็นการดูดนมได้เอง กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุุหลังปฏิสนธิ 28-32 สัปดาห์เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 2 แห่ง จำนวน 34 ราย โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละเท่ากันโดยวิธีการจับสลากแบบไม่แทนที่กลุ่มตัวอย่างฉลากเลขคี่ได้รับการนวดปากวิธีที่ 1 วันละ 1 ครั้ง ๆละ15 นาที ติดต่อกัน 10 วัน กลุ่มตัวอย่างฉลากเลขคู่ ได้รับการนวดปากวิธีที่ 2 วันละ 1 ครั้ง ๆละ 5 นาที ติดต่อกัน 7 วัน เมื่อทารกได้รับการกระตุ้น ครบตามกำหนดและแพทย์ทารกแรกเกิดลงความเห็นให้ทารกดููดนมจากเต้ามารดา ดูแลให้ทารกดูดนมมารดาเป็นเวลา 5 นาที ขณะเดียวกันสังเกตุพฤติกรรมการดูดนมมารดโดยใช้แบบวัดพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกแรกเกิดก่อนกำหนด ชั่งน้ำหนักทารกก่อนและหลังดูดนมมารดาเพื่อใช้คำนวนปริมาณน้ำนมที่ดูดได้ใน 5 นาทีแรก และนับจำนวนวันที่เปลี่ยนผ่านจากการได้รับนมทางสายยางไปเป็นการดููดนมได้เอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Mann-Whitney Test ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการนวดปากกระตุ้น การดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 30 สัปดาห์ โดยวิธีที่ 2 ซึ่งใช้ระยะเวลาและจำนวนวันสั้นกว่า เป็นวิธีการกระตุ้น ที่ไม่มากเกินจำเป็น
Description
It is interesting to find out dose of oral stimulation in preterm infants. This quasiexperimental research aimed to compare the breastfeeding performance of the preterm infants receiving the oral stimulation method I modified from Fucile and colleagues and those receiving the oral stimulation method II developed by Lessen. Each method had different doses in terms of duration and day. The breastfeeding performance is referred to breastfeeding behaviors, the amount of milk intake in the first 5 minutes, and the transitional duration from gavage to total oral feeding of the preterm infants. The sample consisted of 34 preterm infants born between 28 and 32 weeks of gestational age treated in the sick newborn units at two tertiary hospitals.They were selected by purposive sampling based on the inclusion criteria. They were equally divided into two groups by drawing lots without replacement. The sample with the odd numbers received oral stimulation method I once daily for 15 minutes, ten consecutive days. The sample
with the even number received the oral stimulation method II once daily for 5 minutes, seven consecutive days. When the infants in each group finished receiving the oral stimulation program and the neonatal doctors allowed them to start breastfeeding, they were breastfed for 5 minutes,in the meantime their breastfeeding behaviors was observed by using the Preterm Infant’s Breastfeeding Behaviors Scale. The sample body weight change before and after breastfeeding was recorded to represent the amount of milk intake in the first 5 minutes, as well as the days transitional from gavage to target oral volume feeding were recorded. The data were analyzed using Mann-Whitney Test. It was found that the breastfeeding performance of the preterm infants between the two groups were not significantly different. Therefore, oral stimulation method II, developed by Lessen, was suggested in preterm infants born under 30 weeks of gestational age because it is a shorter procedure and less likely to disturb preterm infants.