Publication:
ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากฝุ่นควัน PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

dc.contributor.authorสมศักดิ์ อมรสิริพงศ์
dc.contributor.authorKeophouthone Hathalong
dc.contributor.authorSomsak Amornsiriphong
dc.date.accessioned2025-04-17T08:32:47Z
dc.date.available2025-04-17T08:32:47Z
dc.date.created2568-04-17
dc.date.issued2567
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและนครหลวงเวียงจันทน์ก่อนและหลังปี พ.ศ. 2561 2) เปรียบเทียบนโยบายแก้ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 และ 3) เสนอแนวทางเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า ฝุ่นควัน PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและนครหลวงเวียงจันทน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังปี พ.ศ. 2561 และมีปัญหาหนักในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม ประชาชนยังขาดความรู้ในการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM2.5 สำหรับนครหลวงเวียงจันทน์ หลังปี พ.ศ. 2563 ปัญหาฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเผาป่าเพื่อการเกษตร ไฟป่า การก่อสร้าง และการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ ส่วนกรุงเทพมหานคร ปัญหาฝุ่น PM2.5 รุนแรงขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากการปล่อยควันจากรถยนต์ การเผาขยะและการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เกษตรกรรม การเปรียบเทียบนโยบายพบว่า กรุงเทพมหานครมีแผนแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างเป็นระบบ โดยมีแผนปฏิบัติการปี 2567 และแผนแม่บทระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) รวมถึงมาตรฐาน Zero Emission และมาตรการทั้งระยะสั้นและยาว ขณะที่นครหลวงเวียงจันทน์ยังไม่มีแผนชัดเจน มีเพียงหน่วยเฉพาะกิจและคำสั่งรัฐบาลในการป้องกันไฟป่าและการเผาจากการเกษตร ข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับกรุงเทพมหานคร คือ การบังคับใช้กฎหมายห้ามเผา ศึกษาและเปิดเผยข้อมูลแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 และกำหนดยุทธศาสตร์ระยะสั้น กลาง และยาว ส่วนข้อเสนอสำหรับนครหลวงเวียงจันทน์คือการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ภาคเอกชน และประชาสังคมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านการบริหารจัดการฝุ่น PM2.5 อย่างมืออาชีพ
dc.description.abstractThis research aims to 1) study the PM2.5 pollution situation in Bangkok and Vientiane before and after 2018, 2) compare policies addressing PM2.5 pollution, and 3) propose policy recommendations to mitigate PM2.5 impacts. Utilizing qualitative methods and in-depth interviews, findings reveal that both cities experience PM2.5 issues primarily from November to March, with increasing levels of PM2.5 post-2018. In Vientiane, PM2.5 pollution surged after 2020, exacerbated by agricultural burning driven by foreign investment, and significant vehicle emissions. Conversely, Bangkok's PM2.5 issues have intensified over the past three years, attributed to vehicle emissions, waste burning, agricultural burning, and construction activities. Comparative policy analysis shows Bangkok has developed comprehensive plans, including a 2024 PM2.5 action plan under a national 20-year air quality management strategy (2018-2037), incorporating short and long-term measures and Zero Emission standards. Vientiane lacks clear action plans, relying on ad hoc government task forces and orders to prevent forest fires and outdoor burning, emphasizing local and central government control to protect health, economy, and tourism. Policy recommendations for Bangkok include strict enforcement of anti-burning laws under the Disaster Prevention and Mitigation Act, detailed source analysis of PM2.5 with open data access, and a strategic plan covering short, medium, and long-term goals for sustainable solutions. Vientiane should establish regional agreements, especially with Thailand, enhance collaboration with private and civil sectors for conservation projects, and set up a dedicated PM2.5 management agency for professional oversight.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 11, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2567), 105-122
dc.identifier.issn2350-983x
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109579
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rights.holderNational University of Laos
dc.subjectข้อเสนอนโยบาย
dc.subjectผลกระทบ
dc.subjectฝุ่นควัน PM 2.5
dc.subjectกรุงเทพมหานคร
dc.subjectนครหลวงเวียงจันทน์
dc.subjectpolicy proposal
dc.subjectimpact
dc.subjectPM2.5 dust
dc.subjectBangkok
dc.subjectVientiane
dc.titleข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากฝุ่นควัน PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
dc.typeResearch Article
dcterms.accessRightsopen access
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/271650/183986
oaire.citation.endPage122
oaire.citation.issue2
oaire.citation.startPage105
oaire.citation.titleวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
oaire.citation.volume11
oaire.versionAccepted Manuscript
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
oairecerif.author.affiliationNational University of Laos

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
sh-ar-somsak-2567.pdf
Size:
698.26 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections