Publication: ผลของโปรแกรมการฝึกสติและกระตุ้นสมองต่อการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด ภาวะซึมเศร้า และสุขภาวะทางจิตใจของสตรี ในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย
dc.contributor.author | ปิยนุช วิริยะตันติกุล | |
dc.contributor.author | พวงเพชร เกษรสมุทร | |
dc.contributor.author | สุดารัตน์ เพียรชอบ | |
dc.contributor.author | Piyanuch Wiriyatuntikul | |
dc.contributor.author | Phuangphet Kaesornsamut | |
dc.contributor.author | Sudarat Pianchob | |
dc.date.accessioned | 2024-01-31T03:55:59Z | |
dc.date.available | 2024-01-31T03:55:59Z | |
dc.date.created | 2567-01-31 | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.date.received | 2565-06-04 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกสติและกระตุ้นสมองต่อการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด ภาวะซึมเศร้า และสุขภาวะทางจิตใจของผู้หญิงในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และมีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มแบบวัดซ้ำ (repeated measures design) คือ ก่อนการทดลอง หลังทดลอง และติดตามผลหลังทดลอง 4 สัปดาห์ วิธีการดำเนินวิจัย: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (convenience sampling) ตามเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 56 คน จากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 2 แห่งๆ ละ 28 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกสติและกระตุ้นสมองจำนวน 8 กิจกรรม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบทีอิสระ และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมมีการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดและสุขภาวะทางจิตใจเพิ่มขึ้น และมีภาวะซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมมีการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดและสุขภาวะทางจิตใจหลังการทดลองและติดตามผลหลังการทดลอง 4 สัปดาห์สูงกว่าก่อนการทดลอง และมีภาวะซึมเศร้าหลังการทดลองและติดตามผลหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ต่ำกว่าก่อนการทดลอง สรุปผลและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการฝึกสติและกระตุ้นสมองมีประสิทธิภาพในการเพิ่มการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดและสุขภาวะทางจิตใจ และลดภาวะซึมเศร้าได้ จึงควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับผู้ที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย เพื่อช่วยส่งเสริมการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด ป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า และส่งเสริมการมีสุขภาวะทางจิตใจที่ดี | |
dc.format.extent | 16 | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 41, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-พ.ค. 2566), 1-16 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94326 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด | |
dc.subject | การรู้คิดบกพร่อง | |
dc.subject | ภาวะซึมเศร้า | |
dc.subject | การฝึกสติ | |
dc.subject | สตรี | |
dc.subject | cognitive function | |
dc.subject | cognitive | |
dc.subject | impairment | |
dc.subject | depression | |
dc.subject | mindfulness women | |
dc.title | ผลของโปรแกรมการฝึกสติและกระตุ้นสมองต่อการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด ภาวะซึมเศร้า และสุขภาวะทางจิตใจของสตรี ในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย | |
dc.title.alternative | The Effect of a Mindfulness-based Cognitive Stimulation Program on Cognitive Function, Depression, and Psychological Well-being of Women in Destitute Protection Centers with Mild Cognitive Impairment | |
dc.type | Article | |
dcterms.accessRights | open access | |
dcterms.dateAccepted | 2565-06-09 | |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/257478 | |
oaire.citation.issue | 2 | |
oaire.citation.title | วารสารพยาบาลศาสตร์ | |
oaire.citation.volume | 41 | |
oairecerif.author.affiliation | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์ |