Publication: การศึกษาการสรุปรหัสคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของ ค่ารักษาพยาบาลตามระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
Issued Date
2557
Resource Type
Language
tha
ISSN
2350-983x
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
งานเวชระเบียน โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2557), 113-131
Suggested Citation
ส้มแป้น ศรีหนูขำ, วราภรณ์ ปานเงิน, ธานี รักนาม, ยุพาพร วัฒนกูล การศึกษาการสรุปรหัสคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของ ค่ารักษาพยาบาลตามระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2557), 113-131. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/43799
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การศึกษาการสรุปรหัสคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของ ค่ารักษาพยาบาลตามระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
Alternative Title(s)
Study on Summary of Discharge Diagnosis (ICD-10 and ICD-9 CM) and Hospital Fee Reimbursement Based on Diagnosis Related Group System at Hospital for Tropical Diseases
Abstract
การศึกษาการสรุปคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัด ที่มีผลต่อ
การปรับค่านํ้าหนักสัมพัทธ์ (Adjust Relative Weight : AdjRW) และมีผล
กระทบต่อค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปริมาณของเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการ
สรุปการวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยใน เพื่อเปรียบเทียบความ
แตกต่างของกลุ่มการวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Group, DRGs)
ที่มีผลต่อ AdjRW นำมาเปรียบเทียบ AdjRW และค่ารักษาพยาบาลที่ได้ก่อน
และหลังการตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการสรุปการวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยในและเพื่อเปรียบเทียบ AdjRW และค่ารักษาพยาบาล
ที่ได้ก่อนและหลังการตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการสรุปการวินิจฉัยโรค
หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยในได้รับจัดสรรตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม
(DRGs) โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่จำหน่ายตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556
ถึงเดือนเมษายน 2557
ผลการศึกษาการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในจำนวน 1,107 ฉบับ
พบว่ามีเวชระเบียนผู้ป่วยในที่มีความคลาดเคลื่อนในการสรุปคำวินิจฉัยโรค
หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยใน จำนวน 322 ฉบับ และหลังจากที่ Auditor
ทบทวนและแก้ไข เพิ่มเติมคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัด ให้ถูกต้อง
ครบถ้วนแล้ว พบว่ามีความแตกต่างของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ที่มี
ผลต่อค่า AdjRW จำนวน 216 ฉบับ โดยทำให้ค่า AdjRW เพิ่มขึ้น 182.84 ซึ่ง
มีผลทำให้ โรงพยาบาลได้รับค่ารักษาพยาบาลจากต้นสังกัดของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
2,420,928.35 บาท
ในการศึกษาครั้งนี้มีประเด็นที่เพิ่มเติมพบว่าความคลาดเคลื่อนในส่วน
ของโรคหลัก โรคร่วม โรคแทรกซ้อน หัตถการ และการผ่าตัด เมื่อ Auditor
ทบทวนและแก้ไข เพิ่มเติมให้ถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว พบว่าการสรุปคำวินิจฉัย
โรคที่แตกต่างกันมีผลต่อการจัดกล่มุ วินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ส่งผลต่อค่า AdjRW
ซึ่งมีผลกระทบต่อจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลที่ต้นสังกัดต้องจ่ายคืนให้กับ
โรงพยาบาลฯ ดังนั้นแพทย์ควรตระหนักถึงความสำคัญและเข้าใจการสรุปคำ
วินิจฉัยโรค ซึ่งควรมีการตรวจสอบ ทบทวนเวชระเบียน แบบ Real time อย่าง
ต่อเนื่อง โดย Auditor ประจำโรงพยาบาลที่มีความรู้ ความชำนาญ เพื่อช่วย
ให้การบันทึกและการสรุปคำวินิจฉัยโรค ในเวชระเบียนผู้ป่วยมีความถูกต้อง
และครบถ้วนมากยิ่งขึ้น
Summary discharge diagnosis using ICD-10 and ICD-9 CM directly affects the adjusted Relative Weight (AdjRW) and hospital fee reimbursement. We conducted this study to detect the differences between the summary discharge diagnosis from attending physicians and the auditor. We also assessed the impacts of these differences on Diagnosis Related Group (DRG), AdjRW and calculated hospital fee reimbursement. The hospital records of admitted patients during October 2013 to April 2014 were reviewed. Results: Altogether 1,107 hospital records were reviewed. Differences in term of errors or discrepancies in summary discharge diagnosis between attending physicians and auditor were found in 322 records, 216 of which affected DRG. After revision by an auditor, AdjRW increased by 182.84 points leading to increment of hospital fee reimbursement by 2,420,928.35 Baht. Conclusion: This study showed that the differences in summary discharge diagnosis based on ICD-10, ICD-9 CM affected the DRG, AdjRW and hospital fee reimbursement. Therefore attending physicians should recognize the importance of completion of summary discharge diagnosis. Implementation of real time audit by the expert auditor could help making summary discharge diagnosis more complete and accurate.
Summary discharge diagnosis using ICD-10 and ICD-9 CM directly affects the adjusted Relative Weight (AdjRW) and hospital fee reimbursement. We conducted this study to detect the differences between the summary discharge diagnosis from attending physicians and the auditor. We also assessed the impacts of these differences on Diagnosis Related Group (DRG), AdjRW and calculated hospital fee reimbursement. The hospital records of admitted patients during October 2013 to April 2014 were reviewed. Results: Altogether 1,107 hospital records were reviewed. Differences in term of errors or discrepancies in summary discharge diagnosis between attending physicians and auditor were found in 322 records, 216 of which affected DRG. After revision by an auditor, AdjRW increased by 182.84 points leading to increment of hospital fee reimbursement by 2,420,928.35 Baht. Conclusion: This study showed that the differences in summary discharge diagnosis based on ICD-10, ICD-9 CM affected the DRG, AdjRW and hospital fee reimbursement. Therefore attending physicians should recognize the importance of completion of summary discharge diagnosis. Implementation of real time audit by the expert auditor could help making summary discharge diagnosis more complete and accurate.