Publication:
การเตรียมความพร้อมและความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การฝึกปฏิบัติทำคลอดของนักศึกษาพยาบาลก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติทำคลอดบนคลินิก

dc.contributor.authorสายลม เกิดประเสริฐen_US
dc.contributor.authorไพรินทร์ สุคนธ์ตระกูลen_US
dc.contributor.authorปรานี ป้องเรือen_US
dc.contributor.authorSailom Gerdpraserten_US
dc.contributor.authorPairin Sukontrakoonen_US
dc.contributor.authorPranee Pongruaen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีen_US
dc.date.accessioned2022-07-07T02:35:21Z
dc.date.available2022-07-07T02:35:21Z
dc.date.created2565-07-07
dc.date.issued2564
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเตรียมความพร้อมและความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การฝึกปฏิบัติทำคลอดของนักศึกษาพยาบาลก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติทำคลอดบนคลินิก โดยใช้กรอบแนวคิดรูปแบบการเรียนรู้ของคอล์บในการศึกษา การเตรียมความพร้อมนักศึกษา 5 รูปแบบ คือ 1) การสาธิตการทำคลอดกับหุ่นจำลองโดยอาจารย์พยาบาล 2) วีดิทัศน์การทำคลอด 3) แบบประเมินขั้นตอนการทำคลอด 4) การฝึกทำคลอดกับหุ่นจำลองของนักศึกษาร่วมกับเพื่อน และ 5) สมุุดคู่มือการทำคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 113 ราย ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ทั้ง 5 รูปแบบก่อนขึ้นฝึก 2 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาถึงวิธีที่ทำให้มีการเตรียมความพร้อมมากที่สุด ความพึงพอใจต่อวิธีการจัดการเรียนการสอน และสัมภาษณ์กลุ่มนักศึกษาจำนวน 30 ราย ถึงเหตุผลของการใช้แต่ละวิธีและข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ข้อมููลโดยใช้สถิติพรรณนาและการสรุปประเด็นสำคัญของข้อมููลจากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อวิธีการเตรียมความพร้อมโดยการฝึกทำคลอดกับหุ่นจำลองของนักศึกษาร่วมกับเพื่อนมากที่สุด รองลงมาเป็นการใช้แบบประเมินขั้นตอนการทำคลอด การสาธิตการทำคลอดกับหุ่นจำลองโดยอาจารย์พยาบาล การศึกษาจากวีดิทัศน์การทำคลอด และการใช้สมุุดคู่มือการทำคลอด ตามลำดับ นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์กลุ่ม พบว่านักศึกษามีข้อเสนอแนะให้ลดจำนวนนักศึกษาต่อกลุ่ม ในการสาธิตการทำคลอดกับหุ่นจำลองลงและเพิ่มจำนวนหุ่นจำลองในการฝึกกับเพื่อนให้มากขึ้น สำหรับวีดิทัศน์ ควรแบ่งเป็นตอนให้สั้นลง เพื่อให้เปิดได้ง่ายใส่ภาพประกอบในสมุดคู่มือการทำคลอดเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์สำหรับอาจารย์ที่สอนการทำคลอดให้มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติการทำคลอดen_US
dc.description.abstractThis descriptive research study aimed to explore the experiential learning strategies and satisfaction with practicing the conduct of labor among nurse-midwifery students before clinical practice at a labor room. Kolb’s experiential learning Model was used as a conceptual framework. Five experiential learning strategies for students’ preparation used in this study included: 1) instructors’ demonstration of labor and delivery conduct by using a model; 2) a video of the normal labor procedures; 3) procedural checklists of normal labor procedural steps; 4) student practicing in pairs of labor and delivery conduct on a model, and 5) a handbook on normal labor procedures. The sample consisted of 113 fourth-year nursing midwifery students. The sample received all five experiential learning strategies two weeks before their clinical practice at the labor room. Data collection was conducted through a questionnaire by asking the students about their opinions and satisfaction with the experiential learning strategies. The semi-structured interviews with 30 nursing midwifery students were used to explore why they used such experiential strategies and elicit recommendations. Descriptive statistics were used to analyze the quantitative data. The results showed that most of the sample reported being prepared and satisfied with practicing in pairs with another student, followed by using the procedural checklists, observing the instructor’s demonstration, reviewing the video, and using the self-study handbook on labor procedures, respectively. Additionally, for the semi-structured interviews, the students suggested that there should be fewer students and more models per each instructor's section. The streaming video should be divided into shorter sections to make it easier to access. The handbook on normal labor procedures should include more illustrations to make it easier to follow. The results from this research will be useful for instructors who teach the conduct of labor and delivery. The instructors can adjust experiential learning strategies to meet the student’s learning needs.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2564), 136-149en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72060
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการเตรียมความพร้อมen_US
dc.subjectความพึงพอใจen_US
dc.subjectนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.subjectประสบการณ์การเรียนรู้en_US
dc.subjectPreparationen_US
dc.subjectSatisfactionen_US
dc.subjectNursing studentsen_US
dc.subjectExperiential learningen_US
dc.titleการเตรียมความพร้อมและความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การฝึกปฏิบัติทำคลอดของนักศึกษาพยาบาลก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติทำคลอดบนคลินิกen_US
dc.title.alternativeNursing Students' Preparations and Satisfactions on Experiential Learning Strategies for the Conduct of Labor before Clinical Practiceen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/242596/170576

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-pranee-2564.pdf
Size:
3.76 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections