Publication:
ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายในเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะน้ําหนักเกิน

dc.contributor.authorอรุณรัศมี บุนนาคen_US
dc.contributor.authorAroonrasamee Bunnagen_US
dc.contributor.authorพรรณรัตน์ แสงเพิ่มen_US
dc.contributor.authorParnnarat Sangpermen_US
dc.contributor.authorวีรยา จึงสมเจตไพศาลen_US
dc.contributor.authorWeeraya Jungsomjatepaisalen_US
dc.contributor.authorยุวดี พงษ์สาระนันทกุลen_US
dc.contributor.authorYuwadee Pongsaranunthakulen_US
dc.contributor.authorวีนัส ลีฬหกุลen_US
dc.contributor.authorVenus Leelahakulen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2018-06-06T07:12:06Z
dc.date.available2018-06-06T07:12:06Z
dc.date.created2561-06-06
dc.date.issued2555
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายในเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะน้ําหนักเกินต่อร้อยละของน้ําหนักต่อส่วนสูง พฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการออกกําลังกาย และการทํากิจกรรม ปริมาณพลังงาน และสัดส่วนการกระจายพลังงานที่กลุ่มตัวอย่างได้รับต่อวัน รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (quasi-experimental study) วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 3 สุ่มจากการจับสลากได้ 2 โรงเรียน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากนักเรียนที่มีภาวะน้ําหนักเกินและโรคอ้วนโรงเรียนละ60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เก็บข้อมูลทั้งสองกลุ่มก่อนและสิ้นสุดโครงการ โดยการชั่งน้ําหนัก วัดส่วนสูงค่าร้อยละน้ําหนักต่อส่วนสูง แบบสอบถาม แบบบันทึกอาหารและกิจกรรม กลุ่มทดลองมีการติดตามเป็นระยะ มีการสนทนากลุ่ม โดยมีผู้ปกครองและครูมีส่วนร่วม ระยะเวลาของโครงการ 30 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา t-test Mann-Whitney U และ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัย: เมื่อสิ้นสุดโครงการมีกลุ่มตัวอย่างจํานวน 87 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 46 คน เพศชาย 25 คน เพศหญิง21 คน และกลุ่มควบคุม 41 คน เพศชาย 25 คน เพศหญิง 16 ผลการทดสอบระหว่างกลุ่มเมื่อสิ้นสุดโครงการพบว่าค่าเฉลี่ยของน้ําหนัก ส่วนสูง และร้อยละของน้ําหนักต่อส่วนสูง คะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกําลังกาย และสัดส่วนการกระจายพลังงานที่กลุ่มตัวอย่างได้รับต่อวัน ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันที่นัยสําคัญทางสถิติ (p > .05) ส่วนผลการทดสอบภายในกลุ่ม พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของร้อยละของน้ําหนักต่อส่วนสูง และพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มทดลอง และพฤติกรรมการออกกําลังกายลดลงในกลุ่มควบคุม สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรนําวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกาย มาช่วยในการลดความเสี่ยงของเด็กวัยเรียนต่อการเกิดโรคอ้วน พร้อมทั้งควรมีการติดตามผลในระยะยาวถึงการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสมen_US
dc.description.abstractPurpose: To study the effects of eating and exercising behavioral modification program onstandard weight for height, eating behavior, exercise and physical activities, calories intake and energydistribution in overweight adolescents.Design: Quasi-experimental study.Methods: Using convenience sampling, 120 grade 7 students with overweight were recruited from2 schools randomly sampling from those under the Bangkok Educational Service Area Office 3. Thesubjects were divided into the experimental and control groups with 60 each. The students’ weight,height, %weight for height, eating behavior, food diary, and activity record were assessed at thebeginning and at the end of the study. The experimental group was enrolled in a 30-week eating andexercising behavioral modification program with periodic follow-up by the researchers. Focus groupswere also held for the parents and teachers. Data were analyzed using t-test, Mann-Whitney U test, andWilcoxon Signed Ranks Test.Main findings: At the end of the study, 87 participants remained in the study with 46 in theexperimental group (25 male, 21 female) and 41 in the control group (25 male, 16 female). The resultsrevealed that there was no significant difference between the study groups on standard weight for height,eating behavior, exercise and physical activities, calories intake and energy distribution (p > .05).However, the with-in group analysis showed significant differences in % weight for height and eatingbehavior in the experimental group; a significant decrease of exercising behavior in the control group.Conclusion and recommendations: Nurses should apply the eating and exercising behavioralmodification program in lowering the risk of obesity in adolescents. Long-term follow-up should also be taken as to maintain a proper eating behavior.en_US
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 30, ฉบับที่ 4 (ต.ค.- ธ.ค. 2555), 37-48en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/13314
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectวัยรุ่นen_US
dc.subjectพฤติกรรมการบริโภคอาหารen_US
dc.subjectการออกกําลังกายen_US
dc.subjectภาวะน้ำหนักเกินen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.titleผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายในเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะน้ําหนักเกินen_US
dc.title.alternativeThe Effects of Behavioral Modification for Eating and Exercising Behavior in Overweight Adolescentsen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/10526

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-aroonras-2555 .pdf
Size:
322.43 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections