Publication: ภาระในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี
Issued Date
2558
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 21, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2558), 322-335
Suggested Citation
สมพิศ พงษ์วิรัตน์, พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, Sompit Pongvirat, Poolsuk Janepanish Visudtibhan, Sasisopin Kiertiburanakul ภาระในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี. รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 21, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2558), 322-335. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/47981
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ภาระในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี
Alternative Title(s)
Self-Care Burden in Patients with HIV-Associated Neurocognitive Disorders
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะ
ผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีและภาระในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มี
ภาวะผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีโดยใช้แนวคิดเรื่องภาระในการดูแล
ตนเองของโอเบิรสต์เป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้ามารับการ
รักษาในคลินิกโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง โดยคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด
จำนวน 177 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนเมษายน 2556 โดยใช้แบบสอบถาม
และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ผลการวิจัยพบว่าความชุกของภาวะผิดปกติ
ของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี คิดเป็นร้อยละ 12.40 และพบว่ากลุ่มตัวอย่างมี
ภาระในการดูแลตนเองโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 77.27 เมื่อพิจารณา
คะแนนภาระในการดูแลตนเองรายด้านพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การจัดการเรื่อง
ค่าใช้จ่าย และการหาแหล่งประโยชน์ในชุมชนเพื่อนำมาช่วยในการดูแลสุขภาพเป็นภาระในการ
ดูแลตนเองมากที่สุด ผลการศึกษาครั้งนี้จะช่วยให้ทีมสุขภาพวางแผนให้การดูแลที่เฉพาะเจาะจง
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติทางระบบประสาทที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อลดภาระในการ
ดูแลตนเองของกลุ่มนี้และส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
This descriptive study aimed to determine the prevalence of HIV-associated neurocognitive disorders and to study self-care burden in patients with HIV-associated neurocognitive disorders. Oberst's self-care burden concept was used as the conceptual framework. The sample consisted of 177 HIV-infected patients in an infectious disease clinic at a university hospital. Data were collected using questionnaire and interviews from October 2012 to April 2013 and were analyzed using of descriptive statistics. The study findings revealed that the prevalence of HIV-associated neurocognitive disorders patients was 12.40%. Most of the subjects (77.27%) had scores of self-care burden at a moderate level. When considering of self-care burden in each category, it was found that having regular exercises, managing living expenses, and seeking resources in the community for healthy were the highest scores of self-care burden, respectively. The findings of this study regarding self-care burden in patients with HIV-associated neurocognitive disorders are useful for healthcare professionals to provide specific nursing care plans for patients with HIV-associated neurocognitive disorders in order to decrease self-care burden and promote well-being and quality of life.
This descriptive study aimed to determine the prevalence of HIV-associated neurocognitive disorders and to study self-care burden in patients with HIV-associated neurocognitive disorders. Oberst's self-care burden concept was used as the conceptual framework. The sample consisted of 177 HIV-infected patients in an infectious disease clinic at a university hospital. Data were collected using questionnaire and interviews from October 2012 to April 2013 and were analyzed using of descriptive statistics. The study findings revealed that the prevalence of HIV-associated neurocognitive disorders patients was 12.40%. Most of the subjects (77.27%) had scores of self-care burden at a moderate level. When considering of self-care burden in each category, it was found that having regular exercises, managing living expenses, and seeking resources in the community for healthy were the highest scores of self-care burden, respectively. The findings of this study regarding self-care burden in patients with HIV-associated neurocognitive disorders are useful for healthcare professionals to provide specific nursing care plans for patients with HIV-associated neurocognitive disorders in order to decrease self-care burden and promote well-being and quality of life.