Publication:
รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนแห่งหนึ่งสังกัดกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.authorยุวดี พงษ์สาระนันทกุลen_US
dc.contributor.authorสมสิริ รุ่งอมรรัตน์en_US
dc.contributor.authorอาภาวรรณ หนูคงen_US
dc.contributor.authorลัดดาวัลย์ ทรัพย์เจริญมากen_US
dc.contributor.authorYuwadee Pongsaranuntakulen_US
dc.contributor.authorSomsiri Rungamornaraten_US
dc.contributor.authorApawan Nookongen_US
dc.contributor.authorLaddawan Supchareonmaken_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2021-07-21T10:47:16Z
dc.date.available2021-07-21T10:47:16Z
dc.date.created2564-07-21
dc.date.issued2564
dc.descriptionโครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย สังกัดกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ที่ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร แห่งหนึ่ง วิธีดำเนินการวิจัย: เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงได้กลุ่มตัวอย่าง 12 คน ประกอบด้วย อาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ประธานชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สำนักงานเขต เก็บข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นหลักในการดำเนินกิจกรรมการประเมินคุณภาพอย่างมีส่วนร่วม คือ มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ โดยให้กลุ่มตัวอย่างประเมิน 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ก่อนเข้าร่วมโครงการ ครั้งที่ 2 ภายหลังดำเนินการในเดือนที่ 4 และครั้งที่ 3 เมื่อสิ้นสุดโครงการเดือนที่ 9 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย: รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน 1) การประเมินตนเอง 2) การเสริมพลังการเปลี่ยนแปลง 3) การคิดทบทวนทำให้ดีขึ้น 4) การให้ความรู้และทักษะการดูแลเด็กปฐมวัย 5) การทดลองปฏิบัติ และ 6) การแก้ไขปรับปรุง ผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ด้าน มาตรฐานด้านที่ 1 การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจากร้อยละ 26.9 เป็น 51.3 และ 76.9 ตามลำดับ ด้านที่ 2 ครู/ผู้ดูแลเด็กให้การดูแล และจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย จากร้อยละ 11.7 เป็น 18.3 และ 68.3 ตามลำดับ และด้านที่ 3 คุณภาพเด็กปฐมวัยจากร้อยละ 9.1 เป็น 9.1 และ 69.8 ตามลำดับ สรุปและข้อเสนอแนะ: การพัฒนาคุณภาพที่เกิดจากการมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง เสริมพลังการเปลี่ยนแปลง คิดทบทวนทำให้ดีขึ้น เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมจะพัฒนาและยกระดับการพัฒนาคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีมาตรฐานอย่างยั่งยืน บุคลากรทางสุขภาพสามารถเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนมีคุณภาพ ส่งผลให้เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลที่ดี มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัยen_US
dc.description.abstractPurpose: To develop a model of quality improvement for early childhood development center under Bangkok Metropolitan Administration (BMA). Design: Participatory action research implemented at one of BMA child development centers. Method: Purposive sampling was used to recruit twelve persons including caregivers, parents, a community head, healthcare personnel and district officers. Data collection included review of related document, observation, in-depth interview, and focus group. The National Standard for Early Childhood Care, Development and Education Thailand was used as the core tool for participatory assessing the quality at three time points: prior to the project participation, at 4th month after starting the project, and at 9th month (ending the project). The data were analyzed using frequency, percentage, and content analysis. Main findings: The model of quality improvement for early childhood development center consists of 6 steps: 1) self-assessment 2) empowerment for change 3) Revision for better results 4) Education and skills for early childhood care 5) Implementation 6) Improvement. The three-times outcomes showed the rise of scores in the following standards: Standard 1 Administration, from 26.9% to 51.3% and 76.9%; Standard 2 Teachers and Caregivers, from 11.7% to 18.3% and 68.3%; and Standard 3, Quality of Early Childhood, from 9.1% to 9.1% and 69.8%, respectively. Conclusion and recommendations: Quality improvement rooted in the first 3 steps of participatory actions in self-assessment, empowerment for change, and revision for better results are essential stages for related persons to get ready for uplifting the quality of the center to achieve the sustainable standards. Healthcare personnel can be a part of the participatory development process resulting in the quality child care centers where preschool children receive a good care and have age-appropriate growth and development.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 3 (ก.ค.- ก.ย. 2564), 91-105en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62992
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectศูนย์พัฒนาเด็กเล็กen_US
dc.subjectสุขภาพเด็กen_US
dc.subjectเด็กก่อนวัยเรียนen_US
dc.subjectการพัฒนาคุณภาพen_US
dc.subjectchild development centeren_US
dc.subjectchild healthen_US
dc.subjectpreschool childen_US
dc.subjectquality improvementen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectNursing Science Journal of Thailanden_US
dc.titleรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนแห่งหนึ่งสังกัดกรุงเทพมหานครen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/248975

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-somsiri-2564.pdf
Size:
677.13 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections