Publication: Tobacco Use and Domestic Violence in Thailand: Matching Case-Control Study
Issued Date
2019
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
Department of Nursing Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University
Department of Psychiatry Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University
Department of Psychiatry Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University
Bibliographic Citation
Ramathibodi Medical Journal. Vol. 42, No. 3 (July-September 2019), 69-75
Suggested Citation
Araya Ha-upala, Somporn Chotivitayataragorn, Ronnachai Kongsakon, อารยา หาอุปละ, สมพร โชติวิทยธารากร, รณชัย คงสกนธ์ Tobacco Use and Domestic Violence in Thailand: Matching Case-Control Study. Ramathibodi Medical Journal. Vol. 42, No. 3 (July-September 2019), 69-75. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72267
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Tobacco Use and Domestic Violence in Thailand: Matching Case-Control Study
Alternative Title(s)
การสูบบุหรี่กับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวไทย: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมแบบจับคู่
Abstract
Background: Tobacco dependence is not only a major health risk which can be prevented, but also is a starting point to use other substances and domestic violence.
Objective: To study the association between tobacco use and domestic violence in Thai families.
Methods: The study was designed as a matched case-control study in women aged 15 years and over, living in households across the country, both in urban and rural areas, in 9 provinces of Thailand. The total of 600 participants were included in this study which half of them are from domestic abused families while the other half are from nonabused families. The criteria of age, education, economic status, housing area and region were determined. Differences between groups were performed using chi-square test and t test.
Results: Domestic violence families (55.7%) used tobacco as compared to 42% of families without violence who hadn’t used tobacco. The tobacco used families were significantly having more domestic violence 1.63 times (95% CI 1.17 - 2.29) than non-tobacco used families.
Conclusions: This study showed that tobacco used in the families were more likely to have domestic violence than non-used families. This could raise awareness on tobacco used to create campaigns to reduce the rate of tobacco used which causes domestic violence.
บทนำ: พฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ และการสูบบุหรี่เป็นอบายมุขปฐมภูมิ เนื่องจากการสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่การใช้สารเสพติดตัวอื่น และพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการสูบบุหรี่กับการเกิดความรุนแรงในครอบครัวไทย วิธีการศึกษา: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมแบบจับคู่ (Matching case-control study) กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีจากครอบครัวที่มีความรุนแรง จำนวน 300 ครอบครัว เปรียบเทียบกับสตรีจากครอบครัวที่ไม่มีความรุนแรง จำนวน 300 ครอบครัว จากนั้นวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Chi-square test และ t test ผลการศึกษา: ครอบครัวที่มีความรุนแรงมีการสูบบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 55.7 ส่วนครอบครัวที่ไม่มีความรุนแรงมีการสูบบุหรี่ร้อยละ 42 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับความรุนแรงในครอบครัวพบว่า การสูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงในครอบครัวเท่ากับ 1.63 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI 1.17 - 2.29) สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนของการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความรุนแรงในครอบครัวไทย เมื่อเปรียบเทียบกับครอบครัวที่ไม่สูบบุหรี่ จึงควรตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและรณรงค์โครงการลดอัตราการสูบบุหรี่ซึ่งเป็นสาเหตุของความรุนแรงในครอบครัว
บทนำ: พฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ และการสูบบุหรี่เป็นอบายมุขปฐมภูมิ เนื่องจากการสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่การใช้สารเสพติดตัวอื่น และพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการสูบบุหรี่กับการเกิดความรุนแรงในครอบครัวไทย วิธีการศึกษา: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมแบบจับคู่ (Matching case-control study) กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีจากครอบครัวที่มีความรุนแรง จำนวน 300 ครอบครัว เปรียบเทียบกับสตรีจากครอบครัวที่ไม่มีความรุนแรง จำนวน 300 ครอบครัว จากนั้นวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Chi-square test และ t test ผลการศึกษา: ครอบครัวที่มีความรุนแรงมีการสูบบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 55.7 ส่วนครอบครัวที่ไม่มีความรุนแรงมีการสูบบุหรี่ร้อยละ 42 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับความรุนแรงในครอบครัวพบว่า การสูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงในครอบครัวเท่ากับ 1.63 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI 1.17 - 2.29) สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนของการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความรุนแรงในครอบครัวไทย เมื่อเปรียบเทียบกับครอบครัวที่ไม่สูบบุหรี่ จึงควรตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและรณรงค์โครงการลดอัตราการสูบบุหรี่ซึ่งเป็นสาเหตุของความรุนแรงในครอบครัว