Publication: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอในวัยรุ่นโรคลมชัก
Issued Date
2566
Resource Type
Language
tha
ISSN
2822-1370 (Print)
2822-1389 (Online)
2822-1389 (Online)
Journal Title
วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล
Volume
29
Issue
1
Start Page
42
End Page
56
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
สาขาการพยาบาลเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. ปีที่ 29, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2566), 42-56
Suggested Citation
เกศสุดา แคมพ์กา, อัจฉริยา ปทุมวัน, อนันต์นิตย์ วิสุทธิพันธ์, Ketsuda Kempka, Autchareeya Patoomwan, Anannit Visuthibhan ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอในวัยรุ่นโรคลมชัก. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. ปีที่ 29, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2566), 42-56. 56. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/98940
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอในวัยรุ่นโรคลมชัก
Alternative Title(s)
Factors Related to Medication Adherence in Adolescents with Epilepsy
Abstract
การวิจัยเชิงบรรยาย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอในวัยรุ่นโรคลมชัก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอในวัยรุ่นโรคลมชัก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นโรคลมชักจำนวน 126 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วยวัยรุ่นโรคลมชัก แบบสอบถามวิธีการใช้ยา แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรสุขภาพกับผู้ป่วย แบบสอบถามอาการไม่พึงประสงค์ของยากันชักแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคลมชัก และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 92.90 มีการรับประทานยากันชักอย่างสม่ำเสมอ วิเคราะห์ข้อมููลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพั นธ์แบบสเปียร์แมน พบว่าแรงสนับสนุนทางสังคม การสื่อสารระหว่างบุคลากรสุขภาพกับผู้ป่วย และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอในกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นโรคลมชักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ของยากันชักและความรู้เกี่ยวกับโรคลมชักไม่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานยากันชักอย่างสม่ำเสมอ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือควรมีการประเมินและส่งเสริมแรงสนับสนุนทางสังคมให้กับวัยรุ่นโรคลมชัก ส่งเสริมให้มีการสื่อสารกันมากขึ้นระหว่างบุคลากรทางสุขภาพกับผู้ป่วย และควรหาวิธีการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนของวัยรุ่นโรคลมชักเพื่อทำให้วัยรุ่นโรคลมชักมีการรับประทานยากันชักอย่างสม่ำเสมอมากยิ่งขึ้น
The objectives of this study were to explore medication adherence in adolescents with epilepsy and to examine factors related to this phenomenon. The sample group consisted of 126 adolescents with epilepsy. The participants were selected by purposive sampling. The data were collected via questionnaires on demographic characteristics of adolescents with epilepsy, the Medication Adherence Report Scale,the Modified ENRICHD Social Support Instrument, the Provider-Patient Communication Scale, the Pediatric Epilepsy Side Effects Questionnaire, the Epilepsy Knowledge Scale,and the Self-efficacy for Appropriate Medication Use Scale. Data were analyzed using descriptive statistics and the Spearman rank correlation coefficient. The results showed that 92.90 % of the adolescents with epilepsy had good medication adherence. Perceived social support, provider-patient communication, and perceived self-efficacy were positively related to medication adherence in adolescents with epilepsy with a statistical significance. However, the side effects of medication and the knowledge of epilepsy were not significantly related to medication adherence in adolescents with epilepsy. This study recommends that perceived social support, provider-patient communication and perceived self-efficacy should be assessed and promoted to adolescents with epilepsy in order to enhance their medication adherence.
The objectives of this study were to explore medication adherence in adolescents with epilepsy and to examine factors related to this phenomenon. The sample group consisted of 126 adolescents with epilepsy. The participants were selected by purposive sampling. The data were collected via questionnaires on demographic characteristics of adolescents with epilepsy, the Medication Adherence Report Scale,the Modified ENRICHD Social Support Instrument, the Provider-Patient Communication Scale, the Pediatric Epilepsy Side Effects Questionnaire, the Epilepsy Knowledge Scale,and the Self-efficacy for Appropriate Medication Use Scale. Data were analyzed using descriptive statistics and the Spearman rank correlation coefficient. The results showed that 92.90 % of the adolescents with epilepsy had good medication adherence. Perceived social support, provider-patient communication, and perceived self-efficacy were positively related to medication adherence in adolescents with epilepsy with a statistical significance. However, the side effects of medication and the knowledge of epilepsy were not significantly related to medication adherence in adolescents with epilepsy. This study recommends that perceived social support, provider-patient communication and perceived self-efficacy should be assessed and promoted to adolescents with epilepsy in order to enhance their medication adherence.