Publication: Etiologies of Dilated Cardiomyopathy in Patients Manifested With Congestive Heart Failure in Ramathibodi Hospital
Issued Date
2014
Resource Type
Language
eng
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
Department of Medicine Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University,
Bibliographic Citation
Ramathibodi Medical Journal. Vol. 37, No. 4 (Oct-Dec 2014), 176-182
Suggested Citation
Sasima Srisukh, Objoon Trachoo, Tarinee Tangcharoen, ศศิมา ศรีศุข, โอบจุฬ ตราชู, ธารินี ตั้งเจริญ Etiologies of Dilated Cardiomyopathy in Patients Manifested With Congestive Heart Failure in Ramathibodi Hospital. Ramathibodi Medical Journal. Vol. 37, No. 4 (Oct-Dec 2014), 176-182. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79688
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Etiologies of Dilated Cardiomyopathy in Patients Manifested With Congestive Heart Failure in Ramathibodi Hospital
Alternative Title(s)
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลรามาธิบดี
Other Contributor(s)
Abstract
Background: Dilated cardiomyopathy (DCM) has a prevalence of 36.5 cases per 100,000 persons in USA. It represents a major health burden and also remains the primary indication for heart transplantation. Almost half to the cases are idiopathic and 20 - 50% of these patients are found to have monogenic associations. Familial DCM is usually asymptomatic and the patients are frequently present at the late stage. In Thailand, no certain prevalence of Familial DCM has been studied. Hence, this work is expected to provide the further benefit of genetic study in this particular condition.
Methods: During January 2011 – December 2012, the data of all clinical cases presented with heart failure and underwent coronary angiography were recruited. Only the patients with normal coronary angiography were included. Family history, comorbidity diseases, current and previous medications, body mass index, laboratory data including kidney function, thyroid function test, and echocardiography report were collected. The etiologies of DCM were characterized into hereditary and known acquired causes. The diagnoses of idiopathic and familial DCM were performed relying on the clinical practice guideline.
Results: Total 178 patients presented with heart failure were recruited for the study and 72 (40.45%) met the criteria for either definite or suspected DCM (39 and 33 patients, repectively). Diabetes mellitus, arrhythmias and chronic kidney diseases were the most common etiologies of impaired systolic function without significant coronary artery disease whereas hyperthyroidism and morbid obesity occurred less frequently. Twelve from 72 patients were defined as unknown acquired etiologies (idiopathic DCM). Among these 12 patients, only 1 patient had history of familial dilated cardiomyopathy (8.33%). However, these patients from 12 patients (25%) were characterized as having positive family histories, but the clinical data in their affected family member did not meet the complete criteria for DCM.
Conclusions: Approximately 17% of our patients affected by DCM are classified as idiopathic. This finding suggests the possibility to have underlying monogenic mechanism. Hence, this is a pilot study for further gene and mutation study in idiopathic and familial DCM in Thai population.
บทนำ: โรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติเป็นสาเหตุในลำดับต้นๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยต้องทำการเปลี่ยนหัวใจ นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน และอื่นๆ โดยจำนวนผู้ป่วยในต่างประเทศมีจำนวน 36 คน ต่อประชากร 100,000 คน โรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติที่ไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic dilated cardiomyopathy) มีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติ ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 20 – 50 พบว่า มีความเกี่ยวข้องกับยีนที่ผิดปกติ (Familial dilated cardiomyopathy) ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้ และผู้ป่วยมักไม่มีอาการ จนกระทั่งมาพบแพทย์ในระยะท้ายของโรค วิธีการศึกษา: สัมภาษณ์และทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว และได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจแล้วไม่พบการอุดตันของหลอดเลือด เก็บข้อมูล ได้แก่ ประวัติครอบครัว โรคประจำตัว ยาที่ใช้ น้ำหนัก ส่วนสูง ค่าการทำงานของไต ไทรอยด์ ผลการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน (Echocardiogram) ผลการศึกษา: ผู้ป่วย จำนวน 72 คน จากจำนวนทั้งหมด 178 คน (ร้อยละ 40.45) ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติหรืออาจจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคเบาหวาน หัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคไตวายเรื้อรัง สาเหตุที่พบน้อยกว่าคือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และโรคอ้วน มีผู้ป่วยจำนวน 12 คน จาก 72 คน ที่ไม่พบสาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติ และในจำนวนนี้พบว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติที่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม จำนวน 1 คน (ร้อยละ 8.33) อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ป่วยอีกจำนวน 3 คน (ร้อยละ 25) มีประวัติบุคคลในครอบครัวที่อาจเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติ แต่ยังไม่ได้รับการตรวจที่แน่นอน สรุป: จากผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายผิดปกติทั้งหมดพบว่า เกือบร้อยละ 20 ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน จึงอาจมีความเกี่ยวข้องกับยีนที่ผิดปกติ ดังนั้นการศึกษานี้จะมีประโยชน์แก่ผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัวที่มีความเสี่ยงและเป็นรากฐานต่อการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติต่อไปในอนาคต
บทนำ: โรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติเป็นสาเหตุในลำดับต้นๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยต้องทำการเปลี่ยนหัวใจ นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน และอื่นๆ โดยจำนวนผู้ป่วยในต่างประเทศมีจำนวน 36 คน ต่อประชากร 100,000 คน โรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติที่ไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic dilated cardiomyopathy) มีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติ ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 20 – 50 พบว่า มีความเกี่ยวข้องกับยีนที่ผิดปกติ (Familial dilated cardiomyopathy) ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้ และผู้ป่วยมักไม่มีอาการ จนกระทั่งมาพบแพทย์ในระยะท้ายของโรค วิธีการศึกษา: สัมภาษณ์และทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว และได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจแล้วไม่พบการอุดตันของหลอดเลือด เก็บข้อมูล ได้แก่ ประวัติครอบครัว โรคประจำตัว ยาที่ใช้ น้ำหนัก ส่วนสูง ค่าการทำงานของไต ไทรอยด์ ผลการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน (Echocardiogram) ผลการศึกษา: ผู้ป่วย จำนวน 72 คน จากจำนวนทั้งหมด 178 คน (ร้อยละ 40.45) ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติหรืออาจจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคเบาหวาน หัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคไตวายเรื้อรัง สาเหตุที่พบน้อยกว่าคือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และโรคอ้วน มีผู้ป่วยจำนวน 12 คน จาก 72 คน ที่ไม่พบสาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติ และในจำนวนนี้พบว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติที่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม จำนวน 1 คน (ร้อยละ 8.33) อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ป่วยอีกจำนวน 3 คน (ร้อยละ 25) มีประวัติบุคคลในครอบครัวที่อาจเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติ แต่ยังไม่ได้รับการตรวจที่แน่นอน สรุป: จากผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายผิดปกติทั้งหมดพบว่า เกือบร้อยละ 20 ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน จึงอาจมีความเกี่ยวข้องกับยีนที่ผิดปกติ ดังนั้นการศึกษานี้จะมีประโยชน์แก่ผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัวที่มีความเสี่ยงและเป็นรากฐานต่อการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติต่อไปในอนาคต