Publication:
การรับรู้ของผู้นำศาสนาอิสลามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักปฏิบัติทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

dc.contributor.authorซารินี มาซอen_US
dc.contributor.authorพรทิพย์ มาลาธรรมen_US
dc.contributor.authorนุชนาฏ สุทธิen_US
dc.contributor.authorSarinee Masoren_US
dc.contributor.authorPorntip Malathumen_US
dc.contributor.authorNuchanad Suttien_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีen_US
dc.date.accessioned2019-10-22T02:48:44Z
dc.date.available2019-10-22T02:48:44Z
dc.date.created2562-10-22
dc.date.issued2560
dc.description.abstractการวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้นำศาสนาอิสลามเกี่ยวกับ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักปฏิบัติทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างการ ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน โดยใช้กรอบแนวคิดการอธิบายความเจ็บป่วยของไคล์นแมนร่วมกับแนวคิดวิถี มุสลิม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 40 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม พ.ศ. 2558 โดยการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์กึ่ง โครงสร้าง และการบันทึกเทปเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดรับรู้ว่าการถือศีลอดเป็นการทำตามหลักปฏิบัติของบทบัญญัติของศาสนา อิสลามที่จำเป็นโดยไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพ สามารถยกเว้นได้ การถือศีลอด มีประโยชน์ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และทำให้จิตใจสงบ ผู้นำศาสนามีความเห็นว่าชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนควรปรับการรับประทานอาหารทั้งจำนวนมื้อ ชนิด ปริมาณ และรูปแบบของอาหาร ส่วนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพควรปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติการ ถือศีลอด ควรทำกิจกรรมและออกกำลังกายให้น้อยลงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายที่อ่อนเพลีย ส่วนด้าน การดูแลสุขอนามัย ต้องดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันเป็นพิเศษ ควรไปตรวจสุขภาพและตรวจน้ำตาล ในเลือดตามนัดซึ่งถือว่าไม่ผิดหลักศาสนา ในด้านบทบาทของผู้นำศาสนา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าผู้นำ ศาสนาควรมีส่วนร่วมและสนับสนุนการดูแลสุขภาพของชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานที่ต้องถือศีลอดในเดือน รอมฎอน นอกจากนี้ ยังมีความต้องการเข้ารับการอบรมเพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำต่างๆ เกี่ยวกับการ ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนของชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ผลการวิจัยครั้งนี้จะทำให้บุคลากร เข้าใจถึงการรับรู้ของผู้นำศาสนาอิสลามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักปฏิบัติทางศาสนาของ ชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และ บุคลากรด้านสุขภาพควร เปิดโอกาสให้ผู้นำศาสนามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อแนวการปฏิบัติตัวที่สอดคล้องกับทั้ง หลักปฏิบัติทางศาสนามุสลิมและหลักการดูแลของบุคลากรด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เป็นเบาหวาน มีสุขภาพดีและความผาสุกเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.description.abstractThe purpose of this descriptive study was to explore the perception of Islamic religious leaders toward religion-related health behavior of Thai Muslims with type 2 diabetes mellitus during the fasting month of Ramadan. Kleinman’s Explanatory Model of Illness was used as the conceptual framework for the study in combination with Muslim beliefs. The sample was selected by purposive sampling which consisted of 40 Islamic religious leaders in Narathiwas Province, Thailand. Data were collected from February to March 2015 through semi-structured interviews and audio recordings. The data obtained were analyzed using descriptive statistics and content analysis.The findings revealed that most of the Islamic religious leaders perceived fasting during Ramadan as a necessity to practice in compliance with religious principles with no impact on health. However, the exception can be made for people with health problems. Fasting during Ramadan is of benefit in controlling blood-glucose levels and maintaining inner peace. The participants perceived that Thai Muslims with type 2 diabetes mellitus who fasted during Ramadan should modify their dietary behavior in terms of the number, type, quantity, and pattern of meals per day. Furthermore, the participants perceived that people in this group should modify their health behavior in accordance with the practice of fasting during Ramadan, performing activities and exercising less in line with their weakened physical conditions. In terms of health behavior, the participants thought that people with diabetes need to take a particular care of oral hygiene and teeth, have health check-ups, and blood glucose testing by appointment because these activities do not violate religious principles. As for the roles of religious leaders, most participants held the view that religious leaders should participate and support in the health care of Thai Muslims with diabetes who fast during Ramadan. In addition, they report a need for training for their ability to offer consultation about fasting during Ramadan for Thai Muslims with type 2 diabetes mellitus. These findings will enable health care providers understand the perceptions of Islamic religious leaders about health behavior in compliance with the religious practices of Thai Muslims with type 2 diabetes mellitus when fasting during Ramadan. Health care providers should provide opportunities for religious leaders to exchange their opinions with them about the way of practices of Muslims with diabetes mellitus. Therefore, they can mutually promote practices in compliance with both Islamic religious principles and intervention plans of health care providers for culturally harmonious health and well-being.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 23, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2560), 208-228en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/47937
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderโรงเรีียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการรับรู้en_US
dc.subjectเบาหวานชนิดที่ 2en_US
dc.subjectชาวไทยมุสลิมen_US
dc.subjectผู้นำศาสนาอิสลามen_US
dc.subjectการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนen_US
dc.subjectPerceptionen_US
dc.subjectType 2 diabetesen_US
dc.subjectThai Muslimsen_US
dc.subjectIslamic religious leadersen_US
dc.subjectFasting month of Ramadanen_US
dc.titleการรับรู้ของผู้นำศาสนาอิสลามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักปฏิบัติทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนen_US
dc.title.alternativePerception of Islamic Religious Leaders toward Religion- Related Health Behavior of Thai Muslims with Type 2 Diabetes Mellitus During the Fasting Month of Ramadanen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/86907/79307

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-porntip-2560.pdf
Size:
769.72 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections