Publication: การแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาต่างสาขาวิชา
Issued Date
2561
Resource Type
Language
tha
ISSN
1513-8429
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสหศาสตร์. ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2561), 221-265
Suggested Citation
อรวี บุนนาค การแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาต่างสาขาวิชา. วารสารสหศาสตร์. ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2561), 221-265. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72039
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาต่างสาขาวิชา
Alternative Title(s)
The Variations of Spelling in the Standard Form of Information Technology Transliteration of Undergraduate Students in Different Program
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและเพื่อเปรียบเทียบการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาต่างสาขาวิชา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล รวม 30 คน ผลการวิจัยลักษณะของการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาพบว่า นักศึกษาใช้รูปเขียนแปรที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสภาคิดเป็นร้อยละ 31.13 และใช้รูปเขียนแปรที่ไม่ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 68.87 ลักษณะของการแปรรูปเขียนแปรคำทับศัพท์ที่ไม่ถูกต้อง มี 3 ลักษณะ ได้แก่ การเพิ่มรูป การลดรูปและการเปลี่ยนรูป ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในหน่วยต่าง ๆ ของโครงสร้างพยางค์ ได้แก่ รูปพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวการันต์ หรือเกิดกับเครื่องหมาย ได้แก่ ไม้ไต่คู้ ทัณฑฆาต ยัติภังค์ และการเว้นวรรคตอน นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าคำทับศัพท์ 1 คำสามารถปรากฏเป็นรูปเขียนแปรได้มากที่สุดถึง 23 รูปแปร สาเหตุของการใช้รูปเขียนคำทับศัพท์พบว่ามีสาเหตุสำคัญสองประการ ได้แก่ การใช้หลักการเขียนตามการออกเสียงคำทับศัพท์ของตนเองและการใช้ตามสื่อมวลชน ส่วนผลการเปรียบเทียบการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์ของนักศึกษาต่างสาขาวิชาพบว่า นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยใช้รูปเขียนแปรคำทับศัพท์ได้ถูกต้องตรงตามราชบัณฑิตยสภาน้อยที่สุด นอกจากนี้จากการเปรียบเทียบการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์ของนักศึกษาต่างสาขาวิชาด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานพบว่า นักศึกษาสาขาวิชาต่างกันเลือกใช้รูปเขียนแปรคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
This study aims to (1) study the variations of spelling in the standard form of information technology transliteration and (2) compare the spelling variations in the standard form of information technology transliteration used by the 30 fourth-year students from the department of Thai, English, and Information and Communication Technology, Mahidol University. It is found that students correctly spell the standard form of information technology transliteration according to the Royal Institute’s transliteration for 31.13%, while another 68.87% of the students misspell the words. The variations of the misspelled transliteration are classified into three characteristics: addition, substraction, and change of form. These characteristics occur to consonants, vowels, tones, markers and spacing. It is also found that the most variable transliterated word has 23 spelling variations. The cause of the misspelling are twofolds: first, students spell the words according to their own pronunciation. Second, students spell the words according to media. Furthermore, the comparison of the spelling variations between the three groups of students shows that the students from the department of Thai misspell the words with the highest percentage. But the percentage of the variations of the three groups of students is not statistically significant.
This study aims to (1) study the variations of spelling in the standard form of information technology transliteration and (2) compare the spelling variations in the standard form of information technology transliteration used by the 30 fourth-year students from the department of Thai, English, and Information and Communication Technology, Mahidol University. It is found that students correctly spell the standard form of information technology transliteration according to the Royal Institute’s transliteration for 31.13%, while another 68.87% of the students misspell the words. The variations of the misspelled transliteration are classified into three characteristics: addition, substraction, and change of form. These characteristics occur to consonants, vowels, tones, markers and spacing. It is also found that the most variable transliterated word has 23 spelling variations. The cause of the misspelling are twofolds: first, students spell the words according to their own pronunciation. Second, students spell the words according to media. Furthermore, the comparison of the spelling variations between the three groups of students shows that the students from the department of Thai misspell the words with the highest percentage. But the percentage of the variations of the three groups of students is not statistically significant.