LA-Article

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/59

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 76
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    สิ่งสามัญอันไร้ค่าในลานวัฒนธรรมอูรักลาโวยจ บ้านสังกาอู้ จ.กระบี่
    (2565) วีรานันท์ ดำรงสกุล; พิไลรัตน์ ศรีวิเชียรอำไพ; Weeranan Damrongsakul; Philairat Sriwichian-Aumphai; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์; มหาวิทยาลัยคริสเตียน. คณะสหวิทยาการ. สำนักศึกษาทั่วไป
    บทความนี้นำเสนอการนิยามตัวตนผ่านแหล่งเรียนรู้อูรักลาโวยจที่แตกต่างไปจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในสังคมไทย พบว่าการจัดแสดง “วิถีอูรักลาโวยจ” ด้วยวัตถุทางวัฒนธรรมที่หมดบทบาทหน้าที่การใช้งานของเครื่องมือดักสัตว์น้ำ “บูบู” นับเป็นจุดเริ่มต้นในการเชื่อมร้อยเรื่องราวตัวตนว่า เขาคือใครและดำรงอยู่อย่างไรท่ามกลางความทันสมัยที่เข้ามาสู่ชุมชน แม้ว่าของจัดแสดงเหล่านั้นเป็นสิ่งสามัญธรรมดาที่ดูไร้ค่าในการใช้งาน แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราววิถีการดำเนินชีวิตของอูรักลาโวยจผ่านกาลเวลา นอกเหนือจากนั้นยังเชื่อมร้อยพลังชุมชนในทุกวัยที่ได้ช่วยกันสรรสร้างแหล่งเรียนรู้นี้ขึ้นมา ด้วยศักยภาพที่พวกเขามีอย่างเต็มเปี่ยมทั้งพลังกาย พลังใจ และพลังสร้างสรรค์ สุดท้ายผู้เขียนต้องการพิสูจน์ว่า การสร้างเรื่องราวในการจัดแสดงนั้นควรมาจากการสะสมของหรือไม่ ซึ่งที่จริงแล้วขึ้นกับบริบทการดำเนินชีวิตในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งนี้เพราะอูรักลาโวยจไม่มีวัฒนธรรมการสะสมเหมือนคนพื้นราบทั่วไป
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    A Study of Students and Professors’ Needs in a PhD program of Applied Linguistics
    (2020) Orrathip Geerativudhipong; Watcharaporn Rattanajaru; Treesirin Chaloemkiti; Niramon Rattanasongkhroh; Usama Sangserm; Mahidol University. Faculty of Liberal Arts
    This study aims to investigate the needs of students and professors towards the doctor of Philosophy program in applied linguistics. The participants of this study were 8 university students who are the current students in the PhD program of Applied Linguistics at a government university and 6 professors whose expertise are in the fields of Applied Linguistics, English language teaching, technology-based language teaching, and innovative education. The researchtool was a set of open-ended questions relating to the teaching and learning of the PhD program in Applied Linguistics for the focus group interview. Data were analyzed by means of content analysis. The result revealed that students were satisfied with the program. They expect to be the qualified PhD students and be a good scholar and independent researcher who distribute and apply the knowledge to be beneficial for mankind in their work fields after graduation relating to the philosophy of program, faculty, and university. Moreover, students gave some suggestions for the program which benefits for whom are in charge of the program to develop the program responded to students’ needs and wants.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การตีความคำว่า “ลวนลาม” ในภาษาไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยตามแนวคิดทฤษฎีต้นแบบ (Prototype Theory)
    (2564) ปานรุ้ง ภู่จำปา; เขมฤทัย บุญวรรณ; Parnrung Phujumpa; Khemruthai Boonwan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของคำว่า “ลวนลาม” ตามความรับรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยตามแนวคิดทฤษฎีต้นแบบ (Prototype Theory) โดยมีเพศเป็นตัวแปรในการพิจารณาแบ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเพศชายจำนวน ๒๕ คน และเพศหญิงจำนวน ๒๕ คน ผลการวิจัยพบว่าเพศหญิงมีแนวโน้มให้ค่าน้ำหนักของการลวนลามมากกว่าเพศชาย โดยสถานการณ์ที่เพศหญิงให้ค่าน้ำหนักมากกว่าเพศชายมี ๑๐ สถานการณ์ จาก ๑๖ สถานการณ์ ซึ่งมี ๒ สถานการณ์ที่เพศหญิงให้ค่าน้ำหนักมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p≤๐.๐๕ เพศชายและเพศหญิงตีความว่าการลวนลามทางคำพูดเป็นการลวนลามมากกว่าการลวนลามทางการกระทำ การวิจัยนี้จะช่วยในการทำความเข้าใจการตีความที่แตกต่างกันระหว่างเพศชายและเพศหญิงและสามารถเลือกวิธีการปฏิบัติหรือการวางตัวเมื่อต้องอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมข้าวของชาวตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
    (2563) อภิลักษณ์ เกษมผลกูล; Aphilak Kasempholkoon; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์
    ชุมชนตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ปรากฏหลักฐานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีคลองโยงเป็นสายน้ำหลักของชุมชน ส่งผลให้เกิดการทำเกษตรในพื้นที่ทั้งสองฝั่งคลอง จึงเกิดการส่งต่อมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมข้าวกันต่อเนื่องมาปรากฏเป็นวรรณกรรมตำราชุดพรหมชาติ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมข้าวของชาวตำบลคลองโยงจากประวัติศาสตร์บอกเล่า และแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร๋วัฒนธรรมข้าวของชาวตำบลคลองโยง ผลการศึกษาพบว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมข้าวของชาวคลองโยงแบ่งเป็น 1) ความรู้เรื่องการปลูกข้าวทำนา 2) ความรู้เครื่องมือและสัตว์ที่เกี่ยวกับการทำนา 3) ความรู้เรื่องประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับข้าว ส่วนด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมข้าวของชาวคลองโยงแบ่งได้เป็น 3 ยุค ได้แก่ 1) ยุคแรกเริ่มป่าไม้ชายนา 2) ยุคพัฒนาที่นาพระราชมรดก 3) ยุคการสำรวจดินสู่การเกษตรยุคใหม่ 4) ยุคนาข้าวสู่นาบัว และ 5) ยุคนาโฉนดชุมชน องค์ความรู้และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชาวคลองโยงในมิติวัฒนธรรมข้าวนี้สะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ของสังคมชาวคลองโยงที่เป็นสังคมชาวนาในที่ราบลุ่มริมน้ำ มีพัฒนาการและการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง มีต้นทุนทางภูมิศาสตร์ที่ดีทั้งดินและน้ำส่งผลให้ข้าวคลองโยงจึงได้รับความนิยมต่อเนื่องมาที่รู้จักกันในนาม “ข้าวหอมนครชัยศรี”
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Book Review : Modernist Physics
    (2021) Korrakod Paetsasadee; กรกช แพทย์สาสดี; Mahidol University. Faculty of Liberal Arts
    Modernist Physics: Waves, Particles, and Relativities in the Writings of Virginia Woolf and D.H. Lawrence by Rachel Crossland, DPhil at St. John College, University of Oxford and Senior Lecturer in English, University of Chichester. The book was published by Oxford University Press in 2018
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การศึกษาสัดส่วนร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัว ในกลุ่มสามเณร โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสิงห์บุรี
    (2563) ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง; ปรีดี พิศภูมิวิถี; กวีญา สินธารา; จิรภา น้าคณาคุปต์; มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์
    สามเณรถือเป็นกลุ่มเยาวชนที่ควรมีกิจกรรมทางกายเพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาการด้านสุขภาพที่ดี แต่รูปแบบกิจกรรมทางกายของสามเณรถูกจำกัดด้วยวัตรปฏิบัติตามพระพุทธศาสนา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสมรรถภาพทางกายได้แก่ สัดส่วนร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขาของสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรม (แผนกสามัญ) วัดกฤษณเวฬุพุทธธาราม (วัดไผ่ดา) และเพื่อศึกษากิจของสามเณรที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกาย ที่ส่งผลต่อการพัฒนาสัดส่วนของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัวของสามเณรในช่วงชั้นมัธยมศึกษา (1-6) จานวน 129 รูป สามเณรแต่ละรูปจะได้รับการทดสอบสมรรถภาพทางกายเชิงสุขภาพ ด้านสัดส่วนของร่างกายใช้วิธีชั่งน้าหนัก และวัดส่วนสูง ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใช้วิธีทดสอบแรงเหยียดขาและแรงบีบมือ ด้านความอ่อนตัวใช้วิธีนั่งงอตัวไปข้างหน้า ตามแบบทดสอบเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย สาหรับเด็กไทย 7-18 ปี นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามช่วงอายุ ผลการวิจัยเชิงปริมาณเมื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพกับเกณฑ์มาตรฐานพบว่า ด้านสัดส่วนของร่างกายพบว่า สามเณรส่วนใหญ่มีสัดส่วนของร่างกายอยู่ในเกณฑ์สมส่วน ด้านความแข็งแรงของแขนพบว่า สามเณรส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ด้านความอ่อนตัวของสามเณรพบว่าส่วนใหญ่อยู่เกณฑ์ปานกลาง ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ลักษณะกิจกรรมทางกายของสามเณรมีความหนักของกิจกรรมในระดับที่น้อยถึงปานกลาง เน้นการออกแรงไปที่กล้ามเนื้อ อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของท่าทางในการเคลื่อนไหว รวมถึงกิจกรรมการเคลื่อนไหวยิ่งลดลงไปเมื่อระดับชั้นเรียนสูงขึ้น
  • Publication
    การอ้างถึงวรรณคดี นิทานไทยในนิราศสมัยใหม่: การสืบสานและการสร้างสรรค์
    (2561) พรเทพ โตชยางกูร; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์
    การอ้างถึง (allusion) วรรณคดี นิทานไทย มีความสัมพันธ์กับกระบวนการสร้างสรรค์วรรณกรรมไทยโดยเฉพาะวรรณกรรมประเภทนิราศมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน กวีใช้การอ้างถึงเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์ชนิดหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสื่อสารและสร้างอารมณ์สะเทือนใจ ขยายขอบเขตเนื้อหา ตลอดจนเชื่อมโยงประสบการณ์ร่วมระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่านที่นอกจากจะทำให้งานเขียนมีความลึกซึ้งแล้ว ยังเป็นการแสดงภูมิปัญญาและความรอบรู้ของทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน ตลอดจนความแพร่หลายของวรรณคดีและนิทานเรื่องที่กวีอ้างถึงด้วย นิราศโบราณนิยมอ้างถึงเหตุการณ์พลัดพรากของตัวละครในวรรณคดี หรือนิทานเรื่องอื่น ๆ เพื่อเชื่อมโยงความโหยหาความรักเและเน้นย้ำปริมาณความทุกข์โศกของกวีที่มีมากกว่าตัวละครเหล่านั้น จากการศึกษานิราศสมัยใหม่จำนวน 4 เรื่อง คือ ลำนำภูกระดึง ของอังคาร กัลยาณพงศ์ หมายเหตุร่วมสมัย ของไพบูลย์ วงษ์เทศ กลอนกล่อมโลก ของไพวรินทร์ ขาวงาม และโคลงนิราศแม่เมาะ ของก้องภพ รื่นศิริ พบว่านิราศสมัยใหม่จะอ้างถึง ตัวละคร เหตุการณ์ ฉากและสารสำคัญ ตลอดจนสำนวนโวหารและความเปรียบของเรื่องอื่น ๆ ข้อน่าสังเกตคือ เนื้อหาและจุดประสงค์ของการอ้างถึงวรรณคดี นิทานไทยในนิราศสมัยใหม่จะแตกต่างและหลากหลายกว่านิราศโบราณ เพราะกวีจะอ้างถึงตัวบท เรื่องราวอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพลัดพรากของตัวละคร เพื่อขยายความและขอบเขตเนื้อหานิราศ ตลอดจนแบ่งปันประสบการณ์ร่วม สร้างอารมณ์ร่วม อันมีบทบาทสำคัญในการสื่อสาร แสดงทัศนะและวิพากษ์วิจารณ์สังคมของกวี กล่าวได้ว่านิราศสมัยใหม่ได้สืบสานกลวิธีการอ้างถึงนี้จากนิราศโบราณมาสร้างสรรค์ให้สอดรับกับจุดประสงค์และพันธกิจแห่งกวีนิพนธ์สมัยใหม่
  • Publication
    การแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาต่างสาขาวิชา
    (2561) อรวี บุนนาค; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์
    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและเพื่อเปรียบเทียบการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาต่างสาขาวิชา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล รวม 30 คน ผลการวิจัยลักษณะของการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาพบว่า นักศึกษาใช้รูปเขียนแปรที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสภาคิดเป็นร้อยละ 31.13 และใช้รูปเขียนแปรที่ไม่ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 68.87 ลักษณะของการแปรรูปเขียนแปรคำทับศัพท์ที่ไม่ถูกต้อง มี 3 ลักษณะ ได้แก่ การเพิ่มรูป การลดรูปและการเปลี่ยนรูป ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในหน่วยต่าง ๆ ของโครงสร้างพยางค์ ได้แก่ รูปพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวการันต์ หรือเกิดกับเครื่องหมาย ได้แก่ ไม้ไต่คู้ ทัณฑฆาต ยัติภังค์ และการเว้นวรรคตอน นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าคำทับศัพท์ 1 คำสามารถปรากฏเป็นรูปเขียนแปรได้มากที่สุดถึง 23 รูปแปร สาเหตุของการใช้รูปเขียนคำทับศัพท์พบว่ามีสาเหตุสำคัญสองประการ ได้แก่ การใช้หลักการเขียนตามการออกเสียงคำทับศัพท์ของตนเองและการใช้ตามสื่อมวลชน ส่วนผลการเปรียบเทียบการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์ของนักศึกษาต่างสาขาวิชาพบว่า นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยใช้รูปเขียนแปรคำทับศัพท์ได้ถูกต้องตรงตามราชบัณฑิตยสภาน้อยที่สุด นอกจากนี้จากการเปรียบเทียบการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์ของนักศึกษาต่างสาขาวิชาด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานพบว่า นักศึกษาสาขาวิชาต่างกันเลือกใช้รูปเขียนแปรคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การตีความคำว่า “ลวนลาม” ในภาษาไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยตามแนวคิดทฤษฎีต้นแบบ (Prototype Theory)
    (2564) ปานรุ้ง ภู่จำปา; เขมฤทัย บุญวรรณ; Khemruthai Boonwan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของคำว่า “ลวนลาม” ตามความรับรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยตามแนวคิดทฤษฎีต้นแบบ (Prototype Theory) โดยมีเพศเป็นตัวแปรในการพิจารณาแบ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเพศชายจำนวน ๒๕ คน และเพศหญิงจำนวน ๒๕ คน ผลการวิจัยพบว่าเพศหญิงมีแนวโน้มให้ค่าน้ำหนักของการลวนลามมากกว่าเพศชาย โดยสถานการณ์ที่เพศหญิงให้ค่าน้ำหนักมากกว่าเพศชายมี ๑๐ สถานการณ์ จาก ๑๖ สถานการณ์ ซึ่งมี ๒ สถานการณ์ที่เพศหญิงให้ค่าน้ำหนักมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p≤๐.๐๕ เพศชายและเพศหญิงตีความว่าการลวนลามทางคำพูดเป็นการลวนลามมากกว่าการลวนลามทางการกระทำ การวิจัยนี้จะช่วยในการทำความเข้าใจการตีความที่แตกต่างกันระหว่างเพศชายและเพศหญิงและสามารถเลือกวิธีการปฏิบัติหรือการวางตัวเมื่อต้องอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมข้าวของชาวตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
    (2563) อภิลักษณ์ เกษมผลกูล; Aphilak Kasempholkoon; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์
    ชุมชนตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ปรากฏหลักฐานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีคลองโยงเป็นสายน้ำหลักของชุมชน ส่งผลให้เกิดการทำเกษตรในพื้นที่ทั้งสองฝั่งคลอง จึงเกิดการส่งต่อมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมข้าวกันต่อเนื่องมาปรากฏเป็นวรรณกรรมตำราชุดพรหมชาติ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมข้าวของชาวตำบลคลองโยงจากประวัติศาสตร์บอกเล่า และแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร๋วัฒนธรรมข้าวของชาวตำบลคลองโยง ผลการศึกษาพบว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมข้าวของชาวคลองโยงแบ่งเป็น 1) ความรู้เรื่องการปลูกข้าวทำนา 2) ความรู้เครื่องมือและสัตว์ที่เกี่ยวกับการทำนา 3) ความรู้เรื่องประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับข้าว ส่วนด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมข้าวของชาวคลองโยงแบ่งได้เป็น 3 ยุค ได้แก่ 1) ยุคแรกเริ่มป่าไม้ชายนา 2) ยุคพัฒนาที่นาพระราชมรดก 3) ยุคการสำรวจดินสู่การเกษตรยุคใหม่ 4) ยุคนาข้าวสู่นาบัว และ 5) ยุคนาโฉนดชุมชน องค์ความรู้และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชาวคลองโยงในมิติวัฒนธรรมข้าวนี้สะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ของสังคมชาวคลองโยงที่เป็นสังคมชาวนาในที่ราบลุ่มริมน้ำ มีพัฒนาการและการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง มีต้นทุนทางภูมิศาสตร์ที่ดีทั้งดินและน้ำส่งผลให้ข้าวคลองโยงจึงได้รับความนิยมต่อเนื่องมาที่รู้จักกันในนาม “ข้าวหอมนครชัยศรี”
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Modernist Physics (Book Review)
    (2021) Korrakod Paetsasadee; กรกช แพทย์สาสดี; Mahidol University. Faculty of Liberal Arts
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การจัดการภูมิปัญญาส้มโอนครชัยศรี : การเรียนรู้และจัดการตนเองตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    (2562) นิภาวรรณ เจริญลักษณ์; Nipawan Charoenlak; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์
    วิถีชาวสวนส้มโอลุ่มแม่น้ำนครชัยศรีนับเป็นภูมิปัญญาที่ถูกสั่งสมมาเป็นระยะเวลายาวนาน มีกระบวนการเรียนรู้และสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อการดำรงชีพ และส้มโอยังเป็นพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงของจังหวัดนครปฐม ผลกระทบจากความเจริญทางโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งวิกฤติทางภัยธรรมชาติที่ชาวสวนต้องรับมือและบริหารจัดการ ซึ่งได้ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของชาวสวนส้มโอนครชัยศรีที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย การบูรณาการจัดการตนเองด้วยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น และการน้อมนำเอาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนนั้นมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาดังนี 1) เพื่อศึกษาและสังเคราะห์องค์ความรู้และด้านการเรียนรู้และการจัดการตนเองตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สังเคราะห์การจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสมกับบริบทการจัดการภูมิปัญญาส้มโอนครชัยศรี 3) เพื่อวิเคราะห์ค่านิยมและแนวปฏิบัติตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะกับ การพัฒนาและเรียนรู้สู่สาธารณะ ผลการศึกษาพบว่า ส่วนที่ 1 ด้านการเรียนรู้และภูมิปัญญาส้มโอนครชัยศรี องค์ความรู้ที่เป็นจุดเด่นคือภูมิปัญญาและการจัดการความรู้จากปรากฏการณ์นิเวศธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น โดยเฉพาะระบบน้ำขึ้นน้ำลงซึ่งเป็นวิถีระบบนิเวศธรรมชาติของพื้นที่ รวมถึงการจัดการตนเองของชุมชนตามปฏิทินที่อิงตามระบบนิเวศ ส่วนที่ 2 การจัดการตนเองตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ให้ความสำคัญตั้งแต่ระดับการจัดการตนเองที่เชื่อมโยงกับครอบครัว และเครือญาติ การจัดการระดับกลุ่มเป็นการรวมกลุ่มชาวสวนทั้งเป็นทางการตาม การสนับสนุนของกลไกทางการและเครือข่ายในพื้นที่ การจัดการระดับเชื่อมเครือข่าย การประสานงานในรูปแบบความร่วมมือเพื่อเกื้อกูลการจัดการภูมิปัญญา ทั้งภาควิชาการ ภาครัฐ และเอกชนเพื่อวิถีภูมิปัญญาสามารถดำรงอยู่ได้ท่ามกลางวิกฤติทั้งปรากฏการณ์ธรรมชาติ และปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่วนที่ 3 ด้านค่านิยมและแนวปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้อิงฐานคิด 3 ปัจจัยคือความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน และ 2 เงื่อนไขสนับสนุนคือ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม ซึ่งเป็นองค์ประกอบส้าคัญตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Pronunciation in Action. (Book Review)
    (2019) Rungpat Roengpitya; รุ่งภัทร เริงพิทยา; Mahidol University. Faculty of Liberal Arts
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ESP in Thailand: Practical English Training for Professionals
    (2018) Songsri Sorastaporn; Mahidol University. Faculty of Liberal Arts
    English for Specific Purposes (ESP) is very practical for professional training. This is because ESP, of its very nature, according to Dudley-Evans, (1998), (1) is designed to meet the specific needs of a particular group of learners; (2) makes use of underlying methodology and activities of the discipline it serves; and (3) is centered on the language appropriate to these activities in terms of grammar, lexis, register, study skills, discourse and genre. Dudley-Evans, (1998, p. 4-5) also makes the nature of ESP clearer by listing other characteristics as follows: 1. ESP may be related to or designed for specific disciplines; 2. ESP may use, in specific teaching situations, a different methodology from that of General English; 3. ESP is likely to be designed for adult learners, either at a tertiary level institution or in a professional work situation. It could, however, be for learners at secondary school level; 4. ESP courses are generally designed for intermediate or advanced students. Most ESP courses assume some basic knowledge of language systems, so learners do not need to learn General English if they are qualified enough.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    A Comparison of Moves and Language Use in the Abstracts of Laboratory Animal science Review Articles and Cell Biology Research Articles
    (2018) Chaniporn Bhoomanee; Songsri Soranastaporn; Mahidol University. Faculty of Liberal Arts
    The aims of this study were to compare (1) the frequency of moves, (2) move sequencing pattern, and (3) language use in terms of tenses, verbs, voice, and types of sentence in three high-frequency moves found in the abstracts of both laboratory animal science review articles (LARA) and cell biology research articles (CBRA). The corpus consisted of 100 abstracts: 50 LARA and 50 CBRA abstracts published between 2012 and 2014 by the Institute for Laboratory Animal Research Journal (ILAR) and the Journal of Cell Biology (JCB), selected by stratified random sampling and simple random sampling. The framework of Taddio et al. (1994), which consists of eight moves: purpose, research design, setting, subjects, intervention, measurement, results, and conclusion, was used to analyze the data. The results reveal that (1) three high-frequency moves occurred the most frequently in both types of abstracts. (2) Ten move sequencing patterns occurred in the LARA abstracts, and move sequencing six patterns occurred in the CBRA abstracts. (3) The most frequently used language forms were: the present tense, finite verbs, the active voice, and two types of sentence occurred in the moves presenting background, purpose, and conclusions: simple sentences and complex sentences.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    โครงสร้างปริจเฉทและกลวิธีทางภาษาในการสนทนาระหว่างคู่สนทนาที่ไม่รู้จักกันในรายการ “ต่อปาก ต่อคำ ติดไฟแดง”
    (2562) จักริน ฉัตรไชยพฤกษ์; เขมฤทัย บุญวรรณ; Khemruthai Boonwan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์
    บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างปริจเฉทการสนทนา และวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาในการสนทนาระหว่างคู่สนทนาที่ไม่รู้จักกันในรายการ “ต่อปาก ต่อคำ ติดไฟแดง” โดยเก็บข้อมูลรายการเฉพาะส่วนการสนทนาจำนวน 10 ตอนที่มีจำนวนผู้เข้าชมสูงที่สุด ผลการศึกษาพบโครงสร้างปริจเฉท 3 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างส่วนเริ่ม โครงสร้างส่วนเนื้อหา และโครงสร้างส่วนท้าย โครงสร้างส่วนเริ่มประกอบด้วย 1) การทักทาย 3 รูปแบบ ได้แก่ การใช้คำทักทาย การใช้คำทักทายร่วมกับ การสอบถามเรื่องทั่วไป และการใช้คำทักทายร่วมกับการสอบถามจุดหมายปลายทาง และ2) การสอบถาม 3 รูปแบบ ได้แก่ การสอบถามเรื่องทั่วไป การสอบถามจุดหมายปลายทาง และการสอบถามเรื่องทั่วไปร่วมกับการสอบถามจุดหมายปลายทาง โครงสร้างส่วนเนื้อหาประกอบด้วย 1) การตอบรับ-สอบถาม และ 2) การโฆษณา และโครงสร้างส่วนท้ายประกอบด้วย 1) การอำลา ด้วยการใช้คำอำลา การใช้คำขอบคุณ การใช้คำอวยพร การใช้อวัจนภาษา หรือการใช้หลายรูปแบบร่วมกัน และ 2) การตัดจบการสนทนา เนื่องจากการจราจรเคลื่อนตัว ส่วนกลวิธีทางภาษาประกอบด้วย 9 กลวิธี ได้แก่ การใช้มูลบท การใช้ถ้อยคำนัยผกผัน การกล่าวซ้ำ การขยายความ การเปรียบเทียบ การกล่าวเหนือความคาดหมาย การเล่นเสียง-เล่นคำ การหักมุม และการใช้คำสรรพนามแบบคำเรียกญาติ เพื่อแสดงความเป็นกันเองต่อคู่สนทนา ซึ่งการใช้กลวิธีทางภาษาต่าง ๆ สามารถสร้างอารมณ์ขันหรือให้ความบันเทิงตามวัตถุประสงค์ของรายการ
  • Publication
    ข้อคิดจากการแปลวรรณกรรมเรื่องคัสซันดรา ของคริสตา โวล์ฟ
    (2559) มธุรส ศรีนววัตน์; Maturot Sinavarat; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    มุมมองความสุภาพจากกลวิธีการตั้งคำถามสัมภาษณ์บุคคลสาธารณะของผู้สื่อข่าวบันเทิง
    (2553) อรวี บุนนาค; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์. ภาควิชาภาษาไทย
  • Publication
    ว่าด้วยขนมโบราณในเมืองตราด : ความรู้ที่โลกลืมจำแต่ไม่เคยลืมกิน
    (2555) อภิลักษณ์ เกษมผลกูล; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    เพลงไทยสากลกับการนำเสนอภาพลักษณ์ของจังหวัดนครปฐม
    (2555) วริศรา โกรทินธาคม; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์. ภาควิชาภาษาไทย