Publication:
กิจกรรมและผลการดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุในชุมชนเมือง: กรณีศึกษา

dc.contributor.authorชนนิพัทธ์ ประเสริฐพรรณen_US
dc.contributor.authorนพวรรณ เปียซื่อen_US
dc.contributor.authorสุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอen_US
dc.contributor.authorกมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์en_US
dc.contributor.authorChonnipat Prasertpanen_US
dc.contributor.authorNoppawan Piaseuen_US
dc.contributor.authorSuchinda Jarupat Maruoen_US
dc.contributor.authorKamonrat Kittipimpanonen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีen_US
dc.date.accessioned2019-12-11T06:38:23Z
dc.date.available2019-12-11T06:38:23Z
dc.date.created2562-12-11
dc.date.issued2557
dc.description.abstractการศึกษาเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมและผลการดำเนินกิจกรรมของ ชมรมผู้สูงอายุในชุมชนเมือง ได้แก่ ความพึงพอใจ ภาวะสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ตัวอย่างคือ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 41 ราย ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุแห่งหนึ่งในชุมชน เขตกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การตรวจร่างกาย การสังเกต กิจกรรมต่างๆ ภายในชมรมผู้สูงอายุ และการสัมภาษณ์เชิงลึกตามแนวคำถามในการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย และวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า สมาชิกชมรม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65.9) เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 67.4 ปี กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมเชิงสังคม (ประชุมประจำเดือน กิจกรรมในวันสำคัญ) และกิจกรรมเชิงสุขภาพ (การตรวจสุขภาพ การออกกำลังกาย การเยี่ยมบ้าน) ผลการดำเนินกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ สมาชิก เกือบทั้งหมด (ร้อยละ 95.2) มีความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก ด้านภาวะ สุขภาพ พบว่า ร้อยละ 68.3 มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารสูง ร้อยละ 80 มีความดันโลหิตซิสโตลิกสูง และประมาณครึ่งหนึ่งของตัวอย่าง มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ ร้อยละ 61 มีความดันโลหิตไดแอสโตลิกปกติ เกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 43.9) รับรู้ว่าภาวะสุขภาพดี การคัดกรองภาวะซึมเศร้า พบว่าส่วนใหญ่ (ร้อยละ 61) ไม่มีภาวะซึมเศร้า เมื่อทดสอบเพิ่มเติมในกลุ่มเสี่ยง พบว่า ครึ่งหนึ่งไม่มีอาการซึมเศร้าหรือมีภาวะซึมเศร้า ระดับน้อยมาก ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.7) มีคุณภาพชีวิตภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความสำเร็จของการ ดำเนินกิจกรรม เกิดขึ้นจากความร่วมมือของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ชุมชนและทีมสุขภาพ สำหรับปัญหา อุปสรรคของการเข้าร่วมกิจกรรม เป็นปัญหาด้านสุขภาพและด้านครอบครัวของผู้สูงอายุ ด้านการบริหาร จัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านวัสดุอุปกรณ์ ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุมีดังนี้ 1) การประเมิน ติดตามภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกาย ได้แก่ การประเมินระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และ ดัชนีมวลกาย 2) การส่งเสริม สุขภาพของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต 3) บูรณาการ ระบบบริการเชิงสังคมและเชิงสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และ 4) การศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูง อายุในชุมชนen_US
dc.description.abstractThis descriptive study aimed to describe activities and outputs of a senior club in an urban community. The outputs included satisfaction, health status, and quality of life in the senior club members. The sample consisted of 41 senior club members participating in senior club activities, a community in Bangkok. Data were collected using structured interviews, physical examinations, observation of senior club activities, and in-depth interview following interview questions. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics, while qualitative data were analyzed using content analysis. Results revealed that the majority of senior club members (65.9%) were female with an average age of 67.4 years. The senior club had two main activities including social activity (monthly meeting and activity at major events) and health related activity (physical examination, exercise, and home visit). The participants were satisfied with senior club activities at a high level (95.2%). Most of the sample had high fasting blood sugar (68.3%), high blood pressure (80.5%), and excessive body mass index (48.8%), except that diastolic blood pressure for most was normal (61%). Almost half of the sample (43.9%) perceived good health. Most of them (61%) had no depression. The majority (70.7%) had overall quality of life at a moderate level. Their accomplishments resulted from participation as senior club members, and as members of the community and the health team. Problems were associated with health of the sample, family, management, environment, and equipment. Results suggest that senior club activity includes: 1) assessing and monitoring health status including blood sugar, blood pressure, and body mass index; 2) promoting both physical and mental health activities continuously; 3) integrating social services and health services continuously; and 4) conducting research focusing on depression in community dwelling older adults.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 20, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2557), 388-400en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48352
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectกิจกรรมen_US
dc.subjectผลการดำเนินกิจกรรมen_US
dc.subjectชมรมผู้สูงอายุen_US
dc.subjectชุมชนเมืองen_US
dc.subjectActivitiesen_US
dc.subjectOutputsen_US
dc.subjectSenior cluben_US
dc.subjectUrban communityen_US
dc.titleกิจกรรมและผลการดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุในชุมชนเมือง: กรณีศึกษาen_US
dc.title.alternativeActivities and Outputs of a Senior Club in an Urban Community: A Case Studyen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/13940/26229

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-noppawan-2557-2.pdf
Size:
656.16 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections