Publication: การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลวิจัยเชิงสำรวจ
Issued Date
2560
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สำนักงานวิจัย วิชาการและนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
Bibliographic Citation
รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 40, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2560), 25-39
Suggested Citation
กัลยพัชร ภู่สาระ, วรรณพร พลายสวาท, บุญส่ง องคพิพัฒนกุล, นิธิศ การรื่นศรี, Kanyapat Pusara, Wannaporn Plaisawat, Boonsong Ongphiphadhanakul, Nititt Karnruensri การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลวิจัยเชิงสำรวจ. รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 40, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2560), 25-39. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79571
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลวิจัยเชิงสำรวจ
Alternative Title(s)
Efficiency Comparison of Data Management Program for Survey Research
Abstract
บทนำ: ในการบริหารจัดการข้อมูลวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) ในอดีตวิธีการนำเข้าข้อมูลที่นิยมมากคือการป้อนข้อมูลด้วยมือ (manual) โดยคนสองคนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยต่างคนต่างป้อนจากแบบฟอร์มชุดเดียวกันจากนั้นเปรียบเทียบแฟ้มข้อมูลทั้งสอง หากมีข้อมูลรายการใดไม่สอดคล้องกัน ต้องทำการแก้ไขข้อมูล ซึ่งมีความยุ่งยากมาก แต่ในปัจจุบันได้มีโปรแกรมที่ช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลวิจัยมากขึ้น โปรแกรมต่างๆ มีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันไปจึงทำให้มีการศึกษาถึงเรื่องประสิทธิภาพของโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมในการบริหารจัดการข้อมูลให้กับผู้วิจัย และเมื่อตัดสินใจใช้โปรแกรมถูกต้องข้อมูลงานวิจัยที่ได้ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณสมบัติพิเศษของโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลงานวิจัยเชิงสำรวจ และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลงานวิจัยเชิงสำรวจ จำนวน 4 โปรแกรม ได้แก่ (1) SurveyCan (2) SurveyMonkey (3) Google Docs และ (4) Online Medical Research Tools (OMERET)
วิธีการศึกษา: เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์การทำงานในหน้าที่ตั้งแต่ปี 2552 – ปัจจุบัน ถึงความต้องการของผู้วิจัยในการบริหารจัดการข้อมูลงานวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนั้นๆ โดยในงานวิจัยนี้ศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลงานวิจัยเชิงสำรวจ จำนวน 4 โปรแกรม ได้แก่ (1) SurveyCan (2) SurveyMonkey (3) Google Docsและ (4) Online Medical Research Tools (OMERET) โดยการสร้างแบบสอบถามใน 4 โปรแกรม และทดลองใช้งานตามข้อมูลที่เก็บรวบรวมถึงความต้องการต่าง ๆ ของผู้วิจัย แล้วสรุปผลเพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนั้นๆ
ผลการศึกษา: โปรแกรมSurveyCan และ SurverMonkey จะไม่สะดวกถ้าใช้ฟรี เพราะไม่สามารถนำข้อมูลออกมาวิเคราะห์ทางสถิติได้ ซึ่งผู้วิจัยต้องทำการ Upgrade ก่อน โดยมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ส่วนโปรแกรม Google Docs สามารถนำข้อมูลออกได้ แต่จะไม่สะดวกในการใช้งาน เพราะข้อมูลที่ได้จะเป็นตัวหนังสือ ต้องมีการ Recode ก่อนจึงจะนำไปวิเคราะห์ทางสถิติได้ แต่ถ้าเป็นโปรแกรม OMERET ผู้วิจัยจะต้องใช้แบบสอบถาม (กระดาษ) เพื่อเก็บข้อมูลและนำมาสแกนผ่านโปรแกรม โดยไม่ต้องลงไดรเวอร์ (Driver) แต่ต้องมีอินเทอร์เน็ต (Internet) จึงสามารถเก็บข้อมูลได้
สรุปผลการศึกษา: ความสามารถในการใช้งานโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูล ทุกโปรแกรมล้วนมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้วิจัยพิจารณาถึงความต้องการ และความถนัดของการใช้งาน จึงจะทำให้การใช้โปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด
Background: Manual data entry was the most popular data management in the past. It is usually performed by two individuals entering the data separately. The two entries will then be compared. If there are unmatched transactions, the inspector will check the original records and make corrections. This procedure, however, is cumbersome and time - consuming while errors still cannot be totally avoided. Nowadays, many software applications have been developed to improve research data management with various tools to help create more accurate and efficient results. Objective: To study and compare the features of 4 software tools designed for data management in survey research: (1) SurveyCan (2) SurveyMonkey (3) Google Docs (4) Online Medical Research Tools (OMERET) Methods: This Study to Compare 4 Software (For Created Questionnaire) By Collect data from investigators using survey software from the year 2010-2015. Results: SurveyCan and SurveyMonkey were less convenient due to the in ability to export data to statistical software without upgrading with a fee. Google Docs can export but is relatively difficult to use because results can only be exported as text. For OMERET, data need to be entered on Questionnaire papers before being scanned into the software and when Data into the Software can Export to another Statistical for Calculate have not fee. Conclusions: Survey data management software in this study have different pros and cons. Researchers should take this information into account when designing a survey study.
Background: Manual data entry was the most popular data management in the past. It is usually performed by two individuals entering the data separately. The two entries will then be compared. If there are unmatched transactions, the inspector will check the original records and make corrections. This procedure, however, is cumbersome and time - consuming while errors still cannot be totally avoided. Nowadays, many software applications have been developed to improve research data management with various tools to help create more accurate and efficient results. Objective: To study and compare the features of 4 software tools designed for data management in survey research: (1) SurveyCan (2) SurveyMonkey (3) Google Docs (4) Online Medical Research Tools (OMERET) Methods: This Study to Compare 4 Software (For Created Questionnaire) By Collect data from investigators using survey software from the year 2010-2015. Results: SurveyCan and SurveyMonkey were less convenient due to the in ability to export data to statistical software without upgrading with a fee. Google Docs can export but is relatively difficult to use because results can only be exported as text. For OMERET, data need to be entered on Questionnaire papers before being scanned into the software and when Data into the Software can Export to another Statistical for Calculate have not fee. Conclusions: Survey data management software in this study have different pros and cons. Researchers should take this information into account when designing a survey study.