Publication: สูตร T-formula สำหรับประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดเกินในเด็กแรกเกิด
Issued Date
2562
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 6, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), 24-30
Suggested Citation
อุเทน บุญมี, ปริมพัชร์ ไวทยวงศ์สกุล, Uthen Bunmee, Parimmaphatra Waithayawongsakul สูตร T-formula สำหรับประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดเกินในเด็กแรกเกิด. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 6, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), 24-30. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/55131
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
สูตร T-formula สำหรับประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดเกินในเด็กแรกเกิด
Alternative Title(s)
T-formula for Assessment Severity of Patent Ductus Arteriosus in Newborn Group
Other Contributor(s)
Abstract
การประเมินภาวะหลอดเลือดเกิน (Patent ductus arteriousus; PDA) ด้วยการตรวจสอบคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) ยังไม่มีสูตรเฉพาะ มีเพียงวิธีการเดิมที่ใช้การวัดขนาดของ PDA เทียบกับขนาดของลิ้นหัวใจเอออติก บ้างก็ใช้การวัดขนาดของ PDA ร่วมกับการสังเกตขนาดสังเกตขนาดของหัวใจห้องบนซ้าย (Left Atrium; LA) แต่บ่อยครั้งที่ค่าขนาด PDA กับ LA ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ยากต่อการแปรผลและประเมิน ซึ่งหากตัดหรือแยกประเมินก็อาจเกิดความไม่ครอบคลุมในพารามิเตอร์ที่สำคัญ จึงได้สร้างสูตรใหม่ที่ครอบคลุมพารามิเตอร์และสะดวกต่อการแปรผล คือ สูตร T-formula = (PDA 〖size〗_mm + LA/A_o radio) / L〖LVOT〗_mm ภายใต้การวิจัยแบบ Descriptive study เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสูตรใหม่เทียบกับวิธีการเดิมด้วย Spearman’s correlation หาค่าความไวและความจำเพาะสำหรับกำหนดจุดตัด (Cutpoint) และสร้างตารางเทียบค่าระดับความรุนแรง เมื่อทบทวนค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นย้อนหลังจากฐานข้อมูลผลตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ช่วงปี พ.ศ. 2559 – 2560 ในประชากรตัวอย่างเด็กแรกเกิดชาวไทยที่ไม่มีโรคหัวใจชนิดอื่นร่วม จำนวน 32 ราย อายุ 2.7 ± 1.9 วัน คำนวณค่า T-formula เทียบกับการคำนวณตามหลักการของวิธีการตรวจเดิม พบว่า T-formula มีความสัมพันธ์กับการตรวจเดิมในระดับมากที่สุด (r_s=0.97) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) และที่ระดับ T-formula 0.75 จะให้ค่าความไวและความจำเพาะสูงที่สุดเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงถือเป็นจุด Cutpoint ที่บ่งชี้ถึงภาวะ PDA ที่ต้องได้รับการรักษา โดยเด็กแรกเกิดทั่วไปที่ไม่มีภาวะ PDA จะมีค่า T-formula 0.20 – 0.30 ด้วยค่าความสัมพันธ์ในระดับสูงมากและมีค่า Cutpoint ชัดเจน ทั้งยังมีตารางเทียบระดับความรุนแรงที่สามารถแปรผลตัวเลขแล้วระบุระดับเป็น ปกติ น้อย ปานกลาง มากได้ ทำให้สูตร T-formula มีความสะดวกและมีประโยชน์สำหรับเลือกนำไปใช้ทางคลินิก
An echocardiogram is a standard diagnostic tool for children with patent ductus arteriosus (PDA). In current practice, a hemodynamic significant PDA is defined as a PDA with left atrium-to-aortic valve diameter ratio (LA/Ao ratio) greater than 1.4. In some cases, we found the severity of disease, PDA size and left atrial size were not correlated. By observation, we would like to propose a simple formula called T-formula [T-formula = (PDA sizemm + LA/Ao ratio)/LVOTmm]. The clinical and echocardiographic data of 32 neonates since 2016-2017 were reviewed. The mean age was 2.7 ± 1.9 days. This descriptive study used Spearman's correlation, and showed sensitivity and specificity of cut point. In the result, The correlation coefficient showed extremely strong correlation (rs=0.97). With the cut point of T-formula ≥ 0.75, the sensitivity and specificity was 100% for significantly severe PDA (Normal 0.2 - 0.3). This T-formula is a simplified formula which included more parameter than the conventional method. With higher sensitivity and specificity, we proposed that this formula could be benefit in clinical practice.
An echocardiogram is a standard diagnostic tool for children with patent ductus arteriosus (PDA). In current practice, a hemodynamic significant PDA is defined as a PDA with left atrium-to-aortic valve diameter ratio (LA/Ao ratio) greater than 1.4. In some cases, we found the severity of disease, PDA size and left atrial size were not correlated. By observation, we would like to propose a simple formula called T-formula [T-formula = (PDA sizemm + LA/Ao ratio)/LVOTmm]. The clinical and echocardiographic data of 32 neonates since 2016-2017 were reviewed. The mean age was 2.7 ± 1.9 days. This descriptive study used Spearman's correlation, and showed sensitivity and specificity of cut point. In the result, The correlation coefficient showed extremely strong correlation (rs=0.97). With the cut point of T-formula ≥ 0.75, the sensitivity and specificity was 100% for significantly severe PDA (Normal 0.2 - 0.3). This T-formula is a simplified formula which included more parameter than the conventional method. With higher sensitivity and specificity, we proposed that this formula could be benefit in clinical practice.