Publication: ความขรุขระผิวของอะมัลกัมที่ผลิตในประเทศไทยภายหลังการขัดและการแปรง
Accepted Date
2013-06-18
Issued Date
2013-09
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-5614 (printed)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
พรเกียรติ ชื่นจิตอภิรมย์, ชญาดา เทียนไชย, อภิวัฒน์ ฤทธาภัย. ความขรุขระผิวของอะมัลกัมที่ผลิตในประเทศไทยภายหลังการขัดและการแปรง. ว ทันต มหิดล. 2556; 33(3): 160-6.
Suggested Citation
พรเกียรติ ชื่นจิตอภิรมย์, Pornkiat Churnjitapirom, ชญาดา เทียนไชย, Chayada Teanchai, อภิวัฒน์ ฤทธาภัย, Apiwat Rittapai ความขรุขระผิวของอะมัลกัมที่ผลิตในประเทศไทยภายหลังการขัดและการแปรง. พรเกียรติ ชื่นจิตอภิรมย์, ชญาดา เทียนไชย, อภิวัฒน์ ฤทธาภัย. ความขรุขระผิวของอะมัลกัมที่ผลิตในประเทศไทยภายหลังการขัดและการแปรง. ว ทันต มหิดล. 2556; 33(3): 160-6.. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1075
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความขรุขระผิวของอะมัลกัมที่ผลิตในประเทศไทยภายหลังการขัดและการแปรง
Alternative Title(s)
Surface roughness of Thai amalgam product after polishing and brushing.
Corresponding Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความขรุขระผิวของอะมัลกัมที่ผลิตในประเทศไทยภายหลังจาก
การขัดและการแปรงเปรียบเทียบกับอะมัลกัมที่จำหน่ายในท้องตลาด 4 ชนิด คือ Tytin
FC, Amalcap Plus, GS-80 spherical และ GS-80
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา: เตรียมชิ้นตัวอย่างอะมัลกัมในแม่แบบอะคริลิกชนิด
ละ 20 ตัวอย่าง เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำชิ้น
ตัวอย่างทั้งหมดมาขัดด้วยหัวขัดเรียงตามลำดับความหยาบไปจนถึงละเอียดคือ หัวขัด
สโตนขาว หัวยางแดงขัดอะมัลกัม และหัวยางเขียวขัดอะมัลกัม นำตัวอย่างอะมัลกัมที่ขัด
เสร็จชนิดละ 10 ตัวอย่าง ไปทดสอบความขรุขระผิว เหลือตัวอย่างขัดเสร็จอีกชนิดละ 10
ตัวอย่าง นำไปแปรงกับแปรงสีฟันและสารละลายยาสีฟันด้วยเครื่องแปรงฟัน จากนั้นนำ
ไปทดสอบความขรุขระผิว นำค่าความขรุขระผิวมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์
ความแปรปรวนทางเดียว และ Tukey’s test เปรียบเทียบพหุคูณที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการขัดและการแปรง Tytin FC มีค่าความ
ขรุขระผิวน้อยกว่าทุกชนิดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และในทำนองเดียวกัน GS-80
มีค่าความขรุขระผิวมากกว่าทุกชนิดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ขณะที่อะมัลกัมไทย,
Amalcap Plus และ GS-80 spherical มีค่าความขรุขระผิวไม่ต่างกัน สำหรับการเปรียบ
เทียบความขรุขระผิวระหว่างภายหลังการขัดกับการแปรงพบว่าอะมัลกัมทุกผลิตภัณฑ์
ยกเว้น GS-80 ผิวภายหลังการแปรงกับสารละลายยาสีฟันมีค่าความขรุขระมากกว่าการ
ขัดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ GS-80 มีความขรุขระมากกว่าทุกผลิตภัณฑ์ใน
ระดับเดิม
บทสรุป: จากผลการตรวจสอบความขรุขระผิวของอะมัลกัมไทยกับอะมัลกัมที่จำหน่ายใน
ท้องตลาด 4 ชนิด ภายหลังการขัดและการแปรงพบว่าอะมัลกัมไทยมีความขรุขระผิวใกล้
เคียงหรือน้อยกว่าอะมัลกัมที่จำหน่ายในท้องตลาดบางชนิด คาดว่าอะมัลกัมไทยสามารถ
นำไปใช้ทางคลินิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Objective: The purpose of this study was to determine the surface roughness of Thai amalgam product after polishing or brushing, and to compare with four commercial amalgams (GS-80, GS-80 spherical, Amalcap Plus and Tytin FC). Materials and methods: Twenty specimens of each amalgam were prepared in acrylic molds and then stored at 37°C for 24 hours. All specimens were polished with white stones, brown amalgam polishing points and green amalgam polishing points. Ten specimens were used to determine the surface roughness of the polished specimens. The remaining 10 specimens were further brushed with toothbrushes and slurry of toothpaste. The surface roughness of each specimen was examined. The mean surface roughness values were analyzed using one-way ANOVA and Tukey’s multiple comparison test at 95% confidence interval. Results: Tytin FC had significantly lower surface roughness than all of the other amalgams (p<0.05), while GS-80 had significantly higher surface roughness than all of the other amalgams (p<0.05). No significant differences were found in surface roughness among Thai amalgam product, GS-80 spherical and Amalcap Plus. Surface roughness of brushed surfaces was significantly higher than polished surfaces (p<0.05) except GS-80. Conclusion: The result of this study shows that the surface roughness after polishing and brushing of Thai amalgam product is comparable to commercially available amalgams and acceptable for dental practice.
Objective: The purpose of this study was to determine the surface roughness of Thai amalgam product after polishing or brushing, and to compare with four commercial amalgams (GS-80, GS-80 spherical, Amalcap Plus and Tytin FC). Materials and methods: Twenty specimens of each amalgam were prepared in acrylic molds and then stored at 37°C for 24 hours. All specimens were polished with white stones, brown amalgam polishing points and green amalgam polishing points. Ten specimens were used to determine the surface roughness of the polished specimens. The remaining 10 specimens were further brushed with toothbrushes and slurry of toothpaste. The surface roughness of each specimen was examined. The mean surface roughness values were analyzed using one-way ANOVA and Tukey’s multiple comparison test at 95% confidence interval. Results: Tytin FC had significantly lower surface roughness than all of the other amalgams (p<0.05), while GS-80 had significantly higher surface roughness than all of the other amalgams (p<0.05). No significant differences were found in surface roughness among Thai amalgam product, GS-80 spherical and Amalcap Plus. Surface roughness of brushed surfaces was significantly higher than polished surfaces (p<0.05) except GS-80. Conclusion: The result of this study shows that the surface roughness after polishing and brushing of Thai amalgam product is comparable to commercially available amalgams and acceptable for dental practice.