Publication:
ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันการสูบบุหรี่ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กรุงเทพมหานคร

dc.contributor.authorธิดารัตน์ นาคสมบูรณ์en_US
dc.contributor.authorมณฑา เก่งการพานิชen_US
dc.contributor.authorธราดล เก่งการพานิชen_US
dc.contributor.authorศรัณญา เบญจกุลen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2022-07-14T02:26:41Z
dc.date.available2022-07-14T02:26:41Z
dc.date.created2565-07-14
dc.date.issued2562
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 2 แห่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 35 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 29 คน กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการเรียนการสอนตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมที่ประยุกต์แนวคิดทักษะชีวิต 4 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง 2) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3)ทักษะการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา 4) ทักษะการปฏิเสธ โดยกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตประกอบด้วยกิจกรรมสุขศึกษา 4 สัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 60 นาที เก็บรวบรวมข้อมูล 3 ระยะคือก่อนการทดลองหลังการทดลองและระยะติดตามโดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ครูผู้สอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Chi-square, Independent t-test, Repeated Measure ANOVA และ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า หลังทดลองและระยะติดตาม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาแตกต่างกันจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001, p=0.004 และ p<0.001 ตามลำดับ) ยกเว้นทักษะการปฏิเสธที่ไม่มีความแตกต่างกัน (p=0.147) สาหรับกลุ่มเปรียบเทียบ ไม่พบความแตกต่างกันของคะแนนเฉลี่ยในทักษะการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะ การปฏิเสธ (p>0.05) ยกเว้นทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหาเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.004) และในระยะติดตามผลคะแนนเฉลี่ยของทั้ง 4 ทักษะของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้น โรงเรียนจึงควรประยุกต์โปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตนี้ไปบูรณาการเข้าสู่การเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนในการป้องกันการสูบบุหรี่en_US
dc.description.abstractThis two group quasi-experimental research aimed to study the effectiveness of life skill development program for smoking prevention among5th grade students in two elementary school in Bangkok Metropolis. 64 samples were divided into two groups, 35 students were the experimental group and 29 students were the comparison group. The comparison group received the regular teaching and learning activities while the experimental group received the health education program applying four life skills: 1) self-awareness and self-esteem; 2) critical thinking skills; 3) decision making and problem solving skills; and 4) refusal skills. The skill development activities composed of four sessions of health education activities in 4 weeks with 60 minute-session each. Data collection was done before and after the experimentation and the follow-up period using a questionnaires and interview the instructors. Data analysis was done using descriptive statistics: frequency, percentage and arithmetic mean, and analytical statistics: Chi-square, Independent t-test, Repeated Measure ANOVA and Paired t-test. The results of mean difference before, after the experimentation, and follow up period showed that the experimental group had significant different mean scores of self-awareness and self-esteem, critical thinking skills for smoking prevention, and decision making and problem solving skills for smoking prevention (p<0.001, p=0.004 and p<0.001, respectively), except refusal skills for smoking prevention that was not different (p=0.147). For comparison group, there were not different of mean scores of self-awareness and self-esteem, critical thinking skills for smoking prevention, and refusal skills for smoking prevention (p>0.05), except problem solving skills for smoking prevention that was different significantly (p=0.004). Moreover, the findings showed that the four life skills among the experimental group were found to be significantly higher than the comparison group (p<0.05). Thus, schools should apply this life skill development program for smoking prevention in classroom learning and teaching activities in order to prevent students from smoking.en_US
dc.identifier.citationวารสารสุขศึกษา. ปีที่ 42, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2562), 184-194en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72131
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectประสิทธิผลของโปรแกรมen_US
dc.subjectการพัฒนาทักษะชีวิตen_US
dc.subjectการป้องกันการสูบบุหรี่en_US
dc.titleประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันการสูบบุหรี่ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe Effectiveness of Life Skills Development Program for Smoking Prevention among 5th Grade Students In Bangkok Metropolisen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he01.tci-thaijo.org/index.php/muhed/article/view/225825

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-mondha-2562.pdf
Size:
614.64 KB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections