Publication: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความทุกข์ทางจิตใจในผู้บาดเจ็บกระดูกรยางค์ส่วนล่างหักจากอุบัติเหตุ
dc.contributor.author | อุดมลักษณ์ ตระกูลมีนัก | |
dc.contributor.author | พิชญ์ประอร ยังเจริญ | |
dc.contributor.author | สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม | |
dc.contributor.author | Udomluk Trakulmeenak | |
dc.contributor.author | Phichpraorn Youngcharoen | |
dc.contributor.author | Suchira Chaiviboontham | |
dc.date.accessioned | 2025-04-08T07:11:17Z | |
dc.date.available | 2025-04-08T07:11:17Z | |
dc.date.created | 2568-04-08 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ เพศ รายได้ ความปวด ในปัจจุบัน แรงสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน กับความทุกข์ทางจิตใจในผู้บาดเจ็บที่มีภาวะกระดูกรยางค์ส่วนล่างหักจากอุบัติเหตุ โดยใช้กรอบแนวคิดจากการทบทวนวรรณกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกรยางค์ส่วนล่างหักจากอุบัติเหตุอายุ 18 ปี ถึง 55 ปี มาตรวจตามนัดที่คลินิกศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลบางละมุง จัวหวัดชลบุรี จำนวน 113 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความปวดแบบตัวเลขแบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินกิจวัตรประจำวันดัชนี บาร์เธลเอดีแอล และแบบประเมินผลกระทบทางจิตใจหลังเกิดเหตุการณ์วิกฤต ฉบับ-10 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและหาความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สเปียร์แมน และ พอยท์ไบซีเรียล ผลการศึกษานี้พบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกรยางค์ส่วนล่างหักจากอุบัติเหตุส่วนใหญ่มีความทุกข์ทางจิตใจในระดับเล็กน้อย ผู้ป่วยเพศหญิงมีระดับความทุกข์ทางจิตใจมากกว่าผู้ป่วยเพศชาย รายได้ การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวันมีความสัมพันธ์ทางลยกับความทุกข์ทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความปวดในปัจจุบันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความทุกข์ทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอายุไม่พบความสัมพันธ์กับความทุกข์ทางจิตใจ ผลการศึกษานำไปใช้เพื่อวางแผนการจัดการความปวด ให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และส่งเสริมการได้รับการดูแลจากบุคคลในครอบครัว เพื่อลดความทุกข์ทางจิตใจให้ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกรยางค์ส่วนล่างหักในระยะแรกหลังประสบอุบัติเหตุ | |
dc.description.abstract | The aim of the study was to examine relationships among age, gender, income,current pain intensity level, social support, ability to perform daily activities,and psychological distress in patients with lower extremity fractures from accidents.The literature review was used as a conceptual framework. The sample consisted of 113 patients diagnosed with lower extremity fractures aged between 18 and 55 years old who had an appointment at the orthopaedic outpatient clinic. The Demographic Questionnaire, the Numerical Rating Scale, the Social Support Questionnaire, the Barthel of Activities of Daily Living Index, and the Psychological Impact Scale for Crisis Events–10 were used for data collection. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson Product Moment Correlation Coefficient, Spearman rank correlation coefficient, and Point–biserial correlation coefficient. The results of this study revealed that most patients with lower extremity fractures had mild levels of psychological distress.Female patients had higher levels of psychological distress compared to male patients.Income, social support, and the ability to perform daily activities were significantly negatively associated with psychological distress, while current pain intensity level was significantly positively associated with psychological distress. Age was not associated with psychological distress. The results could be used to plan the proper management of pain, provide health education to promote the ability to perform daily activities, and integrate family members in providing care to improve perceptions of social support,which could minimize psychological distress in patients with lower extremity fractures in the initial phase after the accident. | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. ปีที่ 30, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2567), 210-223 | |
dc.identifier.issn | 2822-1370 (Print) | |
dc.identifier.issn | 2822-1389 (Online) | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109347 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights.holder | สาขาวิชาการพยาบาลผูู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | อุบัติเหตุ | |
dc.subject | ผู้บาดเจ็บกระดูกรยางค์ส่วนล่างหัก | |
dc.subject | ความทุกข์ทางจิตใจ | |
dc.subject | Accident | |
dc.subject | Lower extremity fracture | |
dc.subject | Psychological distress | |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความทุกข์ทางจิตใจในผู้บาดเจ็บกระดูกรยางค์ส่วนล่างหักจากอุบัติเหตุ | |
dc.title.alternative | Factors Associated with Psychological Distress among Patients with Lower Extremity Fractures | |
dc.type | Research Article | |
dcterms.accessRights | open access | |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/266268/210-223 | |
oaire.citation.endPage | 223 | |
oaire.citation.issue | 2 | |
oaire.citation.startPage | 210 | |
oaire.citation.title | วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล | |
oaire.citation.volume | 30 | |
oaire.version | Accepted Manuscript | |
oairecerif.author.affiliation | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี | |
oairecerif.author.affiliation | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ |
Files
Original bundle
1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
- Name:
- ra-ar-phichpra-2567.pdf
- Size:
- 3.78 MB
- Format:
- Adobe Portable Document Format