Publication:
ประสบการณ์อาการผิวหนังและหลอดเลือดคล้ำ และภาพลักษณ์ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด

dc.contributor.authorอพัชนิภา บุุญหลี
dc.contributor.authorบัวหลวง สำแดงฤทธิ์
dc.contributor.authorธิราภรณ์ จันทร์ดา
dc.contributor.authorApatnipa Boonlee
dc.contributor.authorBualuang Sumdaengri
dc.contributor.authorTiraporn Junda
dc.date.accessioned2024-06-24T04:22:14Z
dc.date.available2024-06-24T04:22:14Z
dc.date.created2567-06-24
dc.date.issued2565
dc.description.abstractการวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของอาการผิวหนังและหลอดเลือดคล้ำ การรับรู้ระดับความรุนแรง การรบกวนการดำเนินชีวิต และภาพลักษณ์ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด โดยใช้ทฤษฏีการจัดการอาการเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 80 ราย เครื่องมือ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรุนแรงของอาการผิวหนังและหลอดเลือดคล้ำ แบบสอบถามการรบกวนการดำเนินชีวิต และแบบสอบถามภาพลักษณ์ทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 59.43 ปี กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน และส่วนใหญ่เป็นมะเร็งลำไส้ ร้อยละ 62.50 ระยะที่ 4 ร้อยละ 63.75 ได้รับสูตรเคมีบำบัดที่มี 5-fluorouracil เป็นส่วนประกอบร้อยละ 90 ลักษณะการเกิดอาการผิวหนังและหลอดเลือดคล้ำ มากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้้อยละ 53.75) เริ่มเป็นรอยดำมีลักษณะอ่อนนิ่มตามแนวหลอดเลือดดำที่ได้รับเคมีบำบัดเกิดบริเวณท้องแขนด้านในร้อยละ 51.25 อาการผิวหนังและหลอดเลือดคล้ำ มีความรุนแรงระดับปานกลาง แต่รบกวนการดำเนินชีวิตในระดับเล็กน้อยถึงน้อยมาก สิ่งที่รบกวนการดำเนินชีวิตมากที่สุด 3 ลำดัับแรก ได้แก่ 1) การมีสีผิวหนังคล้ำตามแนวของหลอดเลือดดำ 2) การมีผลต่อการเลือกเสื้อผ้าที่จะสวมใส่ และ 3) ความรู้สึกอับอายขาดความมั่นใจ ตามลำดับ ผู้ป่วยที่อาการผิวหนังและหลอดเลือดคล้ำมีความรู้สึกพึงพอใจกับภาพลักษณ์ทางกายโดยรวมในระดับมาก ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางให้พยาบาลและทีมสุขภาพในการพัฒนาโปรแกรมการจัดการอาการเพื่อลดผลกระทบของอาการผิวหนังและหลอดเลือดคล้ำในผู้ป่วยมะเร็ง
dc.description.abstractThis descriptive research aimed to explore the symptom experience of serpentine supravenous hyperpigmentation, the perception of severity, distress level, and body image in patients with cancer receiving chemotherapy. The Symptom Management Theory was used as a conceptual framework. Eighty participants receiving chemotherapy were recruited from one chemotherapy ward at a university hospital in Bangkok. Four instruments were used to collect data. The questionnaires consisted of 1) the Personal Questionnaire, 2) the Perception and Severity of Serpentine Supravenous Hyperpigmentation Questionnaire, 3) the Distress Scale,and 4) the Body Image Scale. Data were analyzed using descriptive statistics. The results revealed that the average age of the sample was 59.43 years. Most participants were patients with solid tumor cancer, with which most of them were colon cancer (62.50%), stage 4 (63.75%), and treated with 5-fluorouracil as the component (90%). Approximately half of the appearance of hyperpigmentation (53.75%) began with black patches, with a soft appearance along the vein undergoing chemotherapy; the skin and dark veins were found most in the inner arm area (51.25%). The serpentine supravenous hyperpigmentation had moderate severity but produced low-lowest distress in the sample. The top three distresses included: 1)concern with high pigments along the vein receiving chemotherapy, 2) concern with selecting clothes to wear, and 3) feelings of embarrassment and lack of confidence, respectively.Perceived body image of the sample was rated as high. The results of this study could be used as basic knowledge for nurses and health care providers to develop a symptom management program for reducing the effects of the hyperpigmentation in patients with cancer.
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 28, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2565), 336-352
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/98933
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectเคมีบำบัด
dc.subjectอาการผิวหนังและหลอดเลือดคล้ำ
dc.subjectการรบกวนการดำเนินชีวิต
dc.subjectภาพลักษณ์ทางกาย
dc.subjectChemotherapy
dc.subjectSerpentine supravenous hyperpigmentation
dc.subjectDistress
dc.subjectBody image
dc.titleประสบการณ์อาการผิวหนังและหลอดเลือดคล้ำ และภาพลักษณ์ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด
dc.title.alternativeSerpentine Supravenous Hyperpigmentation Experience and Body Image in Patients with Cancer Receiving Chemotherapy
dc.typeResearch Article
dcterms.accessRightsopen access
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/252954/336-352
oaire.citation.endPage352
oaire.citation.issue3
oaire.citation.startPage336
oaire.citation.titleรามาธิบดีพยาบาลสาร
oaire.citation.volume28
oaire.versionAccepted Manuscript
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
ra-ar-bualuang-2565.pdf
Size:
438.09 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections