Publication: Comparative analysis of international research publications from Thai dental faculties between 2000 and 2008
Issued Date
2010
Resource Type
Language
eng
Rights
Mahidol University
Bibliographic Citation
Chiang Mai Dental Journal. Vol.31, No.2 (2010), 47-57
Suggested Citation
Stitaya Sirisinha, Sittichai Koontongkaew, Ruchareka Wittayawuttikul Comparative analysis of international research publications from Thai dental faculties between 2000 and 2008. Chiang Mai Dental Journal. Vol.31, No.2 (2010), 47-57. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/47903
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Comparative analysis of international research publications from Thai dental faculties between 2000 and 2008
Alternative Title(s)
การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานวิจัยระดับนานาชาติของคณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ.2543-พ.ศ.2551
Abstract
Objective: To study and compare the international publications of research performance during the years 2000 and 2008 from the 8 dental faculties of state universities in Thailand. Materials and Methods: Data were generated using computerized search of the databases of publications listed in the reports from Institute of Scientific Information Web of Science (ISI-WOS), Scopus and PubMed databases. Results: A total number of publications from the years 2000 to 2008 from 8 dental faculties were as followings: Chulalongkorn University (CU) = 187; Mahidol University (MU) = 176; Chiang Mai University (CMU) = 106; Khon Kaen University (KKU) = 90; Prince of Songkla University (PSU) = 116; Thammasat University (TU) = 21; Srinakharinwirot Uni-versity (SWU) = 19; and Naresuan University (NU) – 6; Based on these data, the dental faculties could be roughly divided into 3 groups: CU and MU; CMU, KKU and the 3 recently established TU, SWU and NU. Although the combined number of publications from these 8 dental faculties did not change much from 2000 to 2005, there was a big jump in the number between the years 2005 and 2006 and this phenomenon was observed for all faculties. In general, the quality of publications, based on journal impact factors, did not vary considerably among these dental faculties. However, it was noted that the research with results leading to publications in journals with high impact factors were mostly performed by staff members who were on leave of absence for higher degrees and or oversea training. Conclusion: This comparative analysis of publications from the 8 Thai dental faculties between 2000-2008 provided unbiased appraisal of quantity and quality of research publications which roughly paralleled with the time when they were established, from the oldest Chulalongkorn University to the youngest Naresuan University. It is hoped that some of our suggestions and criticisms will be useful in upgrading research performance in Thai dental faculties, thus making them more competitive in national and international arena.
วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ระหว่าง พ.ศ.2543 ถึง พ.ศ.2551 จากคณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทย ที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐจำนวน 8 คณะ วัสดุและวิธีการ: ทำการวิเคราะห์ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติจากคณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐจำนวน 8 คณะ โดยสืบค้นจากฐานข้อมูลของ Institute of Science Infromation Web of Science (ISI-WOS) Scopus และ Pubmed ผลการศึกษา: การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ISI WOS Scopus และ Pubmed พบว่าระหว่าง พ.ศ.2543-2551 คณะทันตแพทยศาสตร์ของรัฐ 8 คณะมีผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตีพิมพ์จำนวน 187 เรื่อง มหาวิทยาลัยมหิดลตีพิมพ์จำนวน 176 เรื่อง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตีพิมพ์จำนวน 106 เรื่อง มหาวิทยาลัยขอนแก่นตีพิมพ์จำนวน 90 เรื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตีพิมพ์จำนวน 116 เรื่อง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตีพิมพ์จำนวน 21 เรื่อง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒตีพิมพ์จำนวน 19 เรื่อง มหาวิทยาลัยนเรศวรตีพิมพ์จำนวน 6 เรื่อง ซึ่งเมื่อทำการจัดกลุ่มคณะทันตแพทยศาสตร์ทั้ง 8 แห่งตามจำนวนผลงานที่ตีพิมพ์แล้วพบว่ามีความสอดคล้องกับระยะเวลาที่ก่อตั้งคณะเหล่านั้น โดยสามารถแบ่งจำนวนผลงานวิจัยได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ซึ่งมีผลงานวิจัยมากที่สุดคือ คณะทันตแพทยศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นคณะที่ก่อตั้งขึ้นมานานกว่าคณะทันตแพทยศาสตร์กลุ่มอื่นๆ กลุ่มที่ 2 ซึ่งมีจำนวนผลงานรองลงมาได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีผลงานน้อยที่สุดคือคณะทันตแพทยศาสตร์ที่ก่อตั้งหลังสุดซึ่งได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยนเรศวร อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าระหว่าง พ.ศ.2543-2548 จำนวนผลงานวิจัยรวมที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติจากคณะทันตแพทยศาสตร์ทั้ง 8 คณะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก แต่พบว่าผลงานวิจัยใน พ.ศ.2549 มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกคณะ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาคุณภาพของงานวิจัยโดยอาศัย impact factor ของวารสารที่ตีพิมพ์พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างคณะทันตแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่พบว่าบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ impact factor สูงมักจะเป็นผลงานที่ตีพิมพ์จากวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่เรียนระดับบัณฑิตศึกษาในต่างประเทศ หรือเป็นผลงานจากการที่อาจารย์ลาไปทำงานวิจัย ณ ต่างประเทศ บทสรุป: การศึกษานี้พบว่าจำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติของคณะทันตแพทยศาสตร์ของรัฐ 8 แห่งมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่สถาบันนั้นก่อตั้งมา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดมีผลงานวิจัยระดับนานาชาติมากที่สุด ในขณะที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรซึ่งเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์ของรัฐที่ก่อตั้งหลังสุด มีผลงานวิจัยระดับนานาชาติน้อยที่สุด ผู้วิจัยหวังว่า คำแนะนำและคำวิพากษ์จากผลการศึกษานี้ จะเป็นประโยชน์เพื่อยกระดับพฤติกรรมการทำวิจัยของบุคลากรจากคณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทย เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ
วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ระหว่าง พ.ศ.2543 ถึง พ.ศ.2551 จากคณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทย ที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐจำนวน 8 คณะ วัสดุและวิธีการ: ทำการวิเคราะห์ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติจากคณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐจำนวน 8 คณะ โดยสืบค้นจากฐานข้อมูลของ Institute of Science Infromation Web of Science (ISI-WOS) Scopus และ Pubmed ผลการศึกษา: การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ISI WOS Scopus และ Pubmed พบว่าระหว่าง พ.ศ.2543-2551 คณะทันตแพทยศาสตร์ของรัฐ 8 คณะมีผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตีพิมพ์จำนวน 187 เรื่อง มหาวิทยาลัยมหิดลตีพิมพ์จำนวน 176 เรื่อง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตีพิมพ์จำนวน 106 เรื่อง มหาวิทยาลัยขอนแก่นตีพิมพ์จำนวน 90 เรื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตีพิมพ์จำนวน 116 เรื่อง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตีพิมพ์จำนวน 21 เรื่อง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒตีพิมพ์จำนวน 19 เรื่อง มหาวิทยาลัยนเรศวรตีพิมพ์จำนวน 6 เรื่อง ซึ่งเมื่อทำการจัดกลุ่มคณะทันตแพทยศาสตร์ทั้ง 8 แห่งตามจำนวนผลงานที่ตีพิมพ์แล้วพบว่ามีความสอดคล้องกับระยะเวลาที่ก่อตั้งคณะเหล่านั้น โดยสามารถแบ่งจำนวนผลงานวิจัยได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ซึ่งมีผลงานวิจัยมากที่สุดคือ คณะทันตแพทยศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นคณะที่ก่อตั้งขึ้นมานานกว่าคณะทันตแพทยศาสตร์กลุ่มอื่นๆ กลุ่มที่ 2 ซึ่งมีจำนวนผลงานรองลงมาได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีผลงานน้อยที่สุดคือคณะทันตแพทยศาสตร์ที่ก่อตั้งหลังสุดซึ่งได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยนเรศวร อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าระหว่าง พ.ศ.2543-2548 จำนวนผลงานวิจัยรวมที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติจากคณะทันตแพทยศาสตร์ทั้ง 8 คณะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก แต่พบว่าผลงานวิจัยใน พ.ศ.2549 มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกคณะ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาคุณภาพของงานวิจัยโดยอาศัย impact factor ของวารสารที่ตีพิมพ์พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างคณะทันตแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่พบว่าบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ impact factor สูงมักจะเป็นผลงานที่ตีพิมพ์จากวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่เรียนระดับบัณฑิตศึกษาในต่างประเทศ หรือเป็นผลงานจากการที่อาจารย์ลาไปทำงานวิจัย ณ ต่างประเทศ บทสรุป: การศึกษานี้พบว่าจำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติของคณะทันตแพทยศาสตร์ของรัฐ 8 แห่งมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่สถาบันนั้นก่อตั้งมา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดมีผลงานวิจัยระดับนานาชาติมากที่สุด ในขณะที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรซึ่งเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์ของรัฐที่ก่อตั้งหลังสุด มีผลงานวิจัยระดับนานาชาติน้อยที่สุด ผู้วิจัยหวังว่า คำแนะนำและคำวิพากษ์จากผลการศึกษานี้ จะเป็นประโยชน์เพื่อยกระดับพฤติกรรมการทำวิจัยของบุคลากรจากคณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทย เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ