SC-Article
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/102
Browse
Recent Submissions
Publication Open Access การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตอัลคาไลน์โปรตีเอสจาก alkalotolerant Bacillus sp. B12 และทำให้บริสุทธิ์บางส่วนเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในสารซักล้างทางการค้า(2564) พิมล จานงค์; Pimon Jamnong; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์. ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญในการผลิตอัลคาไลน์โปรตีเอสทางอุตสาหกรรมโดยเฉพาะสายพันธุ์ Bacillus จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า alkalotolerant Bacillus sp. B12 สามารถผลิตอัลคาไลน์โปรตีเอสได้สูงสุดที่ 0.44 ยูนิตต่อมิลลิลิตร งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตอัลคาไลน์โปรตีเอสจาก alkalotolerant Bacillus sp. B12 ให้ได้เพิ่มสูงขึ้น และ (2) ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำให้อัลคาไลน์โปรตีเอสบริสุทธิ์บางส่วนและความสามารถในการอยู่ร่วมกันได้กับสารซักล้างทางการค้า โดยทำการศึกษาอาหารและสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตและการทำงานของอัลคาไลน์โปรตีเอส ประกอบด้วยการศึกษาแหล่งคาร์บอนและไนโตรเจน และปริมาณโปตัสเซียมไนเตรท ความเหมาะสมของกรด-ด่าง อุณหภูมิ ความเร็วในการเขย่า ประเมินผลผลิตจากอัลคาไลน์โปรตีเอสรวม (CP) ขณะที่การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำให้อัลคาไลน์โปรตีเอสบริสุทธิ์บางส่วนและความสามารถในการอยู่ร่วมกันได้กับสารซักล้างทางการค้า ประกอบด้วยการศึกษาปริมาณเกลือแอมโมเนียมซัลเฟตอิ่มตัวที่เหมาะสมต่อการตกตะกอน CP ให้บริสุทธิ์บางส่วน ความเหมาะสมของกรด-ด่างและอุณหภูมิต่อการทำงานและเสถียรภาพของอัลคาไลน์โปรตีเอสบริสุทธิ์บางส่วน (PPP) ประเมินผลผลิตจาก PPP และความสามารถในการอยู่ร่วมกันได้กับสารซักล้างทางการค้า ทาการตรวจวัดกิจกรรมของโปรตีเอสเพื่อประเมินผลของการซักล้างต่อเสถียรภาพของ CP และ PPP จากผลการศึกษาพบว่าอาหารและสภาวะที่เหมาะสมมากที่สุดในการผลิตอัลคาไลน์โปรตีเอสให้ได้เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเพาะเลี้ยงในส่วนผสมกากถั่วเหลืองร้อยละ 0.5 โปตัสเซียมไนเตรทร้อยละ 0.5 พีเอช 9.0 เขย่าด้วยความเร็ว 200 รอบต่อนาที บ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง โดยเชื้อผลิตอัลคาไลน์โปรตีเอสได้สูงสุดที่ 0.63 ยูนิตต่อมิลลิลิตร ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาก่อนหน้านี้จะพบว่าเชื้อผลิตอัลคาไลน์โปรตีเอสได้เพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 1.4 เท่า สภาวะที่เหมาะสมมากที่สุดในการทำให้อัลคาไลน์โปรตีเอสบริสุทธิ์บางส่วน โดยการตกตะกอน CP ด้วยเกลือแอมโมเนียมซัลเฟตอิ่มตัวที่ร้อยละ 40-60 จะมีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น 6.9 เท่า พีเอชที่เหมาะสมต่อการทางานของ PPP อยู่ในช่วงพีเอช 8.0 ถึง 11.0 และมีเสถียรภาพต่อพีเอชในช่วง 8.0 ถึง 10.0 นาน 1 ชั่วโมง เมื่อใช้เคซีนเป็นสับสเตรท อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการทางานของ PPP อยู่ในช่วง 40 ถึง 70 องศาเซลเซียส และมีเสถียรภาพสูงในช่วงอุณหภูมิ 30 ถึง 50 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง ขณะที่ความสามารถในการอยู่ร่วมกันได้ของโปรตีเอสกับสารซักล้างทางการค้า พบว่า PPP ทำงานได้ดีในสารซักล้างทางการค้าชนิด Baby best, Baby mild, และ Essence ตามลาดับ แต่คงทนต่อสารซักล้างชนิด St’Luke’s และ Fineline ได้น้อย ขณะที่ CP ทำงานได้ดีในสารซักล้างทางการค้าทั้ง 5 ชนิด คือ Baby best, Baby mild, Essence, St’Luke’s และ Fineline ตามลำดับ และมีเสถียรภาพดีต่อสารซักล้างชนิด Baby best ความเข้มข้นร้อยละ 1.0 ถึง 5.0 Baby mild ร้อยละ 3.0 และ Essence ร้อยละ 1.0 ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะนา CP จาก alkalotolerant Bacillus sp. B12 ไปใช้เป็นส่วนผสมในสูตรสารซักล้างได้Publication Open Access Drug Use in the Elderly(2012) Amnuay Thithapandha; อำนวย ถิฐาพันธ์; Mahidol University. Faculty of Science. Department of PharmacologyMany changes in both pharmacokinetics and pharmacodynamics of several drugs have occurred as a result of physiologic alteration in the elderly. Decrease in total body water (due to decrease in muscle mass) and increase in total body fat affect volume of distribution. Thus, serum levels of water-soluble drugs such as lithium, aminoglycosides, alcohol and digoxin may go up due to decreased volume of distribution. Half-life of fat-soluble compounds such as diazepam, thiopental and trazadone may be increased because of the increase in body fat. The pharmacodynamics (what the drug dose to the body) of drugs may also be altered. For example, alcohol causes increase in drowsiness in older people more than in younger people at the same serum levels, and this is also true for fentanyl, diazepam, morphine and theophylline. In contrast, some drug effects are decreased, e.g., diminished heart rate (HR) response to isoproterenol and beta-blockers in the elderly.Publication Open Access Proliferative Myositis: A Comprehensive Review of 33 Case Reports(2019) Pannawat Trerattanavong; Chinnawut Suriyonplengsaeng; Jariya Waisayarat; ปัณณวัฒน์ ตรีรัตนวงศ์; ชินวุฒิ สุริยนเปล่งแสง; จริยา ไวศยารัทธ์; Mahidol University. Faculty of Science. Department of Anatomy; Mahidol University. Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. Department of PathologyProliferative myositis, a rare reactive intramuscular myofibroblastic proliferation, is not well recognized in clinical practice. It overgrows within a few weeks and expands the space between the muscle causing infiltrative-like border mimicking sarcoma. Knowledge of the natural history and pathology of proliferative myositis is essential in order to prevent misdiagnosis and unnecessary surgical resection. Thirty-three reported cases of proliferative myositis in PubMed and Web of Science databases from 2000 to 2018 had been reviewed with the main emphasis in clinical presentation, radiological and pathological findings, treatment, and prognosis. Both males (19 cases) and females (14 cases), predominantly the middle-aged and senior adults, were affected. Upper extremity and shoulder girdle were commonly involved. The chief complaint varied from either painful or painless mass. The traumatic injury was reported as a significant predisposing factor. The lesion typically proliferated and separated muscle bundle. Ultrasonography of the lesion revealed a characteristic “checkerboard pattern” on transverse view. The definite diagnosis was based on the demonstration of spindle-shaped fibroblast/myofibroblast admixed with giant ganglion-like cells in the biopsy. Immunohistochemistry may be useful diagnostic tool when the histopathology was inconclusive. Misdiagnosis of sarcoma occurred due to its rapid growth and infiltrative-like border. Watchful management without surgery was sufficient because of the potential for spontaneous regression. Thoroughly clinical examination and appropriate investigations, including imaging and histopathology, are crucial.Publication Open Access Bacterial Contamination in Raw Shucked Oysters in Shucking Houses and Retail Shops in Chon Buri Province,Thailand(2011) Chaweewun Intarakul; Suwanna Panutrakul; Sirichom Thungkao; ฉวีวรรณ อินทรกุล; สุวรรณา ภาณุตระกูล; ศิริโฉม ทุ่มเก้า; Burapha University. Faculty of Public Health; Burapha University. Faculty of Science. Department of Aquatic Science; Burapha University. Faculty of Science. Department of Microbiology; Mahidol University. Faculty of Science. Toxicology and Management of ChemicalsOysters may be cross-contaminated with bacteria from an unsanitary shucking process and sale. Hence the aims of this study were to compare bacterial contamination in samples of shucked oysters from aseptic shucking, in shucking houses, and in retail shops in Chon Buri Province, and to investigate bacterial contamination in samples from surface areas of equipment, the fresh water used in the shucking process, and oysters processed for sale. Analysis of variance was performed after a logarithmic transformation of bacterial counts was conducted. The results revealed that counts of total bacteria, Staphylococcus aureus, and fecal coliforms in aseptically shucked oysters, were significantly lower than those same measurements in freshly-shucked oysters (p < 0.01, = 0.01, < 0.01, respectively) and in packed-shucked oysters (p < 0.01, < 0.01, < 0.01, respectively). About 90-100% of the shucking equipment was contaminated with total bacterial counts higher than acceptable limits, both before and during use. Fresh water exceeded the standards for total bacteria and coliforms in all samples, both before and after washing. The 40% of unwashed and 50% of washed shucked oysters exceeded the standard for total bacteria. The results indicated that bacterial contamination in these samples may be a consequence of unsanitary cleaning, storage, and handling of equipment and fresh water, including improper temperature controls during oyster processing and sale.Publication Open Access มารู้จัก Nonparametric กันเถอะ(2562) ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์; Siritlak Suwanwonges; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์Publication Open Access Diversity and Habitat Use of Terrestrial Mammals in the Area Proposed for Water Resource Development in Khao Soi Dao Wildlife Sanctuary, Thailand(2021) Intanon Kolasartsanee; อินทนนท์ กลศาสตร์เสนี; Mahidol University. Faculty of Science. Department of BiologyThe Khlong Ta Liu dam construction plan was re-proposed to be constructed in the forest area of Khao Soi Dao Wildlife Sanctuary in the Ta-riu tributary without a biodiversity impact assessment. Five camera traps were mounted at the hotspot points for terrestrial mammals next to the main trail for 376 trap nights from the forest edge to the forest interior. Fifteen species of terrestrial mammals were found. Two species found were categorized as having endangered status, while seven have vulnerable status. Grazers and browsers, i.e., Sambar, Gaur, Northern Red Muntjac, and Asian Elephant were mostlydetected at the forest edge, while omnivores and frugivores, i.e., Wild Boar,Greater Hog Badger, and Northern Pig-tailed Macaque were largely detected inthe forest interior. Dhole should be a carnivore species specific to the forestedge while Clouded Leopard should be in the forest interior. The NormalizedDifference Vegetation Index (NDVI) may relate to species of terrestrialmammals detected at each habitat. Among the five habitats, three would bedestroyed upon construction of the dam, including the habitat with the highestdiversity of terrestrial mammals. The habitat that would likely be least impactedhad the lowest species richness of terrestrial mammals.Publication Open Access ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการจัดทำ มคอ.3 ตามหลัก OBE ของผู้ปฏิบัติงานสายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2563) สายพิณ ทองพัด; จันศนีย์ ฉิมงาม; Saipin Thongpad; Jansanee Chimngam; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์. งานการศึกษาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมและปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมในการจัดทำรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) ตามหลัก outcome-based education (OBE) ของผู้ปฏิบัติงานสายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปฏิบัติงานสายวิชาการ สังกัดภาควิชาคณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ พฤกษศาสตร์ และฟิสิกส์ จานวน 125 คน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบทดสอบ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าที (T-test) ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี least significant difference (LSD) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปฏิบัติงานสายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความพร้อมในการจัดทำ มคอ.3 ตามหลัก OBE ด้านทักษะในระดับมาก ด้านทัศนคติ และด้านความรู้ความเข้าใจ ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ที่มี เพศ ช่วงอายุ หรือภาระงานที่รับผิดชอบแตกต่างกัน จะมีความพร้อมในการจัดทำ มคอ.3 ตามหลัก OBE ด้านทักษะ ด้านทัศนคติ และด้านความรู้ความเข้าใจไม่แตกต่างกัน ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีอายุงาน ตำแหน่งทางวิชาการ หรือปัจจัยการรับรู้บางปัจจัยแตกต่างกัน จะมีความพร้อมด้านความรู้ความเข้าใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ ผู้ที่สังกัดภาควิชาแตกต่างกัน ยังมีความพร้อมด้านทักษะและด้านความรู้ความเข้าใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้วยPublication Open Access ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2563) ภัคจิรา เกตุบุตร; สายพิณ ทองพัด; Puckjira Gatebute; Saipin Thongpad; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์. งานการศึกษาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 (หลักสูตรไทย) ปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จานวนทั้งสิ้น 276 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญ จานวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และผ่านการทดลองใช้กับนักศึกษาจานวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบความเชื่อมั่น (Reliability) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในส่วนที่ 2 ด้านหลักสูตรและวิชาการ เท่ากับ 0.81 ด้านความภาคภูมิใจ เท่ากับ 0.79 ด้านเศรษฐกิจและสังคม เท่ากับ 0.79 ด้านความคาดหวังในอนาคต เท่ากับ 0.71 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าที (T-test) ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านหลักสูตรและวิชาการ ด้านความภาคภูมิใจ ด้านความคาดหวังในอนาคต มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านหลักสูตรและวิชาการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ เกรดเฉลี่ยสะสม รายได้รวมของครอบครัวต่อเดือนแตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 ทั้งด้านหลักสูตรและวิชาการ ด้านความภาคภูมิใจ ด้านเศรษฐกิจและสังคม และด้านความคาดหวังในอนาคตPublication Open Access Some Character of Discourse Analysis in ESP.(1993) Wiwat Puntai; วิวรรธน์ พันธัย; Mahidol University. Faculty of SciencePublication Open Access การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล(2560) คำรณ โชธนะโชติ; Khamron Chotanachote; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์การวิจัยหลักธรรมาภิบาลกับการบริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัยมหิดลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามข้อมูลทั่วไป เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 420 คน ใช้สูตรทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) โดยใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างเท่ากับ 0.05 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-Test) ในกรณีตัวแปรต้น 2 กลุ่ม และทดสอบค่าเอฟ (F-Test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป ผลการวิจัย พบว่า การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของมหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.76 คะแนน) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้าน คือ ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักนิติธรรม และด้านหลักความโปร่งใส อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.93, 3.88, 3.77, 3.70, 3.66 และ 3.63 คะแนน ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยมหิดลต่อการบริหารงานตาม หลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามข้อมูลทั่วไป พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลา ปฏิบัติงาน ตำแหน่งทางการบริหาร ตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่งชำนาญการ/งาน ประเภทของผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงานที่สังกัด ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05Publication Open Access “ห้องเรียนกลับด้าน: การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills)(2562) ฐานิตา ลิ่มวงศ์; ยุพาภรณ์ แสงฤทธิ์; Tanita Limvong; Yupaporn Saengri; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์. งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษาห้องเรียนกลับด้านการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ สำหรับศตวรรษที่ 21 ในยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) เทคโนโลยีสื่อสารเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตมนุษย์โลก รูปแบบการเรียนรู้สมัยใหม่ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้และนำเสนอบทเรียนของผู้เรียนจากการบรรยายหน้าชั้นเรียน เป็นการทบทวนเนื้อหาจากที่บ้าน ผ่านการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ผู้เรียนศึกษาเนื้อหา ผ่านสื่อเทคโนโลยีที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้ก่อนเข้าชั้นเรียน แล้วมาทำกิจกรรม และถามตอบปัญหาในชั้นเรียน ผู้สอนมีหน้าที่ออกแบบการสอน ช่วยเหลือแนะนำ (coaching) ประเมินผลการสอน ตอบสนองการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ สนใจใฝ่รู้ สร้างความรู้ ประยุกต์ความรู้ การลงมือปฏิบัติจริงและสร้างทักษะการเรียนรู้เพื่อการดำรงชีวิตสำหรับศตวรรษที่ 21Publication Open Access การเปรียบเทียบผลการเรียนและระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาระดับปริญญาโท ตามสถาบันเดิมก่อนเข้าศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2559) ฐานิตา ลิ่มวงศ์; ณัฐภพ บัวหลวง; สุภาภรณ์ ชูช่วย; Tanita Limvong; Nuttaphop Bualuang; Supaporn Choochuay; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนก่อนเข้าศึกษาและหลังสำเร็จการศึกษา ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา และวิเคราะห์แจกแจงความแตกต่างของผลการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาโท โดยแบ่งกลุ่มตามสถาบันการศึกษาเดิมเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) มหาวิทยาลัยมหิดล 2) มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติอื่น ๆ ยกเว้นมหาวิทยาลัยมหิดล และ 3) มหาวิทยาลัยอื่น ๆ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาโทที่สำเร็จการศึกษาแล้วจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 605 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องจากระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่า F-Test แบบ [One-Way ANOVA] โดยวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple Comparison) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนก่อนเข้าศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า ไม่แตกต่างกัน และหลังสำเร็จการศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลกับมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติไม่แตกต่างกัน และสูงกว่า มหาวิทยาลัยอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ผลการวิเคราะห์แจกแจงความแตกต่างของผลการเรียนหลังสำเร็จการศึกษา มีดังนี้ 2.1 นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล มีค่าเฉลี่ยผลการเรียนสูงสุด รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ตามลำดับ 2.2 นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ มีผลการเรียนแต่ละช่วงชั้นสูงขึ้น และเท่ากับผลการเรียนเข้า ส่วนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ มีผลการเรียนแต่ละช่วงชั้นสูงขึ้น เท่ากับหรือต่ำกว่า 2.3 นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ มีการกระจายค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อย และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ มีการกระจายค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมาก 2.4 ผลการเรียนหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทระดับ A, B+, B ส่วนใหญ่มาจากมหาวิทยาลัยมหิดล และระดับ C+, C ส่วนใหญ่มาจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ 3) ผลการเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ไม่แตกต่างกันPublication Open Access อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล(2562) อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา; คำรณ โชธนะโชติ; Aphisit Kunnaworapanya; Khamron Chotanachote; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์การวิจัยครั้งนี้มุ่งเพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล 2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล และ 4) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 362 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรทาโร ยามาเน (Taro Yamane) กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.05 และคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสัดส่วนของส่วนงาน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งระดับชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านปัจจัยจูงใจ และด้านปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับมาก ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล มีความผูกพันต่อองค์การโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านบรรทัดฐานทางสังคม และด้านความต่อเนื่อง ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน และสถานภาพของบุคลากรแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมาก (r = 0.758) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถร่วมพยากรณ์ได้ดี ประกอบด้วย ด้านความดีความชอบ (X14) ด้านลักษณะของเนื้องาน (X3) ด้านการยอมรับ (X2) ด้านเงื่อนไขการงาน (X10) ด้านสัมพันธภาพกับผู้บริหาร (X9) ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน (X12) ด้านการบริหารและการจัดการ (X7) ด้านความรับผิดชอบที่ได้รับ (X4) ด้านความยุติธรรม (X13) ด้านความก้าวหน้า (X5) และด้านสถานะทางสังคม (X6) ตามลำดับ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.855 ค่าประสิทธิภาพการทำนาย (R2) เท่ากับ 0.730 สามารถทำนายความผูกพันต่อองค์การ ได้ร้อยละ 72.2 มีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ ± 0.251 และมีค่าคงที่ของสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ เท่ากับ 0.762 โดยสามารถสร้างสมการในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y/ = 0.762 + 0.224 (X14) + 0.264 (X3) + 0.318 (X2) + 0.092 (X10) + -0.203 (X9) + 0.112 (X12) + 0.158 (X7) + -0.154 (X4) + 0.065 (X13) + -0.116 (X5) + 0.076 (X6) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z/ = 0.320 (X14) + 0.321 (X3) + 0.397 (X2) + 0.128 (X10) + -0.284 (X9) + 0.129 (X12) + 0.193 (X7) + -0.123 (X4) + 0.112 (X13) + -0.146 (X5) + 0.082 (X6)Publication Open Access สูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ชนิดโลวิอาย (Nepenthes lowii Hook.f.) โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช(2558) อัจฉรา เมืองครุธ; Atchara Muangkroot; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์. ภาควิชาพฤกษศาสตร์หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดโลวิอาย (Nepenthes lowii Hook.f.) เป็นพืชเฉพาะถิ่นของเกาะบอร์เนียว เนื่องจากหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ผลิตหม้อที่มีลักษณะสวยงามแปลกตา ทำให้มีการนำหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ออกมาจากธรรมชาติเพื่อผลทางการค้าจำนวนมาก ส่งผลให้หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ในธรรมชาติมีจำนวนลดลง ซึ่งสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (International Union for Conservation of Nature, IUCN) ได้ขึ้นบัญชีแดง (IUCN Red List of Threatened Species) ให้หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้อยู่ในสถานภาพของสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขยายพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดโลวิอายให้ได้จำนวนมากเพื่อการอนุรักษ์ ทั้งนี้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นวิธีการที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ให้ได้ปริมาณมากในระยะเวลาสั้น การศึกษานี้จึงทดลองสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดโลวิอายในหลอดทดลอง โดยนำยอดอ่อนปลอดเชื้อขนาด 1 เซนติเมตร มาเพาะเลี้ยงบนอาหารวุ้นสูตร Murashige and Skoog (MS) ที่มี N6-benzylaminopurine (BAP) เข้มข้น 0 - 5 มก./ล. พบว่าอาหารวุ้นสูตร MS ที่มี BAP เข้มข้น 2 มก./ล. สามารถชักนำให้ต้นอ่อนหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดโลวิอายเกิดยอดใหม่มากที่สุดเฉลี่ย 34 ยอด/ชิ้นพืช ภายใน 32 สัปดาห์Publication Metadata only Science Library works closely with Elsevier to support young research scientists at Mahidol University(2013) Ruchareka Wittawuttikul; Mahidol University. Faculty of SciencePublication Metadata only Big Data, Little Data, No Data: Scholarship in the Networked World (บทวิจารณ์หนังสือ)(2558) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล; Borgman, Christine L.; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์. งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุขPublication Metadata only การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ : ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต (2))(2556) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์Publication Metadata only การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ : ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต (1)(2556) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติโดยทั่วไปมักนิยมใช้เกณฑ์ในการพิจารณาหลายอย่างประกอบกันทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ บทความนี้เป็นการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลงานวิจัยตามหลักสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลก เครื่องมือสืบค้นและฐานข้อมูลที่ใช้ในการประเมินคุณภาพวารสารและผลงานวิจัย ตัวชี้วัดชนิดต่างๆ ได้แก่ ค่า Impact factor, Eigenfactor, SJR, SNIP, ควอไทล์ (Quartile score) และ h index จากฐานข้อมูลของบริษัท Thomson Reuters, Elsevier, Google และแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตัวชี้วัดอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Impact factor ของ Thomson Reuters ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิด รวมทั้งค่า Impact factor ของวารสารไทย นอกจากนี้ยังได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบทางธุรกิจของสำนักพิมพ์วารสารในปัจจุบัน สำนักพิมพ์วารสารเสรี (Open access: OA) ข้อควรระวังสำหรับสำนักพิมพ์ที่มีพฤติกรรมเข้าข่าย Predatory OA publishers แนวโน้มของวารสารวิชาการและวิธีประเมินคุณภาพรูปแบบใหม่ในยุคสื่อสังคมออนไลน์ที่อาจนำมาใช้ในอนาคต ทั้งนี้ เพื่อนำแนวคิดและวิธีการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยต่อไปPublication Metadata only Comparative analysis of international research publications from Thai dental faculties between 2000 and 2008(2010) Stitaya Sirisinha; Sittichai Koontongkaew; Ruchareka Wittayawuttikul; Mahidol University. Faculty of Science. Department of Microbiology; Thammasat University. Faculty of Dentistry; Mahidol University. Faculty of Science. Center of Scientific Information Resources and Stang Mongkolsuk LibraryObjective: To study and compare the international publications of research performance during the years 2000 and 2008 from the 8 dental faculties of state universities in Thailand. Materials and Methods: Data were generated using computerized search of the databases of publications listed in the reports from Institute of Scientific Information Web of Science (ISI-WOS), Scopus and PubMed databases. Results: A total number of publications from the years 2000 to 2008 from 8 dental faculties were as followings: Chulalongkorn University (CU) = 187; Mahidol University (MU) = 176; Chiang Mai University (CMU) = 106; Khon Kaen University (KKU) = 90; Prince of Songkla University (PSU) = 116; Thammasat University (TU) = 21; Srinakharinwirot Uni-versity (SWU) = 19; and Naresuan University (NU) – 6; Based on these data, the dental faculties could be roughly divided into 3 groups: CU and MU; CMU, KKU and the 3 recently established TU, SWU and NU. Although the combined number of publications from these 8 dental faculties did not change much from 2000 to 2005, there was a big jump in the number between the years 2005 and 2006 and this phenomenon was observed for all faculties. In general, the quality of publications, based on journal impact factors, did not vary considerably among these dental faculties. However, it was noted that the research with results leading to publications in journals with high impact factors were mostly performed by staff members who were on leave of absence for higher degrees and or oversea training. Conclusion: This comparative analysis of publications from the 8 Thai dental faculties between 2000-2008 provided unbiased appraisal of quantity and quality of research publications which roughly paralleled with the time when they were established, from the oldest Chulalongkorn University to the youngest Naresuan University. It is hoped that some of our suggestions and criticisms will be useful in upgrading research performance in Thai dental faculties, thus making them more competitive in national and international arena.Publication Metadata only Comparison of Using Scopus and PubMed for Compiling Publications with Siriraj Affiliation(2009) Sunisa Chatsurachai; Ruchareka Wittayawuttikul; Prapat Suriyaphol; Mahidol University. Faculty of Medicine, Siriraj Hospital. Bioinformatics and Data Management for Research Unit; Mahidol University. Faculty of Science. Center of Scientific Information Resources (CSIR)Objective: To compare the commercial citation database, Scopus, with the open access, PubMed, in compiling publications with Siriraj Affiliation. Methods: The affiliation term “Siriraj” was used as a keyword for searching in Scopus and PubMed. Two programs, developed in Python, were used to extract information from each database’s outputs. ISSN (International Standard Serial Number) was used to determine the overlapping sets of journal titles. Finally, articles comparison with multiple algorithms in the overlapping sets of journals was performed. Results: The total numbers of articles with the affiliation term “Siriraj” as retrieved on May 2, 2008 were 3,315 from Scopus and 2,040 from PubMed. Determined by ISSN, 48 journals (54 articles) were unique in PubMed, and 299 journals (484 articles) in Scopus. The number of common journal titles was 329. However, the numbers of articles in the common journal titles were different. There were 1,600 common articles (54%), 1,049 Scopus-unique articles (35%), and 315 PubMed-unique articles (11%). The combination of articles from both databases resulted in 3,502 articles, which were 369 articles (10.5%) increase from the total articles retrieved from Scopus alone. Conclusion: The Scopus database collected data from a wider range of journal titles and contained more articles especially from the earlier period (year 1967-1986). However, PubMed contained some unique journal titles and articles, which were not included in Scopus. This study showed that the searching affiliation term “Siriraj” in Scopus did not cover all publications with Siriraj Affiliation. The combination of articles retrieved from both databases resulted in more coverage.