Publication: นโยบายการคลังกับเงินบาทดิจิทัล: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
Issued Date
2566
Resource Type
Resource Version
Accepted Manuscript
Language
tha
File Type
application/pdf
ISSN
2350-983x
Journal Title
วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
Volume
10
Issue
1
Start Page
65
End Page
100
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2566), 65-100
Suggested Citation
รัฐศรัณย์ ธนไพศาลกิจ, สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ, Rhatsarun Tanapaisankit, Somboon Sirisunhirun นโยบายการคลังกับเงินบาทดิจิทัล: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2566), 65-100. 100. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109448
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
นโยบายการคลังกับเงินบาทดิจิทัล: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
Author's Affiliation
Abstract
บทความวิชาการนี้ใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Literature Review) โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมกับการใช้เงินบาทดิจิทัลที่อาจจะมาถึงในไม่ช้านี้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มทดสอบนำร่องการใช้เงินบาทดิจิทัลกับภาคประชาชน (Retail Central Bank Digital Currency: Retail CBDC) ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 กับสถาบันการเงิน 3 แห่งและกลุ่มตัวอย่าง 10,000 ราย รวมถึงการทดสอบในระดับนวัตกรรมว่าเงินบาทดิจิทัลสามารถทำได้มากกว่าแค่การใช้จ่ายในระดับพื้นฐาน หรือการโอนชำระค่าสินค้าและบริการมากน้อยเพียงใด ยิ่งไปกว่านั้น รัฐในการฐานะผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังก็ได้เตรียมความพร้อม สังเกตได้จากที่ได้มีพัฒนาการการปรับใช้สกุลเงินบาทผ่านระบบการชำระเงินของไทยที่ได้ปรับให้เข้ากับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ระบบพร้อมเพย์ที่เป็นการใช้สกุลเงินผ่านระบบภาคธนาคารของเอกชน หรือการใช้นโยบายการคลังผ่านแอพพลิเคชั่นเป๋าตังของธนาคารพาณิชย์ของรัฐ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้ศึกษาถึงการใช้สกุลเงินดิจิทัลในประเทศจีนที่ใช้ชื่อว่า หยวนดิจิทัล เพื่อที่จะนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้กับการดำเนินนโยบายการคลังในบริบทของสังคมไทยหากจะมีการใช้เงินบาทดิจิทัลในอนาคตอันใกล้นี้ หรือแต่ละภาคส่วนควรจะมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมืออย่างไร ทั้งนี้ ภาครัฐควรที่จะเตรียมความพร้อมทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล ธรรมาภิบาลข้อมูลโดยเฉพาะในด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การจัดตั้งหน่วยงานโดยเฉพาะเพื่อบริหารและยกระดับการจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และการสอดประสานนโยบายการเงินร่วมกับนโยบายการคลัง รวมถึงติดตามสถานการณ์การใช้สกุลเงินดิจิทัลในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถเตรียมใช้ประโยชน์จากสกุลบาทดิจิทัลในการดำเนินนโยบายการคลังได้ตรงจุด ลดการรั่วไหล มีประสิทธิผลและวัดผลได้ชัดเจนขึ้น รวมถึงเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
This academic article employed a systematic literature review method to examine the readiness of using the digital baht in Thailand in the near future. Since late 2022, the Bank of Thailand has been conducting a pilot test of the use of the digital baht (a.k.a., Retail Central Bank Digital Currency: Retail CBDC) in three financial institutions with a sample of 10,000 persons. Meanwhile, the Thai government, as an economic and fiscal policy maker, has been seen to elevate the nation’s digital currency and payments system by launching several digital payment platforms such as PromptPay system, Paotang digital wallet, and so forth. In addition, this article examined the evolution of China’s digital currency—the digital yuan—and the implementation of the digital yuan by the Chinese government and offered several recommendations for the Thai government to implement fiscal policies related to the digital baht efficiently and effectively, including building digital technology infrastructure; ensuring data governance especially data privacy; establishing a dedicated institution to administer and enhance the management of big data; harmonizing the use of monetary and fiscal policies; and monitoring the situation of using digital baht around the globe closely. This is to guarantee that we could utilize the digital baht correctly, reduce leakage, be more effectiveness, and be measurable for the context of Thailand.
This academic article employed a systematic literature review method to examine the readiness of using the digital baht in Thailand in the near future. Since late 2022, the Bank of Thailand has been conducting a pilot test of the use of the digital baht (a.k.a., Retail Central Bank Digital Currency: Retail CBDC) in three financial institutions with a sample of 10,000 persons. Meanwhile, the Thai government, as an economic and fiscal policy maker, has been seen to elevate the nation’s digital currency and payments system by launching several digital payment platforms such as PromptPay system, Paotang digital wallet, and so forth. In addition, this article examined the evolution of China’s digital currency—the digital yuan—and the implementation of the digital yuan by the Chinese government and offered several recommendations for the Thai government to implement fiscal policies related to the digital baht efficiently and effectively, including building digital technology infrastructure; ensuring data governance especially data privacy; establishing a dedicated institution to administer and enhance the management of big data; harmonizing the use of monetary and fiscal policies; and monitoring the situation of using digital baht around the globe closely. This is to guarantee that we could utilize the digital baht correctly, reduce leakage, be more effectiveness, and be measurable for the context of Thailand.