Publication:
แนวทางการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา

dc.contributor.authorสราวุธ แพพวก
dc.contributor.authorสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ
dc.contributor.authorSarawut Paepuak
dc.contributor.authorSomboon Sirisunhirun
dc.date.accessioned2025-04-17T03:00:09Z
dc.date.available2025-04-17T03:00:09Z
dc.date.created2568-04-17
dc.date.issued2566
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การดำเนินการในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามเกณฑ์การประเมิน UI GreenMetric 2) ปัญหาและอุปสรรค ในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล 3) ปัจจัยความสำเร็จ ในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กับผู้ให้ข้อมูลหลัก 11 ราย ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินการในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล มีการดำเนินงานที่สอดคล้องตามเกณฑ์การประเมิน UI GreenMetric ครบทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) การดำเนินการด้านสถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน 2) การดำเนินการด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การดำเนินการด้านการจัดการของเสีย 4) การดำเนินการด้านการจัดการน้ำ 5) การดำเนินการด้านการขนส่ง และ 6) การดำเนินการด้านการศึกษาและวิจัย สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่พบ ได้แก่ 1) การสร้างจิตสำนึกและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2) การจัดสรรงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ 3) การจัดเก็บข้อมูลที่มีความหลากหลาย 4) ขาดการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการดำเนินการ และ 5) การสร้างความผูกพันกับชุมชน ด้านปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ 1) ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน 2) การมีส่วนร่วมของทุกคน 3) การสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลอย่างมีประสิทธิผล 4) การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ และ 5) การสร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยอื่น ในตอนท้ายผู้วิจัยยังได้สังเคราะห์และพัฒนาตัวแบบ U-GREEN เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ
dc.description.abstractThis research aimed to study 1) the operations of Mahidol University (MU) in becoming a green university according to the UI GreenMetric; 2) challenges and obstacles that hinder MU in becoming a green university; 3) success factors that contribute MU to be a green university; and 4) guidelines for higher education institutions in Thailand in transforming their institutions into a green instituton. This research was a qualitative study using in-depth interviews and focus group discussions with 11 key informants. The research findings indicated that MU has embraced green university notions and practices and applied all of the 6 criteria of the UI GreenMetric (setting and infrastructure, energy and climate change, waste system, water resource, transportation, and education and research) to its daily operations. Furthermore, 5 challenges and obstacles have been identified, including (1) the need for raising awareness and promoting behavioral change among MU people, (2) budgetary discrepancies, (3) data management complexities, (4) a lack of innovation and technological integration, and (5) community engagement deficits. Key factors contributing to the success of MU’s green university transformation included (1) having clear policies and directions from university executives, (2) widespread participation, (3) effective communication and information dissemination, (4) effective public relations and campaigns, and (5) proactive networking with other universities. All things considered, this research synthesized and developed a “U-GREEN” model for higher education institutions in Thailand to promote the success of sustainable green university transformation in their institutions.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 10, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2566), 171-191
dc.identifier.issn2350-983x
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109556
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectมหาวิทยาลัยสีเขียว
dc.subjectมหาวิทยาลัยยั่งยืน
dc.subjectการพัฒนาอย่างยั่งยืน
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา
dc.subjectเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
dc.subjectUI
dc.subjectGreenMetric
dc.subjectgreen university
dc.subjectsustainable university
dc.subjecthigher education
dc.subjectinstitution
dc.subjectsustainable development goals (SDGs)
dc.subjectUI
dc.subjectGreenMetric
dc.titleแนวทางการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา
dc.title.alternativeGreen University Guidelines for Sustainable Development of Higher Education Institutions
dc.typeResearch Article
dcterms.accessRightsopen access
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/265225/178851
oaire.citation.endPage191
oaire.citation.issue2
oaire.citation.startPage171
oaire.citation.titleวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
oaire.citation.volume10
oaire.versionAccepted Manuscript
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ภาควิชาสังคมศาสตร์

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
sh-ar-somboon-2566-2.pdf
Size:
816.81 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections