Publication: ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2551
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-1678
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ฉบับพิเศษ (2551), 62-78
Suggested Citation
ภูษิตา อินทรประสงค์, ปนัดดา ปริยทฤฆ, สร้อยศิริ ทวีบูรณ์, Bhusita Intaraprasong ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ฉบับพิเศษ (2551), 62-78. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2487
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล
Alternative Title(s)
Quality of work life and happiness in the workplace strategies of Mahidol University’s personnel
Corresponding Author(s)
Abstract
การสำรวจแบบตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มาจาก หน่วยงานเข้าอบรมโครงการพัฒนานักบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 3 จำนวน 17 หน่วยงาน การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการบุคลากรสมัครใจและเต็มใจตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามจำนวน 492 ฉบับ ได้รับคืนรวม 390 ฉบับ (ร้อยละ 79.27) รวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 11-21 กันยายน 2549 หน่วยการวิเคราะห์อยู่ในระดับองค์การ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะงานอยู่ในระดับมากค่อนไปทางปานกลาง คุณลักษณะแต่ละด้านเมื่อคำนวณศักยภาพการจูงใจ (MPS) พบว่า คะแนนศักยภาพการจูงใจในการทำงานของบุคลากรอยู่ในระดับต่ำกว่าบรรทัดฐาน (MPS =114) ภาพรวมระดับความคิดเห็นต่อสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานค่อนไปทางต้องการเพื่อคงไว้ซึ่งการปฏิบัติงาน ความเครียดในสถานที่ทำงานอยู่ในระดับดีแต่ยังต้องการการปรับปรุง คุณภาพชีวิตในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง และความสุขอยู่ในระดับพอใจ
ข้อเสนอแนะ: ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความสุขของบุคลากรฯ กำหนดได้ 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพการจูงใจ ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานที่ดีต่อชีวิต ยุทธศาสตร์เพิ่มคุณภาพชีวิตและความสุขในการทำงาน และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมสู่ความสุขที่ยั่งยืน โดยวางกลยุทธ์หลัก 3 แนวกลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การป้องกัน กลยุทธ์การส่งเสริม กลยุทธ์การเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบ และกลยุทธ์การประสานงาน
The aim of this cross-sectional survey was to define quality of work life and happiness
development strategies of Mahidol University. The samples were personnel of Mahidol University
from 17 units who were trained during the administrative development project III of Mahidol University.
All personnel would answer the questionnaires voluntarily and intentionally. Overall, 390 (79.27%)
of 492 questionnaires were returned from 11-21 September 2006. The unit of analyses was in the
organisational level. The statistics such as percentage, mean, and standard deviation were performed
to describe the samples.
Results show many job characteristics were at moderate to high level. When measuring
motivation potential score (MPS) in each characteristic, the MPS was lower than standard norms
(MPS = 114). The overall opinion on workplace environment showed the requirement to maintain
a work life, and stress in workplace was at a good level but still needed improvement; quality of
life in work life was at a moderate level and the happiness was at a satisfactory level.
Recommendation: Four strategies of qualities of work life at workplace and happiness were
purposed: Strategies on strengthening motivation, creation and promotion of an environment in workplace to support a good work life, increasing quality of life and happiness during work life and
participation toward sustainable happiness with three main strategies on prevention, promotion,
monitoring and co-ordination.