Publication:
ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลระบบสัญญาณเตือนก่อนภาวะวิกฤตต่อความรู้ การปฏิบัติ และการตรวจพบภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงของพยาบาล

dc.contributor.authorปนัดดา บุบผามาโล
dc.contributor.authorอาภาวรรณ หนูคง
dc.contributor.authorสมสิริ รุ่งอมรรัตน์
dc.contributor.authorPanudda Bubphamalo
dc.contributor.authorApawan Nookong
dc.contributor.authorSomsiri Rungamornrat
dc.date.accessioned2024-06-28T16:14:57Z
dc.date.available2024-06-28T16:14:57Z
dc.date.created2567-06-28
dc.date.issued2566
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลระบบสัญญาณเตือนก่อนภาวะวิกฤตต่อความรู้ การปฏิบัติ และการตรวจพบภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงของพยาบาล รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดการศึกษาสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด จำนวน 2 แห่ง ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 35 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 23 คน กลุ่มควบคุม 12 คน และเวชระเบียนทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงจำนวน 210 ฉบับ กลุ่มควบคุมให้การพยาบาลแก่ทารกตามปกติ กลุ่มทดลองให้การพยาบาลทารกตามแนวปฏิบัติการพยาบาลระบบสัญญาณเตือนก่อนภาวะวิกฤต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาล แบบทดสอบความรู้เรื่องระบบสัญญาณเตือนก่อนภาวะวิกฤตในทารกแรกเกิด แบบบันทึกการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ และแบบบันทึกการตรวจพบภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมีข้อประเมินจากแบบประเมิน Whitt Neonatal Trigger Score ร่วมด้วย เปรียบเทียบความรู้ การปฏิบัติ และอัตราการตรวจพบความผิดปกติของทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติไคร์สแควร์ การทดสอบของฟิชเชอร์ และการทดสอบแมนวิทนีย์ ยู ผลการวิจัย: ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า คะแนนความรู้ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (U = 55.5, p = .004) ความต่างของคะแนนการปฏิบัติก่อนและหลังได้รับการอบรมของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (U = 851, p = .008) และกลุ่มทดลองรายงานอัตราการตรวจพบภาวะผิดปกติของทารกแรกเกิดกลุมเสี่ยง (ร้อยละ 87) ได้สูงกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 66.7) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\chi2 = 32.50, p < .001) สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาพบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลระบบเตือนก่อนภาวะวิกฤตสามารถเพิ่มความรู้และการปฏิบัติของพยาบาล และการตรวจพบภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงได้ ดังนั้น พยาบาลควรนำแนวปฏิบัติการพยาบาลระบบสัญญาณเตือนก่อนภาวะวิกฤตมาใช้ในการดูแลทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด และควรมีการจัดอบรมเรื่องระบบสัญญาณเตือนก่อนภาวะวิกฤตให้กับพยาบาลก่อนเข้าปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด
dc.description.abstractPurpose: To study the effects of nursing practice guidelines of early warning system on nurses’ knowledge, practice and abnormal signs detection in at-risk neonates. Design: Quasi-experimental research, the two-group pretest-posttest design. Methods: The sample comprised of 35 registered nurses operating in two neonatal wards, at a tertiary hospital in Bangkok. The nurses were divided into experimental (n = 23), and control (n = 12) groups. Two hundred and ten at-risk newborns’ charts were also recruited. Nurses in the control group provided routine nursing care while those in the experimental group provided nursing care in accordance with the early warning system nursing practice guidelines. Data were collected using the general information questionnaire for nurses, knowledge test of early warning system, practice record form, and form for identifying abnormal conditions in at-risk neonates which was combined with the Whitt Neonatal Trigger Score. Chi-square test, Fisher’s exact test and Mann-Whitney U test were utilized for data analysis. Main findings: Data analysis revealed that knowledge scores of the experimental group were significantly higher than that of the control group (U = 55.5, p = .004). The difference of practice scores before and after the program in the experimental group was significantly higher than that in the control group (U = 851, p = .008). The detection rate of abnormalities in at-risk neonates reported by the experimental group was significantly higher than that by the control group (gif.latex?\chi2 = 32.50, p < .001); that is, 87% and 66.7%, respectively. Conclusion and recommendations: Nursing practice guidelines of the early warning system could improve nurses’ knowledge of the warning system, performance in practicing the warning system, and detection of abnormal signs in at-risk neonates. As a result, nurses should implement guidelines when caring for at-risk neonates. Novice nurses should receive trainings for the early warning system before starting their practices in neonatal wards.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 41, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2566), 79-93
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99161
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง
dc.subjectสัญญาณเตือนก่อนภาวะวิกฤต
dc.subjectทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง สัญญาณเตือนก่อนภาวะวิกฤต ความรู้
dc.subjectแนวปฏิบัติการพยาบาล
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์
dc.subjectJournal of Nursing Science
dc.subjectNursing Science Journal of Thailand
dc.titleผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลระบบสัญญาณเตือนก่อนภาวะวิกฤตต่อความรู้ การปฏิบัติ และการตรวจพบภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงของพยาบาล
dc.title.alternativeEffects of Nursing Practice Guidelines of Early Warning System on Nurses’ Knowledge, Practice and Abnormal Signs Detection in At-risk Neonates
dc.typeArticle
dcterms.accessRightsopen access
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/261203
oaire.citation.endPage93
oaire.citation.issue3
oaire.citation.startPage79
oaire.citation.titleวารสารพยาบาลศาสตร์
oaire.citation.volume41
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
ns-ar-apawan-2566.pdf
Size:
2.19 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections