Publication: Effects of behavior responses on the vasovagal tonus index in healthy dogs.
Issued Date
2012
Resource Type
Language
eng
ISSN
0125-6491
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University
Bibliographic Citation
The Thai Journal of Veterinary Medicine. Vol.42, No.1 (Mar 2012), 59-65
Suggested Citation
Walasinee Moonarmart, Kripitch Suttummaporn, Thapana Jarutummsiri, Rungrote Osathanoniri Effects of behavior responses on the vasovagal tonus index in healthy dogs.. The Thai Journal of Veterinary Medicine. Vol.42, No.1 (Mar 2012), 59-65. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1674
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Effects of behavior responses on the vasovagal tonus index in healthy dogs.
Alternative Title(s)
ผลของพฤติกรรมต่อความแปรปรวนของอัตราการเต้นหัวใจในสุนัขปกติ
Abstract
The vasovagal tonus index (VVTI) is a time-domain analysis method of heart rate variability acquired over a short period. It is a useful measurement for evaluating severity and prognosis heart failure in dogs. Behavior responses can be used to evaluate stress in each dog individually. Stress during clinical examination may interfere with the VVTI since it influences the sympathetic nervous system. The aim of this study was to investigate the effect of behavior responses during clinical examination on the VVTI. Data set obtained from physical examination, systolic blood pressure measurement, electrocardiography, VVTI calculation, and video recording were collected from 50 healthy dogs. Behavior scores were analyzed from video recording and dogs were classified into three groups; group 1 (passive), group 2 (quite active), and group 3 (highly active). The results showed that the VVTI was not different between the three groups (p=0.77). Medians and interquartiles of the VVTI in group 1, 2, and 3 were 8.45 (6.86-9.05), 7.65 (6.82-8.94), and 7.26 (5.80-8.90) respectively. There was a negative correlation between VVTI and heart rate (Pearson’s r= -0.68, p<0.001). Therefore, the effect of behavior responses during clinical examination did not affect the VVTI measurement in healthy dogs.
Vasovagal tonus index (VVTI) เป็นวิธีการวัดความแปรปรวนของอัตราการเต้นหัวใจแบบขึ้นอยู่กับเวลาที่สามารถทำได้ในช่วงเวลาสั้นๆซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีประโยชน์ในการประเมินความรุนแรงและการพยากรณ์โรคหัวใจล้มเหลวในสุนัข การตอบสนองทางพฤติกรรมสามารถนำมาใช้ในการประเมินความเครียดในสุนัขได้ จุดประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่แสดงออกในระหว่างการตรวจร่างกายทางคลินิก โดยบันทึกวิดีโอตลอดระยะเวลาที่สุนัขอยู่ในห้องตรวจ เก็บข้อมูลเฉพาะตัวของสุนัขและข้อมูลจากการตรวจร่างกาย วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจและความดันเลือดและคำนวณค่า VVTI จากสุนัขสุขภาพดี 50 ตัว โดยแบ่งสุนัขออกเป็น 3 กลุ่ม ตามคะแนนพฤติกรรมที่ได้ วิเคราะห์จากวิดีโอ โดยกลุ่มที่ 1 เป็นสุนัขที่เงียบ (passive) กลุ่มที่ 2 เป็นสุนัขที่ค่อนข้างกระตือรือร้นและว่องไว (quite active) และกลุ่มที่3 เป็นสุนัขกระตือรือร้นและว่องไวมาก (highly active) ผลการศึกษาพบว่า VVTI ทั้งสามกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.77) ค่ามัธยฐานและค่า 25-75 เปอร์เซ็นไทล์ของ VVTI ในกลุ่ม 1 กลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 เป็นตามลำดับดังนี้ 8.45 (6.86-9.05), 7.65 (6.82-8.94) และ7.26 (5.80-8.90) พบความสัมพันธ์เชิงผกผันระหว่าง VVTI และอัตราการเต้นหัวใจ (Pearson's r= -0.68, p<0.001) ดังนั้นผลของการตอบสนองต่อพฤติกรรมในระหว่างการตรวจทางคลินิกไม่ได้มีผลกระทบต่อการวัด VVTI จากผลของการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะทำการตรวจทางคลินิกไม่ได้มีผลต่อค่า VVTI และสามารถนำค่า VVTI ไปใช้เป็นเครื่องมือประกอบการวินิจฉัย และพยากรณ์โรคหัวใจในสุนัขได้
Vasovagal tonus index (VVTI) เป็นวิธีการวัดความแปรปรวนของอัตราการเต้นหัวใจแบบขึ้นอยู่กับเวลาที่สามารถทำได้ในช่วงเวลาสั้นๆซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีประโยชน์ในการประเมินความรุนแรงและการพยากรณ์โรคหัวใจล้มเหลวในสุนัข การตอบสนองทางพฤติกรรมสามารถนำมาใช้ในการประเมินความเครียดในสุนัขได้ จุดประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่แสดงออกในระหว่างการตรวจร่างกายทางคลินิก โดยบันทึกวิดีโอตลอดระยะเวลาที่สุนัขอยู่ในห้องตรวจ เก็บข้อมูลเฉพาะตัวของสุนัขและข้อมูลจากการตรวจร่างกาย วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจและความดันเลือดและคำนวณค่า VVTI จากสุนัขสุขภาพดี 50 ตัว โดยแบ่งสุนัขออกเป็น 3 กลุ่ม ตามคะแนนพฤติกรรมที่ได้ วิเคราะห์จากวิดีโอ โดยกลุ่มที่ 1 เป็นสุนัขที่เงียบ (passive) กลุ่มที่ 2 เป็นสุนัขที่ค่อนข้างกระตือรือร้นและว่องไว (quite active) และกลุ่มที่3 เป็นสุนัขกระตือรือร้นและว่องไวมาก (highly active) ผลการศึกษาพบว่า VVTI ทั้งสามกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.77) ค่ามัธยฐานและค่า 25-75 เปอร์เซ็นไทล์ของ VVTI ในกลุ่ม 1 กลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 เป็นตามลำดับดังนี้ 8.45 (6.86-9.05), 7.65 (6.82-8.94) และ7.26 (5.80-8.90) พบความสัมพันธ์เชิงผกผันระหว่าง VVTI และอัตราการเต้นหัวใจ (Pearson's r= -0.68, p<0.001) ดังนั้นผลของการตอบสนองต่อพฤติกรรมในระหว่างการตรวจทางคลินิกไม่ได้มีผลกระทบต่อการวัด VVTI จากผลของการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะทำการตรวจทางคลินิกไม่ได้มีผลต่อค่า VVTI และสามารถนำค่า VVTI ไปใช้เป็นเครื่องมือประกอบการวินิจฉัย และพยากรณ์โรคหัวใจในสุนัขได้