Factors predicting adaptation of Thai families with mentally ill adolescents
dc.contributor.advisor | Yajai Sitthimongkol | |
dc.contributor.advisor | Sopin Sangon | |
dc.contributor.advisor | Kendall, Judy | |
dc.contributor.advisor | Dechavudh Nityasuddhi | |
dc.contributor.author | Siriorn Puasiri | |
dc.date.accessioned | 2023-09-04T08:30:16Z | |
dc.date.available | 2023-09-04T08:30:16Z | |
dc.date.copyright | 2010 | |
dc.date.created | 2010 | |
dc.date.issued | 2023 | |
dc.description.abstract | ผลการวิจัยที่ผ่านมาระบุว่า ครอบครัวของวัยรุ่นที่ป่วยด้วยโรคทางจิตเวช จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการมี ปัญหาสุขภาพจิต และการป่วยด้วยโรคทางจิตเวช เนื่องจากต้องเผชิญกับความเครียดในระดับสูง และขาดแหล่ง สนับสนุนช่วยเหลือในการเผชิญความเครียด วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มี อิทธิพลต่อการการปรับตัวของครอบครัวที่มีวัยรุ่นป่วยด้วยโรคทางจิตเวช โดยใช้กรอบแนวคิด The Resiliency Model of Family Stress, Adjustment, and Adaptation กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกครอบครัวของวัยรุ่นที่ป่วยด้วยโรคทางจิตเวช จำนวน 237 คนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด และตอบแบบสอบถามซึ่งได้แก่ แบบวัดความเครียดในครอบครัว แบบวัด ทักษะชีวิตของผู้ป่วย แบบวัดการทำหน้าที่ของครอบครัว แบบวัดการให้ความหมายต่อการเจ็บป่วยของสมาชิกใน ครอบครัว แบบวัดความเข้มแข็งของครอบครัว และแบบวัดการปรับตัวของครอบครัว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่าโมเดลเชิงโครงสร้างมีความสอดคล้องเชิงประจักษ์ (χ2 = 154.63, df = 136, p = 0.131, GFI = 0.94, AGFI = 0.91, RMSEA = 0.024) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนในการปรับตัวของ ครอบครัวที่มีวัยรุ่นป่วยด้วยโรคทางจิตเวชได้ 36 % ผลการศึกษาพบว่าความเครียดของครอบครัวมีอิทธิพลต่อการ ปรับตัวของครอบครัวโดยส่งผ่านการทำหน้าที่ของครอบครัว และการให้ความหมายต่อการเจ็บป่วยในครอบครัว นอกจากนี้ความเครียดจากทักษะชีวิตของผู้ป่วยมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของครอบครัวโดยส่งผ่านการทำหน้าที่ของ ครอบครัว ซึ่งให้ข้อเสนอแนะว่าควรมีการส่งเสริมการทำหน้าที่ของครอบครัว และการให้ความหมายต่อการ เจ็บป่วยในครอบครัวเพื่อช่วยลดอิทธิพลของความเครียดในครอบครัว และความเครียดจากทักษะชีวิตของผู้ป่วย ที่ จะช่วยส่งเสริมการปรับตัวของครอบครัวที่มีวัยรุ่นป่วยด้วยโรคทางจิตเวชได้ ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เกิดความเข้าใจในบทบาทของสถานการณ์ความเครียดในครอบครัว ทักษะ ชีวิตของผู้ป่วย การทำหน้าที่ของครอบครัว การให้ความหมายต่อการเจ็บป่วยในครอบครัว ความเข้มแข็งของ ครอบครัวต่อการปรับตัวของครอบครัวที่มีวัยรุ่นป่วยด้วยโรคทางจิตเวช นอกจากนี้ยังช่วยให้พยาบาลจิตเวชมีความ เข้าใจว่าความเครียดจากการดูแลวัยรุ่นที่ป่วยด้วยโรคทางจิตเวชมีผลต่อครอบครัวอย่างไรและจะสามารถส่งเสริมการ ปรับตัวของครอบครัวได้อย่างไร ดังนั้นการวิจัยต่อไปจึงควรเป็นการพัฒนาโปรแกรมที่นำไปสู่การลดความเครียด จากทักษะชีวิตของผู้ป่วย การเพิ่มการทำหน้าที่ของครอบครัวและการให้ความหมายต่อการเจ็บป่วยในครอบครัวที่ เป็นทางบวก เพื่อส่งเสริมการปรับตัวของครอบครัวที่มีวัยรุ่นป่วยด้วยโรคทางจิตเวช | |
dc.format.extent | x, 144 leaves | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | Thesis (Ph.D. (Nursing))--Mahidol University, 2010 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89270 | |
dc.language.iso | eng | |
dc.publisher | Mahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center | |
dc.rights.holder | Mahidol University | |
dc.subject | Adaptation, Psychological | |
dc.subject | Adolescence | |
dc.subject | Family | |
dc.subject | Mental Disorders | |
dc.subject | Adaptability (Psychology) | |
dc.subject | Families -- Psychological aspects. | |
dc.title | Factors predicting adaptation of Thai families with mentally ill adolescents | |
dc.title.alternative | ปัจจัยทำนายการปรับตัวของครอบครัวไทยที่มีวัยรุ่นป่วยด้วยโรคทางจิตเวช | |
dcterms.accessRights | restricted access | |
mu.link.internalLink | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2553/cd448/4637611.pdf | |
thesis.degree.department | Faculty of Nursing | |
thesis.degree.discipline | Nursing | |
thesis.degree.grantor | Mahidol University | |
thesis.degree.level | Doctoral Degree | |
thesis.degree.name | Doctor of Philosophy |