แบบแผนพฤติกรรมการแสวงหาการบริการสุขภาพของช่างเสริมสวยที่เป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากการทำงาน

dc.contributor.advisorพิมพวัลย์ บุญมงคล
dc.contributor.advisorศิริวรรณ ไกรสุรพงศ์
dc.contributor.advisorเพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์
dc.contributor.authorธนภรณ์ บริคุต
dc.date.accessioned2024-01-15T01:45:36Z
dc.date.available2024-01-15T01:45:36Z
dc.date.copyright2560
dc.date.created2567
dc.date.issued2560
dc.descriptionสังคมศาสตร์และสุขภาพ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
dc.description.abstractวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม แบบแผนพฤติกรรมการแสวงหาการรักษาเยียวยาและ ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของช่างเสริมสวยที่เจ็บป่วยด้วยโรคผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรังเนื่องจากการทำงาน วิธีการศึกษาวิจัยเป็นแบบผสมผสาน เชิงปริมาณและคุณภาพ พื้นที่การวิจัยในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากการทำงานช่างเสริมสวยที่เข้ารับการรักษาที่สถาบันโรคผิวหนังวิธีการเก็บข้อมูลแบ่งเป็นการตอบแบบสอบถามปลายปิดและสัมภาษณ์เจาะลึกกับกลุ่มเป้าหมาย 84 และ 5 คน ตามลำดับทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ ค่าสถิติ ร้อยละและ Chi-square ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยใช้แนวคิดการอธิบายความเจ็บป่วยและระบบสุขภาพตามแนวความคิดของไคลน์ แมน ผลการวิจัย พบผู้ป่วยเป็นเพศหญิง 75 คน (89.3%), เพศชาย 2 คน (2.4%) และข้ามเพศ 7 คน (8.3%) อายุเฉลี่ย 42.67 ปี พบว่าเกิดผื่นผิวหนังอักเสบมากที่มือทั้ง 2 ข้าง (67.9%) ลักษณะอาการผื่นคัน (76.2%) อธิบายสาเหตุการเกิดโรคโดยส่วนใหญ่เชื่อว่าเกิดจากการแพ้สารเคมีมากที่สุด (83.3%) แบบแผนพฤติกรรมการแสวงหาการดูแลสุขภาพที่พบมี 4 รูปแบบ คือ 1) ใช้ระบบการดูแลสุขภาพสามัญชนร่วมกับวิชาชีพ ร้อยละ 44 2) ใช้ระบบการดูแลสุขภาพวิชาชีพอย่างเดียว ร้อยละ 48.8 3) ใช้ระบบการดูแลสุขภาพวิชาชีพร่วมกับส่วนพื้นบ้าน ร้อยละ 6 และ 4) ใช้ระบบการดูแลสุขภาพทั้งสามส่วน ร้อยละ 1.2 จากการวิจัยเชิงปริมาณ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแบบแผนพฤติกรรมการแสวงหาการบริการสุขภาพคือ ปัจจัยด้านวัฒนธรรม ด้านการรับรู้อาการของโรค คือ อาการคัน (P-value=0.007) และปัจจัยทางด้านสังคม คือ ตำแหน่งการทำงาน (P-value=0.022) ที่พบมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการวิเคราะห์เชิงคุณภาพพบว่า ปัจจัยด้านเวลาชั่วโมงการทำงาน การไม่มีสวัสดิการด้านการรักษา เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อแบบแผนการแสวงหาการรักษา ทำให้มีแบบแผนหลักโดยเริ่มต้นจากการซื้อยารักษาเอง รักษาโดยใช้สมุนไพร รักษาที่คลินิกใกล้บ้าน และท้ายที่สุดเข้ารับรักษาที่สถาบันโรคผิวหนัง ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของช่างเสริมสวยที่เป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบจะมีผลกระทบต่อด้านจิตใจมากที่สุด สาเหตุจากการเกิดภาวะทุกข์ทรมาน จากโรคที่รักษาไม่หายขาด และการมีรอยโรคที่ทำให้รู้สึกอับอายเมื่อเข้าสังคม โดยกลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่าโรคผื่นผิวหนังมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตตนในระดับปานกลาง ร้อยละ 34.5%
dc.description.abstractThis research explained social and cultural factors affecting patterns of health seeking behavior and impacts on the lifestyle of hairdressers who suffer from chronic dermatitis. The research was both a quantitative and qualitative. Study whose target group comprised hairdressers seeking treatment for their occupational chronic dermatitis at the Institute of Dermatology. The research collected data using questionnaire survey on 84 patients and in-depth interviews with 5 patients. On quantitative data analysis, means, percentages and chi-square tests were used while for the qualitative data analysis, content analysis and the Kleinman's concepts of explanatory model of illness and health system were utilized. The results, from the informants, showed that there were 75 women (89.3%), 2 males (2.4%) and 7 transgendered individual (8.3%). The mean age was 42.67 years old, the percentage of patients with rashes was 76.2%, the most common cause was from chemical allergy (83.3%) and there were four patterns of health seeking behaviors: 1) Popular sector and professional sector 44%, 2) only professional sector 48.8%, 3) folk sector and professional sector 6%, and 4) use all three health care systems 1.2%. From the quantitative research, factors which were significantly related to the pattern of health seeking behaviors were the cultural factor on the perception of itching (P-value=0.007) and the social factor about position of work (P-value=0.022). From the qualitative data, social contextual factors which influence the pattern of health seeking behavior were working and office hours as well as the lack of health insurance. The disease had a profound impact on the life of the hairdressers including suffering from severe chronic pain, shame and self-stigmatization during social interaction in the community and workplace. The studied sample of patients perceived a moderate effect of chronic dermatitis on to their quality of everyday life (34.5%)
dc.format.extentก-ญ, 134 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์และสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92721
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectโรคผื่นสัมผัส
dc.subjectช่างเสริมสวย -- สุขภาพและอนามัย
dc.subjectพฤติกรรมการแสวงหาความช่วยเหลือ
dc.titleแบบแผนพฤติกรรมการแสวงหาการบริการสุขภาพของช่างเสริมสวยที่เป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากการทำงาน
dc.title.alternativePatterns of health seeking behavior of hairdressers with chronic dermatitis
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd522/5737962.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineสังคมศาสตร์และสุขภาพ
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files