Foreign tourist fraudulent activities in Thailand : case study of jewelry business
Issued Date
2023
Copyright Date
2015
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x ,134 leaves
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2015
Suggested Citation
Puttidej Bunkrapue Foreign tourist fraudulent activities in Thailand : case study of jewelry business. Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2015. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89729
Title
Foreign tourist fraudulent activities in Thailand : case study of jewelry business
Alternative Title(s)
รูปแบบและวิธีการหลอกลวงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ : ศึกษากรณีอัญมณีและเครื่องประดับ
Author(s)
Abstract
The research on foreign tourist fraudulent activities in Thailand that focused on jewelry business is intended to explore problems and swindle schemes relating to tricking foreign tourist into purchasing jewelry, crime patterns, including the prosecution procedures as well as examine guidelines for crime prevention and suppression. The study was conducted by collecting qualitative data and selecting samples through Purpose Sampling. Total 21 samples that had been selected among experienced specialists and quite familiar with foreign tourist fraudulent for at least 5 years were divided into 7 groups, 3 samples for each group. It was found in this study that problems on tricking foreign tourists into purchasing jewelry tended to increase the severity, but the numbers of Unreported Crime seemed much lower than the factual complaint statistic. Key factors involving committing crimes were (1) Official corruption (2) Limitations and loopholes in enforcing laws and prosecuting cases and (3) commitment to solving problems. Quite often, the stores involving fraudulent were small businesses that had been collaborated with the swindlers. For examples, the public bus drivers, tour guides or tour leaders were those picking victims from foreign tourists who travelled alone. Fraudulent was the whole gang movement, which evolved from the practice of few store operators with the public bus drivers to the sophisticated operation as the network and widespread in different locations. Fraudulent was executed with advance planning and appropriated division of labor and benefits in advance. Furthermore, it was found that the store operators engaged similar approach as the tour company by offering incentives for those who could bring foreign tourist to shop at their stores. The problems encountered while attempting to prosecute the offenders were the statutory interpretation, collection of evidence as well as time limitation on the tourists' staying whereas they refused to pursue the case, so instead the officer in charge intervened as the meditator. As a result, it opened a channel for corruption between the officer and store operator who wanted to avoid prosecution and refund for merchandise. For crime prevention and suppression, this research recommends cooperation of all sectors to solve problems by disseminating knowledge and providing adequate information for foreign tourists. Meanwhile, surveillance should be set up to prevent crime and prosecute the store entrepreneurs and those in favor of crimes.
การวิจัยเรื่องรูปแบบและวิธีการหลอกลวงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ศึกษากรณีอัญมณีและเครื่องประดับ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาวิธีการหลอกลวงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ รูปแบบวิธีการในการกระทำความผิด รวมถึงวิธีการดำเนินคดี ตลอดจนแนวทางในการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิด ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหลอกลวงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ซื้ออัญมณีและเครื่องประดับมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 7 กลุ่มๆ ละ 3 ราย รวมทั้งสิ้น 21 ราย ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการหลอกลวงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ซื้ออัญมณีและเครื่องประดับมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น สถิติการร้องเรียนมีจำนวนต่ำกว่าข้อเท็จจริง (Unreported Crime) ที่เกิดขึ้นมาก ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุให้เกิดการกระทำความผิด ประกอบด้วย (1) การทุจริตของเจ้าหน้าที่ (2) ข้อจำกัดในการบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินคดี และ (3) ความจริงจังต่อเนื่องในการแก้ปัญหา โดยร้านค้าที่มีพฤติกรรมการหลอกลวงจะเป็นร้านที่มีขนาดเล็ก ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้ร่วมกระทำความผิด ได้แก่ ผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะและมัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยว คัดเลือกเหยื่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาด้วย ตนเอง มีรูปแบบ วิธีการกระทำความผิดอยู่ในรูปขบวนการ จากเดิมมีเพียงผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะ ปัจจุบันดำเนินการเป็นเครือข่าย กระจายอยู่ตามสถานที่ต่างๆ มีการวางแผน แบ่งงานและผลประโยชน์ก่อนที่จะลงมือ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ประกอบการร้านค้าได้ใช้รูปแบบวิธีการในลักษณะเดียวกันกับบริษัทจัดนำเที่ยว โดยเสนอค่าตอบแทนให้กรณีสามารถนำกลุ่มนักท่องเที่ยวมาที่ร้านค้าได้การดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ประสบปัญหาด้านการตีความตามข้อกฎหมาย การรวบรวมพยานหลักฐาน ประกอบกับนักท่องเที่ยวมีระยะเวลาที่จำกัดและไม่ประสงค์ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด เจ้าหน้าที่จึงเลือกใช้วิธีการไกล่เกลี่ยเพื่อแก้ไขปัญหา ทำให้เกิดช่องทางการทุจริตระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการร้านค้า ซึ่งไม่ต้องการให้มีการดำเนินคดีและคืนเงินค่าสินค้า สำหรับการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนบูรณาการในการปฏิบัติ ร่วมแก้ไขปัญหาโดยการให้ความรู้และข้อมูลที่เพียงพอแก่นักท่องเที่ยว ตรวจสอบ เฝ้าระวังการกระทำความผิด และดำเนินคดีอาญากับผู้ประกอบการร้านค้าและผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
การวิจัยเรื่องรูปแบบและวิธีการหลอกลวงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ศึกษากรณีอัญมณีและเครื่องประดับ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาวิธีการหลอกลวงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ รูปแบบวิธีการในการกระทำความผิด รวมถึงวิธีการดำเนินคดี ตลอดจนแนวทางในการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิด ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหลอกลวงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ซื้ออัญมณีและเครื่องประดับมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 7 กลุ่มๆ ละ 3 ราย รวมทั้งสิ้น 21 ราย ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการหลอกลวงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ซื้ออัญมณีและเครื่องประดับมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น สถิติการร้องเรียนมีจำนวนต่ำกว่าข้อเท็จจริง (Unreported Crime) ที่เกิดขึ้นมาก ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุให้เกิดการกระทำความผิด ประกอบด้วย (1) การทุจริตของเจ้าหน้าที่ (2) ข้อจำกัดในการบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินคดี และ (3) ความจริงจังต่อเนื่องในการแก้ปัญหา โดยร้านค้าที่มีพฤติกรรมการหลอกลวงจะเป็นร้านที่มีขนาดเล็ก ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้ร่วมกระทำความผิด ได้แก่ ผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะและมัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยว คัดเลือกเหยื่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาด้วย ตนเอง มีรูปแบบ วิธีการกระทำความผิดอยู่ในรูปขบวนการ จากเดิมมีเพียงผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะ ปัจจุบันดำเนินการเป็นเครือข่าย กระจายอยู่ตามสถานที่ต่างๆ มีการวางแผน แบ่งงานและผลประโยชน์ก่อนที่จะลงมือ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ประกอบการร้านค้าได้ใช้รูปแบบวิธีการในลักษณะเดียวกันกับบริษัทจัดนำเที่ยว โดยเสนอค่าตอบแทนให้กรณีสามารถนำกลุ่มนักท่องเที่ยวมาที่ร้านค้าได้การดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ประสบปัญหาด้านการตีความตามข้อกฎหมาย การรวบรวมพยานหลักฐาน ประกอบกับนักท่องเที่ยวมีระยะเวลาที่จำกัดและไม่ประสงค์ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด เจ้าหน้าที่จึงเลือกใช้วิธีการไกล่เกลี่ยเพื่อแก้ไขปัญหา ทำให้เกิดช่องทางการทุจริตระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการร้านค้า ซึ่งไม่ต้องการให้มีการดำเนินคดีและคืนเงินค่าสินค้า สำหรับการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนบูรณาการในการปฏิบัติ ร่วมแก้ไขปัญหาโดยการให้ความรู้และข้อมูลที่เพียงพอแก่นักท่องเที่ยว ตรวจสอบ เฝ้าระวังการกระทำความผิด และดำเนินคดีอาญากับผู้ประกอบการร้านค้าและผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Social Sciences and Humanities
Degree Discipline
Criminology, Justice Administration and Society
Degree Grantor(s)
Mahidol University