มุมมองเชิงบวกในชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 160 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
ปาริฉัตร ดอกไม้ มุมมองเชิงบวกในชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93551
Title
มุมมองเชิงบวกในชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง
Alternative Title(s)
Positive perspectives in the lives of spinal cord injured patients
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองเชิงบวกในชีวิต (ชีวิตอันปีติ ชีวิตที่มีความดีงามและชีวิตที่มีคุณค่า มีความหมาย) ของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยบาดเจ็บทางกระดูกสันหลังและมีภาวะอัมพาต โรงพยาบาลศิริราช โดยใช้กรอบแนวคิดจากสำนักคิดจิตวิทยาเชิงบวก ด้วยวิธีการศึกษารายกรณีกับผู้ป่วย 8 ราย โดยมีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม ข้อค้นพบของการวิจัยครั้งนี้พบว่า ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังมีชีวิตอันปีติในอดีต โดยเมื่อวัยเด็ก ความปีติเกิดจากการได้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ได้เล่นสนุกสนานท่ามกลางธรรมชาติ การได้อยู่รวมกันเป็นครอบครัว ชีวิตอันปีติในวัยทำงาน และสร้างครอบครัว เป็นปีติจากความสำเร็จในด้านการงาน ปีติจากการได้เห็นลูกเติบโตก้าวหน้า/ประสบความสำเร็จ ส่วนความปีติในยามสูงวัย เป็นความปีติจากการที่เห็นลูกได้ดี สำหรับชีวิตอันปีติในปัจจุบัน ภายหลังจากอุบัติเหตุพบว่า แม้ความปีติจะไม่เกิดขึ้นในช่วงแรก มีเพียงความโกรธแค้น และอยากฆ่าตัวตาย แต่หลังจากนั้น ภาวะปีติก็เกิดขึ้นได้ โดยเป็นความปีติที่เกิดจากการยอมรับได้ อันมีสาเหตุมาจากการมีผู้อื่นให้กาลังใจ ความเชื่อทางศาสนา ความภูมิใจกับการมีชีวิตรอด ส่วนชีวิตอันปีติในอนาคต เกิดจากการคาดหวังว่าจะมีคนดูแล การมองอนาคตในเชิงบวกด้วยการได้กลับไปอยู่บ้าน และคาดหวังว่าจะกลับไปประกอบอาชีพได้ ชีวิตอันปีติล้วนเกี่ยวโยงกับการมีชีวิตที่ดีงาม โดยมาจากการมีครอบครัวที่ดีแม้จะไม่ได้ร่ารวย รวมไปถึงการมีมุมมองความคิดเปลี่ยนไปในแบบที่ดีขึ้น ส่วนการมีชีวิตที่มีคุณค่ามีความหมาย เป็นการมองเห็นศักยภาพที่มีอยู่ในตนเอง ว่าตนยังเป็นที่พึ่งของคนในครอบครัวได้ และตนยังคงบทบาท (เช่น พ่อ สามี) ของสมาชิกในครอบครัวอยู่ จากข้อค้นพบในการวิจัยครั้งนี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่า แม้จะเป็นผู้บาดเจ็บไขสันหลังที่มีภาวะอัมพาต แต่ด้วยกระบวนการทางความคิดและการปรับตัวของปัจเจก ผู้ป่วยก็จะมีชีวิตอันมีความสุขได้ อย่างไรก็ตามสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมทั้งจากครอบครัว สถานรักษาพยาบาลและรัฐที่ได้มีการจัดการอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการให้การฝึกทักษะแก่ผู้ดูแลหลักและผู้ป่วยเองย่อมมีความสำคัญยิ่งต่อการเกิดมุมมองเชิงบวกในผู้ป่วย
Description
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล