Public service improvement of industrial waste management and new management approach through net-working for sustainable development
Issued Date
2024
Copyright Date
2018
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xvi, 437 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (D.P.A. (Public Policy and Public Management))--Mahidol University, 2018
Suggested Citation
Peerapong Nissapokin Public service improvement of industrial waste management and new management approach through net-working for sustainable development. Thesis (D.P.A. (Public Policy and Public Management))--Mahidol University, 2018. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92241
Title
Public service improvement of industrial waste management and new management approach through net-working for sustainable development
Alternative Title(s)
การปรับปรุงการให้บริการสาธารณะของรัฐในการทำงานเชิงเครือข่ายและแนวทางใหม่ในการจัดการกากอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริม นโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน
Author(s)
Abstract
This research is aimed at three main objectives, (1) to study the industrial waste management measurements of advanced countries applying the industrial wastes management principles at the international level, and make a comparison with the domestic standard measurements for the industrial waste management in Thailand, (2) to study the situation in industrial waste management and the problems in the net-working approach of the government sectors and private sectors (factories), both internal and external industrial estate, and (3) to develop a new way of government public service of industrial wastes management among concerned organizations for increasing the efficiency and effectiveness of industrial waste management for continuous sustainable development. The research work is a qualitative -lead quantitative integration kind. The tools of research were in-depth interview, questionnaire and focus group. The used statistics for data analysis are the percentage, mean, and standard deviation. Findings; 1. It was found that the 10 international principles are consisted of 1) Reduction 2) Re-use 3) Recycle 4) Treatment 5) Disposal 6) Sorting 7) Recovery 8) Prevention 9) Storage 10) Energy and material conservation. That not all of those 10 international principles aforementioned were applied for assessment from the private sectors (factories), both inside and outside the industrial estate, gave most use of disposal, and gave least recovery, or showing that it was not emphasized at the main cause or at the original as in many other advanced or progressed industrial countries in the International Standard Level are doing. 2. The Efficiency and effectiveness of the government sectors in wastes management of both inside and outside of the industrial estate, in the Samut Sakhorn Province, including the participation, cooperation and collaboration from the community were at the moderate level, this indicated that the industrial waste management of the government sectors is still needed highly to improve for higher efficiency and effectiveness of services. 3. The new trends in improvement of public service by the government for promoting the net-working approach management should be in setting up or creating committees that work in each zone, district or provincial level, including integration of private sectors (factories), by support from the government, for collection and accumulation of industrial wastes in each of the provincial zones and areas. The project should begin in Samut Sakhon Province.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรฐานการจัดการกากอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับอุตสาหกรรมก้าวหน้าและในระดับสากลเปรียบเทียบกับมาตรฐานการดำเนินการดังกล่าวของประเทศไทย สถานภาพและ ปัญหาการจัดการกากอุตสาหกรรมการดำเนินงานเชิงเครือข่ายของหน่วยงานราชการและภาคเอกชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมและนอกนิคมอุตสาหกรรม และเพื่อพัฒนาแนวทางใหม่ในการปรับปรุงการให้บริการการจัดการกากอุตสาหกรรมของรัฐเชิงเครือข่ายในอันที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการกากอุตสาหกรรมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน (โรงงาน)และภาคประชาชนที่ทำงานร่วมกันหรือเกี่ยวข้องกันเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน การวิจัยใช้วิธีการแบบผสมเชิงคุณภาพนำปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ตามหลัก 10 ประการ ที่ประกอบไปด้วย 1)การลดลงของการเกิดกากอุตสาหกรรม 2)การนำกลับมาใช้ซ้ำ 3)การนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก 4)การบำบัด 5)การกำจัด 6)การคัดแยก 7)การนำกลับคืนมาใหม่ 8)การป้องกัน 9)การเก็บรักษา 10)การอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งศึกษาทั้งภายในและนอกนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร โดยภาพรวมพบว่ามีการนิยมใช้ในประเทศไทยไม่ครบทั้ง 10 ประการ โดยการประเมินของภาคเอกชน(โรงงาน) ทั้งภายนอกและภายในนิคมอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการกำจัดมากที่สุดและการนำกลับคืนมาใหม่น้อยที่สุด สะท้อนให้เห็นว่าการจัดการกากอุตสาหกรรมไม่ได้เน้นการแก้ปัญหาจากจุดเริ่มต้นดังที่ประเทศระดับอุตสาหกรรมก้าวหน้าและในระดับสากลดำเนินการอยู่ 2. ประสิทธิผลการดำเนินงานของภาครัฐในการจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งภายนอกและภายในนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง แสดงให้เห็นว่า การจัดการของภาครัฐยังต้องปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้สูงขึ้น 3. แนวทางใหม่ในการปรับปรุงการให้บริการของรัฐเพื่อส่งเสริมการจัดการเชิงเครือข่ายควรเป็นการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการกากอุตสาหกรรมประจำจังหวัดและการจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานของภาคเอกชน (โรงงาน)โดยการ สนับสนุนของทางราชการเพื่อให้เกิดการรวบรวมกากอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดต่างๆ โดยอาจเริ่มที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นแห่งแรก
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรฐานการจัดการกากอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับอุตสาหกรรมก้าวหน้าและในระดับสากลเปรียบเทียบกับมาตรฐานการดำเนินการดังกล่าวของประเทศไทย สถานภาพและ ปัญหาการจัดการกากอุตสาหกรรมการดำเนินงานเชิงเครือข่ายของหน่วยงานราชการและภาคเอกชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมและนอกนิคมอุตสาหกรรม และเพื่อพัฒนาแนวทางใหม่ในการปรับปรุงการให้บริการการจัดการกากอุตสาหกรรมของรัฐเชิงเครือข่ายในอันที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการกากอุตสาหกรรมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน (โรงงาน)และภาคประชาชนที่ทำงานร่วมกันหรือเกี่ยวข้องกันเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน การวิจัยใช้วิธีการแบบผสมเชิงคุณภาพนำปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ตามหลัก 10 ประการ ที่ประกอบไปด้วย 1)การลดลงของการเกิดกากอุตสาหกรรม 2)การนำกลับมาใช้ซ้ำ 3)การนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก 4)การบำบัด 5)การกำจัด 6)การคัดแยก 7)การนำกลับคืนมาใหม่ 8)การป้องกัน 9)การเก็บรักษา 10)การอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งศึกษาทั้งภายในและนอกนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร โดยภาพรวมพบว่ามีการนิยมใช้ในประเทศไทยไม่ครบทั้ง 10 ประการ โดยการประเมินของภาคเอกชน(โรงงาน) ทั้งภายนอกและภายในนิคมอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการกำจัดมากที่สุดและการนำกลับคืนมาใหม่น้อยที่สุด สะท้อนให้เห็นว่าการจัดการกากอุตสาหกรรมไม่ได้เน้นการแก้ปัญหาจากจุดเริ่มต้นดังที่ประเทศระดับอุตสาหกรรมก้าวหน้าและในระดับสากลดำเนินการอยู่ 2. ประสิทธิผลการดำเนินงานของภาครัฐในการจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งภายนอกและภายในนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง แสดงให้เห็นว่า การจัดการของภาครัฐยังต้องปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้สูงขึ้น 3. แนวทางใหม่ในการปรับปรุงการให้บริการของรัฐเพื่อส่งเสริมการจัดการเชิงเครือข่ายควรเป็นการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการกากอุตสาหกรรมประจำจังหวัดและการจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานของภาคเอกชน (โรงงาน)โดยการ สนับสนุนของทางราชการเพื่อให้เกิดการรวบรวมกากอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดต่างๆ โดยอาจเริ่มที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นแห่งแรก
Description
Public Policy and Public Management (Mahidol University 2018)
Degree Name
Doctor of Public Administration
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Social Sciences and Humanities
Degree Discipline
Public Policy and Public Management
Degree Grantor(s)
Mahidol University