การผลิตโปรแกรมการพัฒนาครูสอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์

dc.contributor.advisorภิญโญ พานิชพันธ์en_US
dc.contributor.authorทัศนียา รัตนฤาทัย นพรัตน์แจ่มจำรัสen_US
dc.contributor.authorสุชัย นพรัตน์แจ่มจํารัสen_US
dc.contributor.authorกานต์ยุพา จิตติวัฒนาen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้en_US
dc.date.accessioned2020-05-02T16:56:31Z
dc.date.available2020-05-02T16:56:31Z
dc.date.created2563-05-02
dc.date.issued2554
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ในการ 1) ศึกษาความต้องการการพัฒนาวิชาชีพของครู วิทยาศาสตร์ประจําการที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดกองการศึกษา สงเคราะห์เดิม 2)ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารในการสนับสนุนด้านการพัฒนาวิชาชีพของครู วิทยาศาสตร์ประจําการที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดกองการศึกษา สงเคราะห์เดิม 3) พัฒนาโปรแกรมการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ประจําการ ที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้นของโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาสงเคราะห์เดิม และ 4) ประเมินผลการพัฒนาโปรแกรมการ พัฒนาครูวิทยาศาสตร์ประจําการ ซึ่งข้อมูลด้านความต้องการในการพัฒนาครู ได้รับจากการส่ง แบบสอบถามไปยังโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาสงเคราะห์เดิมจํานวน 50 แห่ง ผลปรากฏว่าแบบสอบถามที่ได้รับจากครูวิทยาศาสตร์ประจําการทั่วประเทศที่มีครบถ้วนมี จํานวน 53 ฉบับ และแบบสอบถามผู้อํานวยการโรงเรียน จํานวน 21 ฉบับ ผู้บริหารโรงเรียนและครูระบุ ว่าครูได้รับการพัฒนาด้าน การจัดการเรียนการสอนมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านพัฒนาหลักสูตร ด้านการ จัดทําและการใช้สื่อการเรียนการสอน และ ด้านการวัดและประเมินผล แม้ว่าผู้บริหารโรงเรียนจะต้องการ ให้ครูไปพัฒนาตนเองเพิ่มเติมในทุกหัวข้อดังที่กล่าวมา แต่ต้องการให้พัฒนาในด้านการจัดการเรียนการ สอนมากที่สุด รองลงมาคือด้านพัฒนาหลักสูตร และด้านการจัดทําและการใช้สื่อการเรียนการสอน ตามลําดับ แต่ครูกลับต้องการพัฒนาตนเองเพิ่มเติมในด้านการจัดทําและการใช้สื่อการเรียนการสอนมาก ที่สุด รองลงมาคือด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านเนื้อหาวิทยาศาสตร์ โปรแกรมการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ประจําการประกอบด้วยเนื้อหาวิทยาศาสตร์และด้าน ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร, วิธีการสอน, จิตวิทยา, การผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน,การผลิตและ การใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ และ การวัดและประเมินผล) ได้นําไปใช้กับครูวิทยาศาสตร์ประจําการจาก โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ผู้เข้าร่วมโครงการโดยสมัครใจ จํานวน 8 คนในการอบรมครั้งที่ 1 และจํานวน 12 คนในการอบรมครั้งที่สอง ข้อมูลการประเมินโปรแกรมวิเคราะห์จากแบบสังเกตการเข้าร่วมอบรมของ ครูวิทยาศาสตร์ประจําการ แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการอบรมเชิงปฏิบัติการ และแบบบันทึก ความก้าวหน้าของครูวิทยาศาสตร์ประจําการ ผลปรากฏว่าโปรแกรมการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ประจําการที่คํานึงถึงด้านเนื้อหาที่ใช้ กระบวนการจัดการ และ บริบทของโรงเรียน อีกทั้งคํานึงถึง ช่วงเวลาและระยะเวลาในการจัดอบรมมีความสําคัญ ทําให้ครูที่เข้าร่วมโปรแกรมมีพัฒนาการด้านทักษะ ส่วนบุคคลและทักษะด้านวิชาการ นอกจากนี้ครูที่เข้าร่วมโปรแกรมยังต้องการเผยแพร่แผนการสอน รวมทั้งนวัตกรรมด้านสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นให้แก่ครูท่านอื่นต่อไปen_US
dc.description.abstractThe purposes of this research are: a) to survey professional development needs of inservice science teachers in welfare schools in Thailand, b) to survey school administrators’ perception and supports of professional development in welfare schools in Thailand, c) to develop and implement a professional development program for in-service junior high school teachers in the welfare schools, and d) to evaluate the proposed professional development program. Data from two different sets of questionnaires for teachers and administrators were collected from 50 welfare schools. The participants of the surveys are 21 administrators and 53 junior high school science teachers from schools in variety regions of Thailand. Most of school administrators and teachers identified teachers’ development in teaching and learning strategies, curriculum development, instructional materials, and assessment and evaluation consequently. Even though, the school administrators need to send science teachers in overall topic especially in teaching and learning strategies more than curriculum development and instructional materials, the science teachers need to develop themselves in the topics of instructional materials more than in teaching and learning strategies and science contents. The program, which including of science contents, curriculum, teaching and learning, psychology, instructional materials, and assessment and evaluation, was implemented with 8 volunteer junior high school teachers in the first round and 12 science teachers in the second round. Data gathered from workshop observations, interviews, and researchers’ progressive form for teacher development will be analyzed to evaluate the program. The results show that to develop teacher development program should concern on content of teacher education, learning process and learning context. Timing of operating the program should be concerned. The teachers in the program have progression in personal skills and teaching and academic skills. They also have willing to share their lesson plans including with innovative instructional materials to other teachers in the future.en_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/54412
dc.language.isothaen_US
dc.relation.ispartofseriesรหัสโครงการ MRG5280103
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการพัฒนาครูen_US
dc.subjectมัธยมศึกษาตอนต้นen_US
dc.subjectโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์และราชประชานุเคราะห์en_US
dc.subjectครูวิทยาศาสตร์en_US
dc.subjectTeacher developmenten_US
dc.subjectJunior high schoolen_US
dc.subjectWelfare schoolen_US
dc.subjectScience teacheren_US
dc.titleการผลิตโปรแกรมการพัฒนาครูสอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์en_US
dc.title.alternativeThe Developmental Program for In-service Junior High School Teachers in Welfare Schoolsen_US
dc.typeResearch Reporten_US
mods.location.urlhttp://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=MRG5280103

Files

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description: