อัตวิสัย ผัสสะ และประสบการณ์ของผู้ป่วยในการใส่สายให้อาหารทางจมูก
Issued Date
2567
Copyright Date
2563
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 158 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
Suggested Citation
เมธิตา วิวิตรกุล อัตวิสัย ผัสสะ และประสบการณ์ของผู้ป่วยในการใส่สายให้อาหารทางจมูก . วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92012
Title
อัตวิสัย ผัสสะ และประสบการณ์ของผู้ป่วยในการใส่สายให้อาหารทางจมูก
Alternative Title(s)
Subjectivity, sensory and patient experiences with nasogastric tube
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจอัตวิสัย ผัสสะ และประสบการณ์ด้านการใส่สายให้อาหารทางจมูกในมุมมองของผู้ป่วย ให้เห็นถึงวาทกรรมและปฏิบัติการที่ว่าด้วยสายให้อาหารทางจมูก อัตวิสัยและประสบการณ์ที่เกี่ยวกับสายให้อาหารทางจมูก อีกทั้งยังสามารถนำ ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับในมุมมองของผู้ป่วยต่อการได้รับอาหารทางจมูกมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการทางการแพทย์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึก (in - depth interview) ในกลุ่มประชากรที่มีสายให้อาหารทางจมูกมากกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป ที่ได้กลับไปพักฟื้นที่บ้านหรือสถานที่พักพักฟื้น ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งหมด 7 ราย ข้อมูลที่ได้ถูกนำ มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าวาทกรรมทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยได้รับทำให้ผู้ป่วยให้ความหมายของการใส่สายให้อาหารทางจมูกว่าเป็นการได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การป้องกันการติดเชื้อ และแพทย์เป็นผู้รู้มากกว่า ในส่วนของปฏิบัติการของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ประกอบไปด้วย เทคโนโลยีการใส่สายให้อาหารทางจมูกเป็นชุดความรู้ทางการแพทย์ที่มาจากการมีข้อมูลเชิงประจักษ์มาสนับสนุน อีกทั้งแพทย์เป็นผู้ให้ความรู้และ เป็นผู้ยืนยันความรู้นั้น นอกจากนี้ยังมีนักกิจกรรมบำบัดกำกับผู้ป่วยให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ ในด้านของอัตวิสัยต่อการใส่สายให้อาหารทางจมูกพบว่าผู้ป่วยรับรู้แตกต่างกันออกไปขึ้นกับความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ และบริบทแวดล้อมก่อให้เกิดพฤติกรรมทั้งเชิงบวกและเชิงลบซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจในตน นอกจากนี้การใส่สายให้อาหารทางจมูกยังกระทบต่อผัสสะด้านการรับรสชาติ และการรับสัมผัส สิ่งเหล่านี้เป็นความทุกข์ที่พวกเขาต้องเผชิญ โดยพวกเขาได้บอกเล่าถึงประสบการณ์ว่าสายให้อาหารเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อร่างกายส่งผลต่อการใช้และการปรับตัวทำให้รู้สึกถึงความทุกข์ทรมาน อีกทั้งยังส่งผลให้คนรอบข้างร่วมทุกข์กับผู้ใส่สายให้อาหารงานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่าบุคลากรทางการแพทย์ควรบอกทางเลือกให้กับผู้ป่วยร่วมด้วยเพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ที่เกิดจากการไม่ได้กลืนกินทางปาก มากกว่าการห้ามรับประทานทางปากเพียงอย่างเดียว และเพื่อเป็นการลดทอนการต่อต้านต่อรองที่อาจเกิดขึ้นตามมา อีกทั้งควรเข้าใจองค์ประกอบที่แตกต่างกันของบุคคลทั้งอัตวิสัย ผัสสะ ประสบการณ์ และบริบทแวดล้อมเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมให้บุคคลเกิดความร่วมมือที่ดีในการรักษา
This study aims to understand the subjectivity, sensory and patient experiences with nasogastric tubes from the patient's perspective, show the discourse of feeding with a nasogastric tube, and use the data from the patient's perspective as a guideline to improve the medical services. Our study used qualitative research methodology, in-depth interviews with 7 patients fed with a nasogastric tube for more than 3 weeks, staying at home or nursing home after discharge from the hospital, and living in Bangkok metropolitan region. The results showed that regarding the patient's perspective after receiving a medical discourse of feeding with a nasogastric tube, three themes emerged from the data. They experienced feeding with a nasogastric tube as getting adequate nutrition, preventing infection, and provision by the doctor who has more knowledge than the patients. The medical practice consisted of a technique for nasogastric tube insertion, which had an evidence-based support and which the expert accepted, and the occupational therapist supervised the patients to follow the suggestions. The subjectivity of feeding with a nasogastric tube depended on thinking, feeling, experience, and context; all of the components would cause the positive or negative behavior that shows their agency. Furthermore, nasogastric intubation affected the gustatory perception and sensory. The patient said as the nasogastric tube was a foreign object that affected their living, they needed to adjust to it, and it also made the patients and family suffer. This study suggests that medical professionals give choices to patients rather than forcing them to not eat everything per oral to relieve suffering from feeding with a nasogastric tube and decrease the patient's resistance. Also, medical professionals should understand the differences of the persons including subjectivity, sensory, experiences, and context. This will help the medical professionals find the appropriate intervention for patients and make them want to cooperate with the intervention
This study aims to understand the subjectivity, sensory and patient experiences with nasogastric tubes from the patient's perspective, show the discourse of feeding with a nasogastric tube, and use the data from the patient's perspective as a guideline to improve the medical services. Our study used qualitative research methodology, in-depth interviews with 7 patients fed with a nasogastric tube for more than 3 weeks, staying at home or nursing home after discharge from the hospital, and living in Bangkok metropolitan region. The results showed that regarding the patient's perspective after receiving a medical discourse of feeding with a nasogastric tube, three themes emerged from the data. They experienced feeding with a nasogastric tube as getting adequate nutrition, preventing infection, and provision by the doctor who has more knowledge than the patients. The medical practice consisted of a technique for nasogastric tube insertion, which had an evidence-based support and which the expert accepted, and the occupational therapist supervised the patients to follow the suggestions. The subjectivity of feeding with a nasogastric tube depended on thinking, feeling, experience, and context; all of the components would cause the positive or negative behavior that shows their agency. Furthermore, nasogastric intubation affected the gustatory perception and sensory. The patient said as the nasogastric tube was a foreign object that affected their living, they needed to adjust to it, and it also made the patients and family suffer. This study suggests that medical professionals give choices to patients rather than forcing them to not eat everything per oral to relieve suffering from feeding with a nasogastric tube and decrease the patient's resistance. Also, medical professionals should understand the differences of the persons including subjectivity, sensory, experiences, and context. This will help the medical professionals find the appropriate intervention for patients and make them want to cooperate with the intervention
Description
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล