ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2567
Copyright Date
2563
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ผ, 328 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
สารนิพนธ์ (รป.ม. (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ))--มหาวิทยาลัยมหิดล 2563
Suggested Citation
คริษฐาล์ ศรีสุข ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล . สารนิพนธ์ (รป.ม. (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ))--มหาวิทยาลัยมหิดล 2563 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91971
Title
ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
Alternative Title(s)
The relationship between organizational climate and quality of work life of the staff at the Division of Student Affairs, Mahidol University
Author(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่อง " ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล " มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยบรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงาน ของบุคลากรกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงาน และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตการทำงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ บุคลากรกองกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (Standard deviation) การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัว (Independent-Samples T -Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ระดับปัจจัยบรรยากาศองค์การของบุคลากรกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง บรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงานในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับการวิเคราะห์ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษาสูงสุด ประเภทของบุคลากร รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอายุการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน และมีแนวทางในการเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การและคุณภาพชีวิตการทา งาน ดังนี้ 1) สนับสนุนให้หัวหน้างานวางแผนพัฒนา ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นรายบุคคล 2) สร้างการรับรู้ความเสี่ยง ในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรอย่างสมบูรณ์ วางแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย 3) จัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้กับบุคลากร อย่างน้อยปี ละ 2 ครั้ง 4) สร้างทัศนะคติที่ดีในความรับผิดชอบต่องาน เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การและคุณภาพชีวิตการทำงานให้เพิ่มสูงขึ้นต่อไป
The objective of this quantitative research was to study the level of organizational climate factors and quality of work life of the staff at the Division of Student Affairs, Mahidol University, to study the relationship between organizational climate and quality of work life, and to compare the differences in the quality work life classified by personal factors. The sample group used was 68 staff at the Division of Student Affairs, Mahidol University , Research questionnaires were used and the data were analysed by Frequency, Percentage, Mean, and Standard Deviation, Independent-Samples T-Test, One Way ANOVA and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The study found that the organizational climate factor in general, was at a moderate level. The overall quality of work life was at a moderate level. The organizational climate had a positive relationship with the quality of work life at a high level with statistical significance 0.01. There were no significant differences in personal factors such as gender, age, marital status, highest educational level, type of personnel, average monthly income, and the different working age in the quality of work life. The organization should make plan to support the supervisor in the development of individual suboardinate's ability. Also, it create should risk awareness on the performance of personnel completely and set guidelines for safety operations. The organization must build up activities to strengthen relationships with personnel at least twice a year and create a positive attitude to work relationship between the organizational climate and quality of work life.
The objective of this quantitative research was to study the level of organizational climate factors and quality of work life of the staff at the Division of Student Affairs, Mahidol University, to study the relationship between organizational climate and quality of work life, and to compare the differences in the quality work life classified by personal factors. The sample group used was 68 staff at the Division of Student Affairs, Mahidol University , Research questionnaires were used and the data were analysed by Frequency, Percentage, Mean, and Standard Deviation, Independent-Samples T-Test, One Way ANOVA and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The study found that the organizational climate factor in general, was at a moderate level. The overall quality of work life was at a moderate level. The organizational climate had a positive relationship with the quality of work life at a high level with statistical significance 0.01. There were no significant differences in personal factors such as gender, age, marital status, highest educational level, type of personnel, average monthly income, and the different working age in the quality of work life. The organization should make plan to support the supervisor in the development of individual suboardinate's ability. Also, it create should risk awareness on the performance of personnel completely and set guidelines for safety operations. The organization must build up activities to strengthen relationships with personnel at least twice a year and create a positive attitude to work relationship between the organizational climate and quality of work life.
Description
นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)
Degree Name
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล