ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุข กรณีศึกษาเขตบริการสุขภาพที่ 4

dc.contributor.advisorฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ
dc.contributor.advisorนิทัศน์ ศิริโชติรัตน์
dc.contributor.advisorสุธี อยู่สถาพร
dc.contributor.authorสุคนทิพย์ รุ่งเรือง
dc.date.accessioned2024-01-13T05:17:13Z
dc.date.available2024-01-13T05:17:13Z
dc.date.copyright2558
dc.date.created2567
dc.date.issued2558
dc.descriptionสาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
dc.description.abstractการวิจัยแบบสำรวจภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุข กรณีศึกษาเขตบริการสุขภาพที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 352 คน โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ 3 ขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเอง ระหว่างเดือนมกราคม- มีนาคม พ.ศ. 2558 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจง ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์การ ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 56.8 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 44.6 สถานภาพสมรสอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 69.6 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 84.9 ตำแหน่งระดับชำนาญการ ร้อยละ 84.4 สมรรถนะโดยรวมของนักวิชาการสาธารณสุขอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 87.2 และ สมรรถนะรายด้านพบว่า ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการบริการที่ดี การด้านสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการคิดวิเคราะห์และด้านการสร้างสัมพันธภาพ อยู่ในระดับสูง ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ และปัจจัยด้านแรงจูงใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ( r = 0.683, p-value < 0.001) และ ( r = 0.390, p-value < 0.001) ตามลำดับ ตัวแปร 3 ตัว ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุข กรณีศึกษาเขตบริการสุขภาพที่ 4 ได้แก่ สถานภาพ สมรส ปัจจัยภาวะผู้นำ ปัจจัยแรงจูงใจ สามารถพยากรณ์สมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุข ได้ร้อยละ 48.9 จึงเสนอแนะให้หน่วยงานสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากร และการกระตุ้นให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นเร่งพัฒนางานที่ตนเองรับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงมีความรักในองค์กรและวิชาชีพของตนเองเพิ่มมากขึ้น
dc.description.abstractThis cross-sectional survey research aimed to study the factors associated with the competency of Public health technical officer as a case study of Regional Service Provider 4. The samples were 352 PH technical officers selected through a three-stage random sampling. Data were collected through a self-administered questionnaire from January-March 2015 and were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, Pearson's correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis. Demographic data : Fifty six point eight (56.8%) of the participants were female, 44.6% were aged 41-50 years, 69.6% held a marital status as living together with spouse, 84.9% held a bachelor degree, and 84.4% held a position in their professional level. The scores of most participants (87.2%) for the overall capacity were in a high level. Considering each component of the competency separately the scores on the parts of achievement motivation, service mind, expertise, integrity, teamwork, critical thinking and interpersonal skill were in a high level. The leadership factor and the motivation factor had a moderate level of positive correlation with the competency of public health technical officer at the level of statistical significance of 0.001 (r=0.683, p-value<0.001 r=0.390, p-value<0.001 respectively). Three variations that could work together to predict the competency of public health technical officers in the case study of Regional Service Provider 4 included the marital status, the leadership factor and the motivation factor and they could predict such competency as correctly as 48.9%. The study suggests that authorities concerned could use these findings in making a strategic plan for the development of their human resources, encouraging them to actively improve their work and extend more love to their organizations and professions.
dc.format.extentก-ญ, 141 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92649
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการจูงใจในการทำงาน
dc.subjectนักวิชาการสาธารณสุข
dc.subjectนักวิชาการสาธารณสุข -- สมรรถนะ
dc.subjectภาวะผู้นำ
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุข กรณีศึกษาเขตบริการสุขภาพที่ 4
dc.title.alternativeFactors associated with the competency of Public Health Technical Officers : a case study of Regional Service Provider 4
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd512/5538047.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files