อิทธิพลของรูปแบบการปรับตัวทางการสื่อสารระหว่างรุ่นอายุและอัตลักษณ์ทางสังคมที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากร : กรณีศึกษาสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
Issued Date
2567
Copyright Date
2563
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 123 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
Suggested Citation
พิชชาพร เนติมากุล อิทธิพลของรูปแบบการปรับตัวทางการสื่อสารระหว่างรุ่นอายุและอัตลักษณ์ทางสังคมที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากร : กรณีศึกษาสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์. สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99530
Title
อิทธิพลของรูปแบบการปรับตัวทางการสื่อสารระหว่างรุ่นอายุและอัตลักษณ์ทางสังคมที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากร : กรณีศึกษาสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
Alternative Title(s)
The influence of intergeneration communication adaptation patterns and social identity on teamwork of personnel : a case study of The Crown Property Bureau
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 4 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการปรับตัวทางการสื่อสารระหว่างรุ่นอายุ อัตลักษณ์ทางสังคม และการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการปรับตัวทางการสื่อสารระหว่างรุ่นอายุของบุคลากรในสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่มีรุ่นอายุแตกต่างกัน 3) เพื่อเปรียบเทียบอัตลักษณ์ทางสังคมของบุคลากรในสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่มีรุ่นอายุแตกต่างกัน และ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของรูปแบบการปรับตัวทางการสื่อสารระหว่างรุ่นอายุและอัตลักษณ์ทางสังคม ที่มีต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ บุคลากรสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ จำนวน 300 คน โดยใช้การสุ่มแบบโควต้าตามรุ่นอายุ ได้แก่ 1. รุ่นอายุ 53 ปีขึ้นไป 2. รุ่นอายุ 33-52 ปี และ 3. รุ่นอายุ 32 ปีลงมา กลุ่มรุ่นอายุละ 100 คน และใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายคุณลักษณะของผู้ตอบแบบสอบถาม และวิเคราะห์รูปแบบการปรับตัวทางการสื่อสารระหว่างรุ่นอายุ อัตลักษณ์ทางสังคม และการทำงานเป็นทีมของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติ One-way Anova และ Multiple Regression เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลระหว่างตัวแปร และเปรียบเทียบรูปแบบการปรับตัวทางการสื่อสารและอัตลักษณ์ทางสังคมในทัศนะของกลุ่มตัวอย่างแต่ละรุ่นอายุ ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรที่มีรุ่นอายุต่างกันนั้น มีรูปแบบการปรับตัวทางการสื่อสารระหว่าง รุ่นอายุที่แตกต่างกันเฉพาะด้านการเลียนแบบคู่สนทนาที่มากเกินไป (Over Accumulation) เท่านั้น โดยพบว่ารุ่นอายุ 53 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นแตกต่างกับรุ่นอายุ 33-52 ปี และรุ่นอายุ 32 ปีลงมา 2) บุคลากรของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่มีรุ่นอายุต่างกัน มีอัตลักษณ์ทางสังคมที่แตกต่างกัน 3) รูปแบบการปรับตัวทางการสื่อสารระหว่างรุ่นอายุ เฉพาะด้านการเลียนแบบคู่สนทนา (Convergence) ที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 4) อัตลักษณ์ทางสังคมมีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดย ปัจจัยด้านการประเมินผู้อื่นว่าเป็นกลุ่มเดียวกับตน (In group) เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้การทำงานเป็นทีมของบุคลากรเพิ่มขึ้น แต่หาก ปัจจัยด้านการประเมินผู้อื่นว่าเป็นคนละกลุ่มเดียวกับตน (Out group) น้อยลง จะส่งผลให้การทำงานเป็นทีมของบุคลากรเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่ผกผันกัน
The aims of this research were: 1) to study the Intergeneration Communication Adaptation Patterns, Social Identity and Team Work of Personnel in the Crown Property Bureau (CPB), 2) to compare the Intergeneration Communication Adaptation Patterns of Personnel in the CPB with different generations. 3) to compare Social Identity of the personnel of the CPB with different generations. And 4) to study the influence of Intergeneration Communication Adaptation Patterns and social identity with the Teamwork of Personnel in the CPB This research is a quantitative research. Questionnaires were used to collect data from personnel of the CPB, including the management and operational level of 300 people by random sampling quotas based on age of "53 years and older, 33-52 years and 32 and below" also each group had 100 people. Descriptive statistics was used to describe the characteristics of the respondents and analyze the Intergeneration Communication Adaptation Patterns, Social identity and Teamwork. Sample statistics, "multiple regression" and "one-way anova" were used to analyze the influence of variables. The collected data was used to compare the Intergeneration Communication Adaptation Patterns, and social identity in the perspective of each generations. The results of this study found out that 1. The CPB personnel of different generations have different Intergeneration Communication Adaptation Patterns only in the case of "over accumulation". It is evident that age of 53 years and older has different perspective from age of 33-52 years and 32 and below. 2. The CPB personal of different generations have different social identity. 3. The factor which affects teamworking of The CPB personnel is "convergence" of Intergeneration Communication Adaptation Patterns and 4. Social identity plays an important role in teamworking of the CPB personnel. The judgement of team members towards each individual in the team as "in group" will lead to positive teamworking. On the other hand, the judgement of team members towards each individual in the team as "out group" will result in the negative teamworking.
The aims of this research were: 1) to study the Intergeneration Communication Adaptation Patterns, Social Identity and Team Work of Personnel in the Crown Property Bureau (CPB), 2) to compare the Intergeneration Communication Adaptation Patterns of Personnel in the CPB with different generations. 3) to compare Social Identity of the personnel of the CPB with different generations. And 4) to study the influence of Intergeneration Communication Adaptation Patterns and social identity with the Teamwork of Personnel in the CPB This research is a quantitative research. Questionnaires were used to collect data from personnel of the CPB, including the management and operational level of 300 people by random sampling quotas based on age of "53 years and older, 33-52 years and 32 and below" also each group had 100 people. Descriptive statistics was used to describe the characteristics of the respondents and analyze the Intergeneration Communication Adaptation Patterns, Social identity and Teamwork. Sample statistics, "multiple regression" and "one-way anova" were used to analyze the influence of variables. The collected data was used to compare the Intergeneration Communication Adaptation Patterns, and social identity in the perspective of each generations. The results of this study found out that 1. The CPB personnel of different generations have different Intergeneration Communication Adaptation Patterns only in the case of "over accumulation". It is evident that age of 53 years and older has different perspective from age of 33-52 years and 32 and below. 2. The CPB personal of different generations have different social identity. 3. The factor which affects teamworking of The CPB personnel is "convergence" of Intergeneration Communication Adaptation Patterns and 4. Social identity plays an important role in teamworking of the CPB personnel. The judgement of team members towards each individual in the team as "in group" will lead to positive teamworking. On the other hand, the judgement of team members towards each individual in the team as "out group" will result in the negative teamworking.
Description
ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล