Development of learning packages to promote knowledge and perceptions on local ecosystems of lower secondary school students
Issued Date
2023
Copyright Date
2009
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xvi, 180 leaves : ill. (some col.)
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Science and Technology Education))--Mahidol University, 2009
Suggested Citation
Jongdee To-Im Development of learning packages to promote knowledge and perceptions on local ecosystems of lower secondary school students. Thesis (Ph.D. (Science and Technology Education))--Mahidol University, 2009. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89193
Title
Development of learning packages to promote knowledge and perceptions on local ecosystems of lower secondary school students
Alternative Title(s)
การพัฒนาชุดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความรู้และเจตคติต่อระบบนิเวศในท้องถิ่น สําหรับ นักเรียนช่วงชั้นที่สอง
Author(s)
Abstract
This study aimed to develop three learning packages: (i) a guided inquiry learning unit on the aquatic ecosystems, (ii) a learning unit on scientific investigation of bottle ecosystems, and (iii) a community-based learning package on local ecosystems. Their objectives were to promote conceptual understanding, to develop a more caring/positive attitude toward ecosystems, and to improve the behaviors. These three learning packages were given to lower secondary school students. A mixedmethods approach was used for data collection and analysis. The data were gathered from questionnaires, interviews, written documents, and classroom observations. The results of the guided inquiry learning unit implementation showed that students gradually accumulated conceptual understanding through designed learning activities, and both students and teachers had a positive attitude toward the learning unit. The results of the learning unit on the bottle ecosystems indicated that students achieved significantly higher scores on the post-test compared to the pre-test. The results from interviews, students' diaries, and students' concept maps demonstrated a shift in their conceptual understanding of ecosystems from simple to complex explanations. Students' detailed observations on bottle ecosystems also became more quantifiable over time. The results suggested that these simple and inexpensive activities helped enhance the participating students' conceptual understanding of ecosystems. The results of the learning package on local ecosystems demonstrated a significant difference between the pre- and post-test questionnaire in regards to for the students' conceptual understanding, perceptions towards ecosystems, and self-reported behaviors toward ecosystems. The qualitative data revealed that students' perceptions toward their local environment also changed for the better.
การศึกษาครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาชุดการเรียนการสอนทั้งหมด 3 ชุด เพื่อใช้ส่งเสริมให้นักเรียนใน ระดับช่วงชั้นที่ 3 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศ เสริมสร้างเจตคติที่ดีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อระบบ นิเวศในท้องถิ่น ชุดการเรียนการสอนที่ได้พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) หน่วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เกี่ยวกับระบบนิเวศ 2) หน่วยการเรียนรู้แบบการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ของระบบนิเวศจำลองในขวดพลาสติก 3) ชุดการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศในท้องถิ่น หลังจากพัฒนาชุดการเรียนการสอนทั้งหมดแล้ว ได้นำไปใช้สอนใน โรงเรียน กับนักเรียนในช่วงชั้นที่ 3 กระบวนการที่หลากหลายที่ผสมผสานระหว่างวิธีเชิงคุณภาพและวิธีเชิงปริมาณ ได้นำมาใช้ใน กระบวนการเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ ผลงาน ของนักเรียน การสังเกตการณ์ในห้องเรียน เพื่อประเมินประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอน ผลของการประเมินประสิทธิภาพของหน่วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ พบว่า นักเรียนมีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่ได้ ออกแบบไว้ นักเรียน และครูมีความคิดเห็นในเชิงบวก ต่อหน่วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ ผลของการประเมินประสิทธิภาพของหน่วยการเรียนรู้แบบการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ของระบบนิเวศ จำลองในขวดพลาสติก พบว่า นักเรียนมีคะแนนความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบนิเวศหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สมุดบันทึก และแผนผังมโนทัศน์ พบว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเปลี่ยนแปลงไป โดยมีความสามารถสร้างคำอธิบายที่ง่าย ไปสู่การพัฒนาคำอธิบายที่ ซับช้อนและละเอียดมากขึ้น การบันทึกข้อมูลจากการสังเกตของนักเรียน แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างชัดเจน ผลการประเมินโดยภาพรวมชี้ให้เห็นว่าหน่วยการเรียนรู้ที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถช่วยพัฒนาความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบนิเวศได้ ผลของการประเมินประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศในท้องถิ่น พบว่า คะแนนความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมต่อระบบนิเวศในท้องถิ่น หลังเรียน มีค่าสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูล เชิงคุณภาพแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเจตคติต่อระบบนิเวศท้องถิ่นไปในทางที่ดีขึ้น
การศึกษาครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาชุดการเรียนการสอนทั้งหมด 3 ชุด เพื่อใช้ส่งเสริมให้นักเรียนใน ระดับช่วงชั้นที่ 3 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศ เสริมสร้างเจตคติที่ดีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อระบบ นิเวศในท้องถิ่น ชุดการเรียนการสอนที่ได้พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) หน่วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เกี่ยวกับระบบนิเวศ 2) หน่วยการเรียนรู้แบบการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ของระบบนิเวศจำลองในขวดพลาสติก 3) ชุดการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศในท้องถิ่น หลังจากพัฒนาชุดการเรียนการสอนทั้งหมดแล้ว ได้นำไปใช้สอนใน โรงเรียน กับนักเรียนในช่วงชั้นที่ 3 กระบวนการที่หลากหลายที่ผสมผสานระหว่างวิธีเชิงคุณภาพและวิธีเชิงปริมาณ ได้นำมาใช้ใน กระบวนการเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ ผลงาน ของนักเรียน การสังเกตการณ์ในห้องเรียน เพื่อประเมินประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอน ผลของการประเมินประสิทธิภาพของหน่วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ พบว่า นักเรียนมีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่ได้ ออกแบบไว้ นักเรียน และครูมีความคิดเห็นในเชิงบวก ต่อหน่วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ ผลของการประเมินประสิทธิภาพของหน่วยการเรียนรู้แบบการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ของระบบนิเวศ จำลองในขวดพลาสติก พบว่า นักเรียนมีคะแนนความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบนิเวศหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สมุดบันทึก และแผนผังมโนทัศน์ พบว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเปลี่ยนแปลงไป โดยมีความสามารถสร้างคำอธิบายที่ง่าย ไปสู่การพัฒนาคำอธิบายที่ ซับช้อนและละเอียดมากขึ้น การบันทึกข้อมูลจากการสังเกตของนักเรียน แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างชัดเจน ผลการประเมินโดยภาพรวมชี้ให้เห็นว่าหน่วยการเรียนรู้ที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถช่วยพัฒนาความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบนิเวศได้ ผลของการประเมินประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศในท้องถิ่น พบว่า คะแนนความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมต่อระบบนิเวศในท้องถิ่น หลังเรียน มีค่าสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูล เชิงคุณภาพแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเจตคติต่อระบบนิเวศท้องถิ่นไปในทางที่ดีขึ้น
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Institute for Innovation and Development of Learning Process
Degree Discipline
Science and Technology Education
Degree Grantor(s)
Mahidol University