การศึกษาสาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดกฎหมายจากการปลูกสร้างสถานที่พักตากอากาศ บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติทับลาน
Issued Date
2567
Copyright Date
2562
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ช, 103 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
Suggested Citation
กิตติ ศรีวงศิตานนท์ การศึกษาสาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดกฎหมายจากการปลูกสร้างสถานที่พักตากอากาศ บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติทับลาน. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99567
Title
การศึกษาสาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดกฎหมายจากการปลูกสร้างสถานที่พักตากอากาศ บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติทับลาน
Alternative Title(s)
The study of the causes and resolutions to the illegal establishment of resorts within a national park : a case study of Thap Lan National Park
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมาเพื่อเข้าไปปลูกสร้างสถานที่พักตากอากาศสำหรับการประกอบกิจการเพื่อการท่องเที่ยวงานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจาก2 กลุ่ม ตัวอย่าง อันได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐในระดับบริหารและปฏิบัติการซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้าหรือรองหัวหน้าฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว เจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้าหรือรองหัวหน้าฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี พนักงานฝ่ายปกครองระดับตำบลไทยสามัคคี พนักงานฝ่ายปกครองระดับตำบลวังน้ำเขียว นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการหรือเจ้าหน้าที่บริหารในอุทยานแห่งชาติทับลาน และผู้ประกอบการเอกชน ประกอบด้วยผู้ประกอบกิจการสถานที่พักตากอากาศในตำบลไทยสามัคคี จำนวนรวมทั้งสิ้น 8 ท่าน ผลการศึกษาพบว่าสาเหตุสำคัญของการกระทำความผิดในการรุกล้ำพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมาเพื่อประกอบกิจการที่พักตากอากาศ คือ (1) การได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อส่งเสริมพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งท่องเที่ยวทำให้เกิดธุรกิจหรืออาชีพรองรับนักท่องเที่ยว (2) การทำเกษตรกรรมไม่สามารถสร้างรายที่เพียงพอแก่ชาวบ้านในพื้นที่ (3) มาตรการและบทลงโทษของกฎหมายไม่รุนแรงส่งผลให้ผู้ที่กระทำความผิดไม่มีความเกรงกลัวต่อบทลงโทษทำให้มีแนวโน้มการกระทำผิดอยู่ อีกทั้งยังมีการเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้รับกับบทลงโทษที่ประชาชนหรือบุคคลที่ประกอบกิจการสถานที่ตากอากาศจะได้รับทำให้ประชาชนไม่ได้ตระหนักถึงความผิดความชอบ สำหรับแนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวประกอบด้วยการแก้ไขกรอบกฎหมายกล่าวคือควรเพิ่มบทลงโทษในกฎหมายแก่ผู้ที่กระทำความผิดเพราะบทลงโทษของกฎหมายยังไม่รุนแรงส่งผลให้ผู้ที่กระทำผิดไม่เกรงกลัวต่อการกระทำความผิด มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เหมาะสมในการแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และแนวทางแก้ไขอีกประการสำคัญคือการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไข คิดวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกับภาครัฐ รวมถึงมีสนับสนุนบทบาทในการช่วยป้องกันปัญหาใน อนาคตเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างยั่งยืน
This research aims at studying the underlying causes and solutions for solving the problem of the encroachment of Thap Lan National Park, Wang Nam Khiao district by private individuals to build resorts for tourism. This research uses a qualitative method gathering data by conducting in-depth interviews with 8 key informants from government official ranging from the administrative to operational levels consisting of the chief or deputy chief of the Wang Nam Kiew Subdistrict, the chief or deputy chief of Thai Samakkhi Subdistrict, administrative staffs of Thai Samakkhi Subdistrict, administrative staffs of Wang Nam Kiew Subdistrict, forestry technical officers or administrative staffs of Thap Lan National Park, and business owners consisting of resort entrepreneurs in the Thai Samakkhi Subdistrict. The study showed that the problem of the National Park encroachment to set up resorts for tourism was driven by government support in the past, which had promoted the area as a tourist destination which led to the creation of tourist related businesses, resulting in the problem of a poor agricultural productivity, which was unable to provide a sufficient source of income for the local people. Moreover, there was a problem of weak legal measures and sanctions against this type of violation, which failed to deter violators. The disproportionality of crime and punishment has caused people to be unaware of their responsibility. For the proposed solutions, it is recommended that a legal framework must be readjusted. More severe sanctions must be imposed as the current sanctions are found insufficient to deter this type of offence. Moreover, current laws and regulations, must be amended to accommodate needs required under the current situation. Most importantly, the local people must be encouraged and allowed to participate in the decision-making process, and proposing the solutions with the government, as well the promotion of their roles in the prevention of the problem to ensure the sustainability of the solutions.
This research aims at studying the underlying causes and solutions for solving the problem of the encroachment of Thap Lan National Park, Wang Nam Khiao district by private individuals to build resorts for tourism. This research uses a qualitative method gathering data by conducting in-depth interviews with 8 key informants from government official ranging from the administrative to operational levels consisting of the chief or deputy chief of the Wang Nam Kiew Subdistrict, the chief or deputy chief of Thai Samakkhi Subdistrict, administrative staffs of Thai Samakkhi Subdistrict, administrative staffs of Wang Nam Kiew Subdistrict, forestry technical officers or administrative staffs of Thap Lan National Park, and business owners consisting of resort entrepreneurs in the Thai Samakkhi Subdistrict. The study showed that the problem of the National Park encroachment to set up resorts for tourism was driven by government support in the past, which had promoted the area as a tourist destination which led to the creation of tourist related businesses, resulting in the problem of a poor agricultural productivity, which was unable to provide a sufficient source of income for the local people. Moreover, there was a problem of weak legal measures and sanctions against this type of violation, which failed to deter violators. The disproportionality of crime and punishment has caused people to be unaware of their responsibility. For the proposed solutions, it is recommended that a legal framework must be readjusted. More severe sanctions must be imposed as the current sanctions are found insufficient to deter this type of offence. Moreover, current laws and regulations, must be amended to accommodate needs required under the current situation. Most importantly, the local people must be encouraged and allowed to participate in the decision-making process, and proposing the solutions with the government, as well the promotion of their roles in the prevention of the problem to ensure the sustainability of the solutions.
Description
อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล